สสส. เผยข้อมูล 80 % หญิงไทยและเด็กถูกทำร้ายร่างกายโดยคนในครอบครัว ยิ่งช่วงโควิด  ยิ่งรุนแรง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สสส. เผยข้อมูล ช่วงโควิดหญิงไทย และเด็กถูกคนในครอบครัวทำร้ายเนื่องจากฤทธิ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเหยื่อกว่า 87.5 % ไม่กล้าขอความช่วยเหลือ

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และวันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี ภายใต้แนวคิด “ความรุนแรงในบ้าน ให้มันจบที่ครั้งแรก” พร้อมจัดแสดงพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง “Museum of First Time” รูปแบบออนไลน์ สะท้อนความรุนแรงจากการทำร้ายร่างกายที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง

เผยสถิติ 16 ปีที่ มีการใช้ความรุนแรงกับเด็กมากกว่า 1,300 ราย และมีการทำร้ายอย่างต่อเนื่อง

มูลนิธิเพื่อนหญิง เผย หญิงไทยร้องเรียนความรุนแรง 100 คน/เดือน

ทำให้สังคมตระหนักถึงปัญหาที่ส่งผลกระทบด้านลบในชีวิต และหันมาเปลี่ยนค่านิยมไร้ความรุนแรงสู่การมีสุขภาวะที่ดี

โดย นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า ข้อมูลจากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 พบว่า ช่วงโควิด-19 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้ผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรง และเกือบ 100% ถูกทำร้ายร่างกายซ้ำและทวีความรุนแรงขึ้น โดยความรุนแรงในครอบครัวที่มีต่อเด็กและผู้หญิง 80% เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีฤทธิ์ทำให้ผู้ดื่มขาดสติจนอาจเป็นเหตุทำให้เกิดการกระทบกระทั่งในครอบครัว 

โดยปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มี 4 มิติ ได้แก่ 
1.ทำลายสุขภาพ  
2.เสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุ 
3.เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 
4.ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขัดขวางการมีสุขภาวะดีในชีวิต

“กิจกรรมในวันนี้มีเนื้อหาสาระที่สำคัญ  เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนสังคม  ตลอดจนการพิจารณามาตรการทางนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อยุติปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ทั้งนี้ สสส.และภาคีเครือข่ายขอเชิญชวนทุกท่านเข้าไปร่วมชมนิทรรศการ เรื่องราวของผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรงซ้ำๆ และชี้ให้เห็นความสำคัญ ของปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ที่ต้องให้มันจบในครั้งแรก  ตลอดจนการเข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้กำลังใจกันและกันได้ทาง www.museumof1sttime.com” นางสาวรุ่งอรุณ กล่าว

นางสาวจรีย์ ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า จากการสำรวจความรุนแรงในครอบครัวช่วงโควิด-19 ในช่วงวันที่ 17 – 23 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 1,692 คน ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบครอบครัวที่มีความรุนแรงมากกว่า 1 ครั้ง สูงถึง 75% 

โดยผู้ได้รับความารุนแรนส่วนใหญ่ตอบโต้ด้วยความรุนแรงกลับไป 52.2% และยังพบผู้กระทำขณะเมาเหล้า 31.4% แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ได้รับความรุนแรง 87.4% ไม่เคยขอความช่วยเหลือหรือปรึกษาจากหน่วยงานใด เพราะต้องการเก็บเป็นความลับ ไม่รู้วิธีขอความช่วยเหลือ และคิดว่าติดต่อไปก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้  รวมถึงการใช้อำนาจลดปัจจัยจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยการบังคับใช้กฎหมายพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 รวมถึง รณรงค์ให้ผู้หญิงได้เข้าถึงสิทธิ มีทางออก มีพื้นที่ มีหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือ 

ทั้งนี้ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลพร้อมช่วยเหลือทั้งทางกฎหมายและการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ซึ่งติดต่อได้ทาง 02-513-2889 หรือ Facebook “มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล” หรือโทร.สายด่วน 1300
 
“จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทางมูลนิธิฯ มีข้อเสนอให้กระบวนการยุติธรรมต้องมีกลไกทำให้ความรุนแรงไม่ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ และทำให้สังคมมองปัญหาความรุนแรงให้ชัดเจนเข้าใจ ไม่ใช่แค่เรื่องไกล่เกลี่ย รวมถึงการปรับวิธีคิดชายเป็นใหญ่ การใช้อำนาจ ลดปัจจัยจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และรณรงค์ให้ผู้หญิงได้เข้าถึงสิทธิ มีทางออก มีพื้นที่ มีหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือ” นางสาวจรีย์ กล่าว

เจ้าสาวร่ำไห้ฝ่ายชายใส่ร้ายเหมือนไม่เคยรัก

นางสาวชนิกานต์ สิทธิอารีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งวันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย กล่าวว่า หากมีความรุนแรงเกิดขึ้นในบ้านครั้งแรกแล้วฝ่ายชายจะขอโทษและให้คำสัญญาส่วนใหญ่ผู้หญิงจะยอมให้อภัย เพราะคิดว่าจะไม่มีอีก แต่ความจริงพบว่าเมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้นครั้งแรกแล้ว มักจะมีครั้งต่อไปเสมอ และเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้น หลายรายถึงขั้นเสียชีวิต จึงนำเรื่องราว “ครั้งแรกของผู้หญิง” หรือ “Museum of First Time”  มาถ่ายทอดในพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง โดยผู้สนใจสามารถเข้าชมผลงานได้ที่ www.museumof1sttime.com และหวังให้ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายกล้าลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตัวเอง เพื่อให้เกิดเป็นสังคมที่มีความเท่าเทียมทางเพศ

ด่วน! “ลิซ่า BLACKPINK” ติดโควิด-19 สมาชิกอีก 3 คน รอผลตรวจ

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ