หลังจาก นิวมีเดีย พีพีทีวี นำเสนอภาพรวมโครงการ “เราชนะ” ซึ่งเป็นคำค้นหายอดนิยมอันดับ 1 ของคนไทยบนกูเกิล และ “คนละครึ่ง” ที่อยู่ในอันดับ 2 วันนี้ยังมีอีกหนึ่งโครงการของรัฐที่เกี่ยวกับนโยบายในช่วงโควิด-19 นั่นก็คือ “ม.33 เรารักกัน”
“ม.33 เรารักกัน” เป็นโครงการของภาครัฐที่สนับสนุนวงเงินช่วยเหลือ ผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 33 ซึ่งมีอยู่ราว 9 ล้านคนทั่วประเทศ เป็นการช่วยเหลือเยียวยาแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ และเพิ่มกำลังซื้อช่วงโควิด-19
เทรนด์ “คำค้นหา” บน “Google” เปลี่ยนไป ปัจจัยหลักคือ “โควิด-19”
“เราชนะ” – มองประเทศไทยปี 2564 ผ่านคำค้นยอดฮิตบน Google
“คนละครึ่ง” – มองประเทศไทยปี 2564 ผ่านคำค้นยอดฮิตบน Google
“Popcat” – มองประเทศไทยปี 2564 ผ่านคำค้นยอดฮิตบน Google
สำหรับโครงการ “ม.33 เรารักกัน” คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับสิทธิ รายละ 4,000 บาท
ต่อมาเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเพิ่มวงเงินอีก 2,000 บาท และแบ่งจ่ายรายสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1,000 บาท จนครบวงเงิน โดยต้องใช้จ่ายภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564
โดยเปิดให้ผู้ประกันตน ที่มีคุณสมบัติครบ คือ มีสัญชาติไทย เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33, ไม่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่ได้รับสิทธิโครงการเราชนะ ไม่มีเงินฝากในสถาบันการเงินรวมกันเกิน 500,000 บาท ณ 31 ธันวาคม 2563 เข้าลงทะเบียนบนเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 7 มีนาคม 2564 และโอนเงินงวดแรกผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” วันที่ 22 มีนาคม 2564
ผู้ประกันตนมาตรา33 เฮ! เปิดลงทะเบียนโครงการ“ม.33 เรารักกัน” รับ 4,000 บาท 16 ก.พ.นี้
“วัคซีนโควิด” – มองประเทศไทยปี 2564 ผ่านคำค้นยอดฮิตบน Google
“SGS” – มองประเทศไทยปี 2564 ผ่านคำค้นยอดฮิตบน Google
อย่างไรก็ตาม ช่วงที่มีการเปิดให้ลงทะเบียนก็มีปัญหาเกิดขึ้น เมื่อมีบางคนลงทะเบียนไม่สำเร็จ โดยระบบแจ้งเตือนว่า “ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน” ทั้งๆที่จ่ายประกันสังคมประจำทุกเดือน อย่างไรก็ตามไม่ชัดเจนว่า แต่ละรายอาจเป็นผู้ได้รับสิทธิตามเงื่อนไขมาตรการเยียวยาอื่น ๆ แล้วหรือไม่? โดยภายหลังก็ได้มีการเปิดให้ “ทบทวนสิทธิ” อีกรอบ
เปิดทบทวนสิทธิ์ 15 มี.ค.นี้ ลงทะเบียนม.33 “เรารักกัน” หากลงไม่สำเร็จ
หลังสิ้นสุดโครงการ สำนักงานประกันสังคม ได้สรุปตัวเลขในโครงการ “ม.33 เรารักกัน”
- มีผู้ประกันตนเข้าร่วมโครงการ 8.14 ล้านคน
- ร้านค้าเข้าร่วมโครงการ 247,899 ร้านค้า
- มียอดการใช้จ่ายเงินทั้งสิ้น 48,185,847,179.56 บาท
จากมูลค่าการใช้จ่าย ในขณะเดียวกันยังเป็นอีกหนึ่งโครงการรัฐที่ติดท็อป 10 คำค้นยอดฮิต เป็นอีกข้อยืนยันที่สะท้อนว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและประชาชนในประเทศไทย