
สิงห์อาสา สร้างแหล่งน้ำชุมชน ถ่ายทอดความรู้สู่ชาวบ้านแก้ปัญหาภัยแล้ง
เผยแพร่
สิงห์อาสา-คณะเกษตรฯ มข. สร้างแหล่งน้ำชุมชน ถ่ายทอดความรู้สู่ชาวบ้านแก้ภัยแล้งอย่างยั่งยืน
“หากในภาคอีสานมีแหล่งน้ำกระจายอยู่ทุกพื้นที่ทั่วภูมิภาคได้ราว 2 หมื่นจุด อีสานจะไม่แล้ง” รังสฤษดิ์ ลักษิตานนท์ ผู้ช่วยประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าว
สิงห์อาสา ผนึกกำลัง 16 ลุยพื้นที่บรรเทาทุกข์ภัยแล้งเริ่มที่แรก จ.มหาสารคาม
ภูมิประเทศของภาคอีสานต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค เป็นประจำทุกปี ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่กว่า 60-70% ประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้รับผลกระทบในการใช้น้ำเพื่อการเกษตรและการใช้น้ำสำหรับดื่มและในชีวิตประจำวันที่ไม่เพียงพอ
ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ‘สิงห์อาสา’ โดย มูลนิธิพระยาภิรมย์ภักดี และบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ได้ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือมอบน้ำสะอาดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้งกว่า 20 จังหวัดภาคอีสานมาโดยตลอด ทั้งแจกจ่ายน้ำสะอาดให้กับชาวบ้านหลายชุมชน ติดตั้งธนาคารน้ำสิงห์ ซึ่งเป็นแท้งค์น้ำให้ชาวบ้านได้มีน้ำกินน้ำใช้ รวมถึงทำท่อประปาเพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำจากภูเขาเข้าสู่หมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล
ในปี 2565 สิงห์อาสา ได้ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำองค์ความรู้เรื่องการเติมน้ำใต้ดินมาสร้างแหล่งน้ำชุมชนและถ่ายทอดให้ชาวบ้าน ให้มีน้ำกินน้ำใช้อย่างยั่งยืน และยังคงร่วมมือกับเครือข่ายนักศึกษาสิงห์อาสาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 สถาบันในการสานต่อโครงการความช่วยเหลือเฝ้าระวังปัญหาภัยแล้ง
ราชกิจจาฯ ประกาศอัตราค่าจ้าง 16 สาขาอาชีพ สูงสุดวันละ 650 บาท
โครงการสิงห์อาสาสร้างแหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน นับเป็นโครงการที่ช่วยเติมน้ำลงไปในดินให้กักเก็บความชุ่มชื้นใต้ดินเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้อย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการสร้างแหล่งน้ำชุมชนต้นแบบแห่งที่ 2 ที่โรงเรียนบ้านดงน้อย ต.เสือโก้ก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม หลังจากสร้างแหล่งน้ำชุมชนแห่งแรกที่บ้านนาสีนวน ต.ขัวเรียง อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ซึ่งแหล่งน้ำทั้งสองแห่งนับเป็นการสร้างแหล่งน้ำได้มากถึง 20,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้กว่า 600 หลังคาเรือน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มัลลิกา ศรีสุธรรม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)กล่าวว่า จากการศึกษาข้อมูลพบว่าลักษณะพื้นที่และระบบโครงข่ายชลประทานของ จ.มหาสารคาม และจ.ขอนแก่นไม่สอดคล้องกับขนาดของพื้นที่ทำให้มีน้ำไม่เพียงพอ จึงนำกระบวนการเติมน้ำใต้ดินมาช่วยแก้ปัญหาน้ำแล้งได้อย่างยั่งยืน ซึ่งมีการสร้างทั้งรูปแบบบ่อเปิดและบ่อปิด โดยบ่อเปิดจะเป็นแหล่งน้ำสาธารณะที่ทุกคนสามารถผันน้ำไปใช้ได้ตลอดทั้งปี และบ่อปิดจะใช้วิธีขุดให้ลึกถึงชั้นบาดาลแล้วฝังท่อลงไป เพื่อช่วยเติมความชุ่มชื้นให้แก่ดินโดยรอบ เมื่อมีน้ำเพียงพอ ดินมีความชุ่มชื้น การปลูกพืช ทำการเกษตร
“คณะเกษตรศาสตร์ มข. มีความเชื่อว่านอกเหนือจากการสร้างความรู้ ประสบการณ์ให้กับนักศึกษาแล้ว การนำองค์ความรู้ออกมาพัฒนาท้องถิ่นให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นก็สำคัญเช่นกัน โดยในช่วงเดือน พฤษภาคม ที่ผ่านมา คณะเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกับ สิงห์อาสา สร้างแหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืนที่ จ.ขอนแก่น ในครั้งนี้เราได้ขยายโมเดลมาที่ จ.มหาสารคาม เพื่อช่วยเหลือพี่น้องภาคอีสานในจังหวัดใกล้เคียง”
"มาม่า-ผงซักฟอก"ขอขึ้นราคา แบกต้นทุนไม่ไหว
ศูนย์พิษวิทยาฯ เผย 10 ข้อต้องระวังการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา
ดนตรีในสวน เปิดเพิ่มอีก 1 พื้นที่ “สวนป้อมมหากาฬ” เริ่ม 18 มิ.ย.นี้
สำหรับเครือข่ายนักศึกษาสิงห์อาสาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 สถาบัน จะดำเนินงานตามพันธกิจ สร้างแนวร่วมในการดูแลประเทศที่ประกาศไว้ โดยจะเฝ้าระวัง ลงพื้นที่สำรวจและเข้าช่วยเหลือบริเวณที่ประสบภัยแล้ง หรือประสบปัญหาอื่นๆใน 20 จังหวัดภาคอีสานต่อไป มีรายชื่อดังนี้
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
- มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
- วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น
- วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม
ทั้งนี้ สิงห์อาสา และ คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น จะช่วยสนับสนุนองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้การสร้างแหล่งน้ำชุมชนขยายพื้นที่ครอบคลุมทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรผู้ใช้ได้มีโอกาสประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline