สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน อัปเดต “สิทธิบำนาญชราภาพ” หากผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทได้รับเงินบำเหน็จเพิ่มขึ้น และมีวิธีคำนวณเงินที่จะได้รับ ดังนี้
เงื่อนไขการรับสิทธิ
- ต้องมีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์
- ไม่เป็นผู้ประกันตนทั้ง มาตรา 33 และ มาตรา 39
- ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
อัปเดต! ‘บัตรทอง 30 บาท’ ปี 2565 เช็กสิทธิประโยชน์ใหม่ครอบคลุมอะไรบ้าง
ต้องรู้! ผู้ประกันตน ม.33 ลาออกจากงาน จะได้สิทธิประกันสังคมอะไรบ้าง
ทายาทรับเงินเพิ่ม 3 กรณี
กรณีที่ 1 : กรณีรับเงินบำนาญชราภาพ
กรณีรับเงินบำนาญชราภาพ ต่อมาเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับจากเดือนที่รับบำนาญ
ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = จำนวนเงินบำนาญชราภาพเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต x จำนวนเดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน
กรณีที่ 2 : กรณีผู้ประกันตนกลับไปเป็นผู้ประกันตนและต่อมาเสียชีวิต
กรณีผู้ประกันตนกลับไปเป็นผู้ประกันตนและต่อมาเสียชีวิต (ได้รับเงินบำนาญไม่เกิน 60 เดือน)
ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = จำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับก่อนกลับไปเป็นผู้ประกันตน x จำนวนเงินเดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน
กรณีที่ 3 :
แบ่งออกเป็น 2 กรณี
3.1) กรณีรับเงินชราภาพก่อนบังคับใช้กฎกระทรวง แต่ยังไม่ครบ 60 เดือน
ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ = เดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน
3.2) กรณีรับเงินชราภาพมาแล้วเหลือน้อยกว่า 10 เดือน
ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ = จำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต x 10 เท่า