"พายุโนรู" ทำสายการบินขึ้นลงอุบลฯ ป่วน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อิทธิพล “พายุโนรู” ส่งกระทบทำให้เครื่องบินที่บินไปอุบลราชธานีลงจอดไม่ได้ ต้องบินวนอยู่นาน สุดท้ายบินวนกลับ กทม.ขณะที่นายกสมาคมนักบินไทย ย้ำว่านักบินต้องยึดถือความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นสำคัญ

สภาพอากาศที่ จ.อุบลราชธานี ที่มีฝนตกหนัก ลมแรง ส่งผลสายการบิน ไม่สามารถลงจอดได้  โดยสายการบินเวียตเจ็ทเที่ยวบิน VZ226 ซึ่งเป็นสายการบินแรกที่ต้องนำผู้โดยสารกว่า 140 คน มาลงที่สนามบินนานาชาติจังหวัดอุบลราชธานีเป็นไฟลต์แรก เจอสภาพอากาศปิดไม่สามารถลงได้ จึงได้บินกลับกรุงเทพฯ 

ขณะที่สายการบินนกแอร์ เที่ยวบิน DD322  ที่บินออกจากสนามบินดอนเมือง ไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ไม่สามรถลงจอดที่่อุบลราชธานีได้เช่นกัน จนต้องบินกลับมาที่สนามบินดอนเมือง ซึ่งทางสายการบินนกแอร์ ระบุว่า เนื่องจากสภาพอากาศ

เวียดนาม สำรวจความเสียหาย หลัง"พายุโนรู" ถล่ม

มาแล้ว! “พายุโนรู” อุตุฯ ประกาศเตือนฉบับที่ 15 ระวังอันตรายฝนตกหนัก

ในจังหวัดอุบลราชธานี มีฝนตกหนัก ทางสายการบินจึงตัดสินใจบินกลับไปที่ดอนเมือง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารพร้อมกับทำการชี้แจงแก่ผู้โดยสารเป็นที่เรียบร้อย   ขณะที่เที่ยวบิน SL 624 ของไทยไลอ้อนแอร์ จากดอนเมือง-อุบลราชธานี ยกเลิกเที่ยวบินเช่นกัน

ว่าที่ร.ต.อัธยา ลาภมาก ผู้อำนวยการท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า มีสายการบินพาณิชย์ที่ต้องบินมาลงที่สนามบินนานาชาติจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 4 สายการบิน แต่เกิดอุปสรรคกับสายการบินเวียตเจ็ท ซึ่งบินมาลงเป็นไฟลท์แรก เจอกับสภาพอากาศค่อนข้างปิด และมีลดพัดแรง ไม่สามารถลงจอดได้ตามปกติ ทำให้มีผู้โดยสารขาออกจากจังหวัดอุบลราชธานีไปกรุงเทพฯ ประมาณ 100 คนเศษติดค้าง บางส่วนประมาณ 40 คน จึงตัดสินใจเดินทางไปกับสายการบินไทยสไมล์ ที่บินมาตามมาในภายหลังและลงจอดได้ เพราะสภาพอากาศดีขึ้นแล้ว

เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานีมีฝนตกตลอด ขอให้ผู้โดยสารตรวจสอบไฟลท์การเดินทางกับสายการบิน และมีการเผื่อเวลาให้มากขึ้น เผื่อจะได้ปรับการเดินทางใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์

กัปตันธีรวัจน์ อังคสกุลเกียรติ นายกสมาคมนักบินไทย บอกกับผู้สื่อข่าว พีพีทีวี  ว่า การที่นักบินจะนำเครื่องขึ้น-ลง หรือตัดสินบินกลับไม่ลงจอดในไฟล์ทบินใดๆ ก็ตาม นักบินทุกคนจะมีหลักการพิจารณาอยู่ 2-3 ข้อหลักๆ ได้แก่ สภาพอากาศ ในพื้นที่ช่วงเวลานั้นๆ ฝนตกหนักมากน้อยแค่ไหน  สภาพแรงลมเป็นอย่างไร ถัดมาคือศักยภาพความสมบูรณ์ของเครื่องบิน หากแรงลมเกินกว่าที่กำหนด นักบินก็สามารถตัดสินใจที่จะไม่นำเครื่องลงจอดได้เพื่อความปลอดภัย

ประกอบกับทัศนวิสัยที่สามารถมองเห็นรันเวย์ของนักบิน หากการมองเห็นทำได้ไม่ดี แล้วนำเครื่องลงจอดอาจเป็นความเสี่ยง

ต่อผู้โดยสารได้เช่นกัน ดังนั้นจึงมองว่ากรณีที่นักบินนำเครื่องกลับไม่ลงจอดในสภาพอากาศที่เผชิญกับพายุฝนจึงถือเป็นเรื่องปกติ ที่ยึดถือความปลอดภัย

ส่วนความพร้อมของเครื่องบิน กัปตันธีรวัฒน์ ย้ำว่า ตามมาตรฐานของอุตสาหกรรมการมีกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ก่อนที่นักบินทุกคนจะนำเครื่องบินขึ้นสู่น่านฟ้า จะมีการตรวจสอบความพร้อมของตัวเครื่องบิน ระบบความปลอดภัย ความสมบูรณ์ของเครื่องจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านมาตรฐานก่อนทำการขึ้นทุกเที่ยวบินอยู่แล้ว ขอให้ผู้โดยสารมั่นใจได้ในความปลอดภัยของทุกเที่ยวบิน

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP สังคม

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ