GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เปิดเผยข้อมูลภาพจากดาวเทียมแสดงสถานการณ์น้ำท่วมของเดือนกันยายนปี 2554, 2564 และ 2565 พบว่าปี 2554 มีปริมาณน้ำท่วมขังทั่วประเทศ จำนวน 15,996,150 ไร่, ปี 2564 จำนวน 5,648,252 ไร่ และในปี 2565 (ล่าสุด) พบพื้นที่น้ำท่วมขังจำนวน 5,331,739 ไร่ ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 พบว่าปริมาณน้ำท่วมขังในปัจจุบันยังห่างอยู่ 3 เท่าตัว
น้ำท่วม-ภัยพิบัติ กู้เงินฉุกเฉิน ฟรีดอกเบี้ย 1 ปี 3 เดือนแรกไม่ต้องผ่อน วงเงินไม่เกิน 5 หมื่น
เตือน! 11 จังหวัดลุ่มน้ำป่าสัก และเจ้าพระยา รวม กทม. โดนน้ำเขื่อนมาเติมอีก
สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน หลายคนเป็นกังวลอย่างยิ่งว่าจะท่วมหนักเหมือนเมื่อ 10 ปีก่อนหรือไม่ เพราะด้วยปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างไม่ขาดสายทำให้เกิดน้ำสะสมในหลายพื้นที่ ประกอบกับพายุโนรูที่เพิ่งแผลงฤทธิ์ไปสดๆร้อนๆ ส่งผลให้เกิดความเสียหายและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ อีกทั้งปริมาณน้ำในลำน้ำและอ่างเก็บน้ำหลายแห่งเริ่มล้นแล้ว ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเพิ่มมากขึ้น พื้นที่ลุ่มต่ำได้รับผลกระทบทุกหย่อมหญ้าสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่โดยเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลที่มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงมากขึ้น น้ำระบายไม่ทัน รอการระบาย สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือปริมาณฝนที่ตกลงมาเพิ่มเติมในพื้นที่ที่จะส่งผลให้น้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
หากมองย้อนกลับไปในช่วงของปี 2554 และปี 2564 ของเดือนกันยายน จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีพื้นที่น้ำท่วมขังมากกว่าปี 2565 แต่ทั้งนี้ปรากฏการณ์ลานีญาที่เกิดขึ้นส่งผลให้ฝนมาเร็วกว่าปี 2564
มวลน้ำรายภูมิภาค เปรียบเทียบระหว่างปีมหาอุทกภัย 2554 กับปีปัจจุบัน 2565
เดือน กันยายน 2554
- ภาคเหนือ 350,015 ไร่
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,412,704 ไร่
- ภาคกลาง 9,702,429 ไร่
- ภาคตะวันออก 1,207,294 ไร่
- ภาคตะวันตก 258,127 ไร่
- ภาคใต้ 65,581 ไร่
เดือน กันยายน 2565
- ภาคเหนือ 154,456 ไร่
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,955,311 ไร่
- ภาคกลาง 2,814,646 ไร่
- ภาคตะวันออก 147,844 ไร่
- ภาคตะวันตก 259,481 ไร่
- ภาคใต้ 0 ไร่