พร้อมรับมือน้ำเหนือเข้า กทม. 7-8 ต.ค. นี้

โดย PPTV Online

เผยแพร่

กรุงเทพมหานคร แถลงยืนยัน พร้อมรับมือมวลน้ำเหนือ ห่วงน้ำฝนมากกว่า ขณะที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระดับน้ำเกินความจุแล้ว ที่ 105% โดยปรับเพิ่มการระบายน้ำ จาก 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

นายชูพงศ์ อิศรัตน์ รักษาการ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำเขื่อนป่าสักฯ วันนี้ เกินความจุแล้ว โดยมีปริมาณน้ำ 1,014.15 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 105 เปอร์เซ็นต์

แม้ปริมาณน้ำจะเกินความจุ แต่นายชูพงศ์ ยืนยันว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ที่เขื่อนยังพอรับ สามารถหน่วงน้ำ และทยอยระบายออกได้ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับพื้นที่ท้ายน้ำ ซึ่งถ้าดูสถานการณ์น้ำที่ไหลเข้าออกที่เขื่อนป่าสักฯ วันนี้ น้ำไหลเข้า 1,525.25 ลบ.ม./วินาที ลดลงกว่าเมื่อวานที่ไหลเข้า 1,768.45 ลบ.ม./วินาที

ชาวบ้านเดือดร้อน เรียกร้องเปิดเหมืองระบายน้ำ

จิสด้า เปรียบเทียบภาพน้ำท่วมอุบลฯ พบท่วมขังตลอดแนวสองฝั่งริมแม่น้ำมูล

แต่ถ้าดูอัตราการระบายน้ำออกตอนนี้ อยู่ที่ 800.89 ลบ.ม./วินาที ปล่อยออกน้อยกว่าปริมาณน้ำที่เข้ามา เพื่อหน่วงไม่ให้มวลน้ำทั้งหมดไปเติมพื้นที่ปลายน้ำ คือ จ.สระบุรี และ จ.อยุธยา แต่นั่นก็หมายความว่า จะทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งจะพยายามหน่วงไว้เท่าที่เขื่อนป่าสักฯ รับได้ เพื่อลดผลกระทบท้ายน้ำ

ขณะที่เขื่อนพระราม 6 จ.พระนครศรีอยุธยา ที่รับน้ำต่อจากเขื่อนป่าสักฯ เพิ่มการระบายน้ำ ลงสู่พื้นที่ท้ายเขื่อน 983 ลูกบาศก์เมตร/ วินาที ทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 40-60 เซนติเมตร และพื้นที่จุดบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา อ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ  25-50 เซนติเมตร 

ส่วนกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบหนัก จากน้ำเหนือ ช่วงวันที่ 7-8 ตุลาคมนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงด้วย วันนี้ ผศ.ดร. ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายเจษฎา จันทรประภา รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ แถลงสถานการณ์น้ำ กทม. ยืนยัน พร้อมรับมือน้ำเหนือ โดยวางกระสอบทรายตามแนวเขตฟันหลอ 76 จุด ครบ 100% แล้ว พร้อมพร่องน้ำตามคลองต่างๆ เสริมกับการวางเครื่องสูบน้ำไว้ตามจุดสำคัญๆ โดยเฉพาะ โดยเฉพาะคลองแสนแสบ คลองประเวศบุรีรมย์ โดยตั้งเครื่องสูบน้ำไฮโดรลิก ไว้ที่สถานีพระโขนงเพิ่มจากเครื่องสูบน้ำปกติอีก 5 เครื่อง

สิ่งสำคัญคือ การประสานงานกับกรมชลประทานอยู่ตลอด ทางกรมชลประทานก็มีแผนจะผลักดันน้ำไปทางทิศตะวันตก และตะวันออก ให้มวลน้ำกระทบกรุงเทพมหานครน้อยที่สุด

ทั้งนี้ ประเมินว่า น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ผันมาประมาณ 3,300-3,500 รวมกับน้ำทะเลที่จะหนุนสูง ในช่วงดังกล่าว น่าจะทำให้ระดับน้ำสูงกว่าน้ำทะเลปานกลางประมาณ 2 เมตร 30 เซนติเมตร แต่คันที่ทำไว้ มีประมาณ 2 เมตร 80 เซนติเมตร ยังมั่นใจว่าป้องกันได้ เว้นแต่จุดที่เป็นดินที่ไม่แน่น อาจจะมีปัญหารั่วซึมได้ จึงได้เตรียมทีม ลงแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว

 ส่วนสิ่งที่กรุงเทพมหานครเป็นห่วง คือ เรื่องของปริมาณฝนที่จะตกในพื้นที่มากกว่า อย่างวันจันทร์ที่ผ่านมา ที่มีปริมาณฝน 165 มิลลิเมตร จะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง การจราจรติดขัดได้ โดยเฉพาะ ในช่วงเย็น หลังเลิกงาน ซึ่งเย็นนี้มีโอกาสฝนตกที่ บางนา ลาดกระบัง ประเวศ และบางขุนเทียน ขอประชาชนเฝ้าระวัง

ส่วนนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ช่วงเช้าได้ไปติดตามสถานการณ์น้ำ ที่ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม กทม.2 ดินแดง โดยนายอาสา สุขขัง ผู้อำนวยการกองสารสนเทศระบายน้ำ บอกว่า จะต้องเฝ้าระวังที่จุดปากคลองตลาด เพราะเป็นช่วงแม่น้ำเจ้าพระยาที่แคบที่สุดของ กทม. วานนี้ (4 ต.ค.65) ช่วง 15.00น. ระดับน้ำอยู่ที่ 2 เมตรกว่า

โดยนายชัชชาติ ระบุว่า ตอนนี้ที่ปากคลองตลาด มีระดับเขื่อนอยู่ที่ 3 เมตร จึงยังพอป้องกันได้ พร้อมสั่งให้ประสานงานไปที่กรมเจ้าท่า ขอให้เรือแล่นผ่านเบาๆ อย่าให้อันตรายกับเขื่อน

 

คอนเทนต์แนะนำ
ขอความร่วมมือสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ "แจ้งข่าวเตือนภัยพิบัติ"
วันหยุดเอเปค 2022 วันที่ 16-18 พ.ย. 65 วันหยุดราชการกรณีพิเศษ ต้อนรับประชุม APEC 2022
กทม.เลื่อนงาน “เล่นว่าว” 8-9 ต.ค.นี้ เนื่องจากสภาพอากาศ

Bottom-BDMS Bottom-BDMS

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ