วิทยุชุมชนอุบลฯ ปรับเนื้อหาแจ้งเตือนน้ำท่วม

โดย PPTV Online

เผยแพร่

จากกรณี วิทยุทรานซิสเตอร์ ที่พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า จำเป็นในช่วงน้ำท่วม และกลายเป็นดราม่า โจมตี พล.อ.ประยุทธ์ ล่าสุดกระแสตีกลับ หลายคนออกมาแชร์ข้อมูลว่า ในสถานการณ์ฉุกเฉิน วิทยุทรานซิสเตอร์ สำคัญและจำเป็นมาก ยิ่งในกรณีที่ การสื่อสาร ทั้งโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ตใช้งานไม่ได้

นายเอกลักษณ์ วงษ์ช่าง ผู้อำนวยการสถานีวิทยุชุมชน บอกว่า ตอนนี้เกิดน้ำท่วมในจังหวัด ทำให้ปรับรูปแบบการจัดรายการของของตัวเอง มาตั้งแต่ก่อนที่พายุโนรูจะเคลื่อนตัวเข้าตัวจังหวัด โดยสอดแทรกการแจ้งเตือน ให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมมาตั้งแต่ตอนนั้น ต่อเนื่องถึงวันนี้ ซึ่งข้อมูลเรื่องสถานการณ์น้ำ การเตือนภัยที่นำมาใช้พูดในรายการ เขาได้รับได้รับมาจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด และมอนิเตอร์เพจโซเชียลมีเดีย ก่อนจะนำมาคัดกรอง แล้วค่อยพูดผ่านรายการ

ดีเจวิทยุชุมชน ให้กำลัง "ประยุทธ์" หลังโดนแซะย้อนยุค

สำรวจบ้านหม้อ ตามหา “วิทยุทรานซิสเตอร์”

นายเอกลักษณ์ยังมองว่า ในสถานการณ์ภัยพิบัติ การใช้วิทยุเป็นช่องทางการสื่อสาร แจ้งเตือนให้ประชาชนยังสำคัญ เพราะต้องยอมรับว่า บางช่วงวัย โดยเฉพาะคนแก่ หรือ ผู้สูงอายุ ไม่ได้เข้าถึงโซเชียลมีเดียเหมือนคนวัยอื่นๆ ก็มักจะเลือกฟังข่าวผ่านวิทยุมากกว่า

โดยคลื่นวิทยุ เอฟเอ็ม 90.50 สามัคคี เรดิโอ ของนายเอกลักษณ์ สามารถส่งสัญญาณได้ไกล 25 กิโลเมตร ตามที่กสทช.กำหนดไว้ โดยจะครอบคลุมใน 3 อำเภอ คือ เมือง วารินชำราบ และสว่างวีระวงศ์

ทีมข่าวพีพีทีวี ยังมาสำรวจบริเวณเต้นท์ผู้ประสบภัยในอำเภอวารินชำราบ ซึ่งตั้งใกล้กับทุ่งคำน้ำแซ่บ สังเกตโดยรอบพบว่า ผู้ประสบภัยที่อพยพอยู่ในจุดนี้ แทบทุกเต้นท์จะใช้ทีวี เป็นช่องทางในการรับข่าว

 แต่ทีมข่าวไปเจอคุณป้าคนหนึ่ง ชื่อคุณป้าสมปอง บุญพา เมื่อถามคุณป้าว่า มีวิทยุทรานซิสเตอร์เก็บอยู่ในเต้นท์หรือไม่ คุณป้าตอบว่า มี ก่อนจะไปค้นข้าวของที่เก็บมาจากบ้าน นำมาโชว์ให้ดู เป็นวิทยุสีแดง ซื้อมาในราคา 500 บาท เมื่อ 2 ปีก่อน นำมาใช้เปิดฟังข่าวทุกเช้า และสายๆจะเปลี่ยนคลื่นไปฟังหมอลำแทน   คุณป้าสมปองบอกว่า หยิบติดมาด้วยตอนขนของหนีน้ำ แต่ถ่านหมดไปนานแล้ว เปิดไม่ได้ ตอนนี้จึงต้องฟังข่าวผ่านทีวีแทน

ทีมข่าวสอบถามไปที่กรมอุตุนิยมวิทยา ว่า การอัปเดตสถานการณ์การพยากรณ์อากาศ ในแต่ละวันเป็นอย่างไร ใช้ช่องทางวิทยุในการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน

แหล่งข่าวระบุว่า เฉพาะ ของกรมอุตุนิยมวิทยา มีคลื่นวิทยุ thai weather radio รวม 6 ช่อง กระจายสัญญาณทั่วประเทศ ประกอบด้วย

  • AM1287 KHz กรุงเทพมหานคร
  • FM 94.25 MHz นครราชสีมา
  • FM104.25 MHz พิษณุโลก
  • FM 105.25 MHz ระยอง
  • FM 94.25 MHz ชุมพร
  • FM 107.25 MHz ภูเก็ต

ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ผลัดเปลี่ยนจัดรายการเหมือนคลื่นวิทยุทั่วไป แต่จะมีการอัปเดตการพยากรณ์อากาศ ซึ่งกองพยากรณ์อากาศจะจัดทำข้อมูล ทุกๆ 6 ชั่วโมง ( 1 วัน 4 รอบ) ไว้รายงานให้ประชาชนรับทราบ และ ข้อมูลนี้ก็จะอัพเดตในเว็บไซต์ รวมถึงส่งให้สื่อกระแสหลัก รวมถึงจะ แสตนบายเจ้าหน้าที่กองพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมง เพื่อ เข้าสายรายการวิทยุต่างๆ เพื่ออัพเดตสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา 

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ