ชวนรู้ข้อแตกต่าง "ซูเปอร์ฟูลมูน" กับ "บลูมูน" ก่อนเป็น "ซูเปอร์บลูมูน" ให้รับชมสารทจีนนี้!

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ชวนรู้ข้อแตกต่างระหว่าง "ซูเปอร์ฟูลมูน" กับ "บลูมูน" ที่จะมารวมกันเป็น "ซูเปอร์บลูมูน" ให้ได้รับชมกัน วันสารทจีนนี้!

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ชวนติดตามปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ส่งท้ายเดือนสิงหาคม คือ ปรากฏการณ์ "ซูเปอร์บลูมูน" ที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่คืนวันที่ 30 สิงหาคม 2566 หรือวันสารทจีน ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:09 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 31 สิงหาคม 2566 สามารถดูได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก และนอกจากนี้ ยังมีดาวเสาร์ปรากฏสว่างเคียงข้างดวงจันทร์อีกด้วย

คอนเทนต์แนะนำ
ทำความรู้จัก "สุทิน คลังแสง" สส.มือเก๋า นั่ง รมว.กลาโหม "ครม.เศรษฐา 1"
“ของไหว้สารทจีน” มีอะไรบ้าง พร้อมความหมายมงคล อาหารคาว-หวาน-ผลไม้
ประกาศฉบับที่ 5 เตือน ฝนตกหนักถึงหนักมาก จนถึง 3 ก.ย.

 

โดย "ซูเปอร์บลูมูน" เป็นชื่อปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นจาก 2 ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน คือ "ซูเปอร์ฟูลมูน" และ "บลูมูน"

ซูเปอร์ฟูลมูน

โดยปกติในแต่ละเดือน จะมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่เรียกว่า ฟูลมูน หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ แต่ในครั้งนี้ นอกจากจะเกิดดวงเต็มดวงแล้ว ยังเป็นการเกิดดวงจันทร์เต็มดวงที่มีระยะใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี จึงเรียกปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นนี้ว่า "ซูเปอร์ฟูลมูน" ซึ่งมีระยะห่างจากโลกประมาณ 357,334 กิโลเมตร 

บลูมูน

"บลูมูน" เป็นชื่อเรียกปรากฏการณ์การเกิดดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือน ซึ่งตามปกติแล้วเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก โดยการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ จะใช้ระยะเวลาประมาณ 29.5 วัน หรือประมาณ 1 เดือน แต่เนื่องจากการโคจรของดวงจันทร์ อาจใช้เวลาเร็วกว่าปกติในบางครั้ง ทำให้มีโอกาสเกิดดวงจันทร์เต็มดวง 2 ครั้งใน 1 เดือน และจะเรียกการเกิดดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือนว่า "บลูมูน" นั่นเอง ซึ่งบลูมูนครั้งนี้ นับเป็นบลูมูนในรอบ 3 ปี โดยครั้งล่าสุดที่เกิดบลูมูนคือวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ซึ่งในครั้งนั้นนอกจากจะตรงกับวันฮาโลวีนแล้ว ยังเป็นช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Full Moon) พอดีอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติจึงตั้งชื่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันว่า "ซูเปอร์บลูมูน" 

โดยทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เตรียมจัดงานสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ครั้งนี้ ตั้งแต่เวลา 18:00-22:00 น. ณ จุดสังเกตการณ์หลักทั้ง 4 แห่ง ได้แก่

  • อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ : โทร. 084-0882261
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา : โทร. 086-4291489
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา : โทร. 084-0882264
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา : โทร. 095-1450411

หรือรับชมสดผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

ขอบคุณภาพจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ /SHARA S. KODIKARA / AFP

คอนเทนต์แนะนำ
เตรียมชมปรากฏการณ์ "ดาวเสาร์-ดวงจันทร์เต็มดวง" ใกล้โลกสุดในรอบปี
“สารทจีน 2567” ต้องใช้ธูปกี่ดอก จัดโต๊ะไหว้เจ้าที่-บรรพบุรุษ-วิญญาณเร่ร่อนอย่างไร
พบ “องค์ประกอบของชีวิต” บนดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ