ทำให้เมื่อเช้าวันนี้ 1 ม.ค. 2566 ที่ หน้าสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ คือ มีรถยนต์ ที่คาดว่าเป็นของ เจ้าหน้าที่กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกับครอบครัวเยาวชนผู้ก่อเหตุ เดินทางออกมาจากส่วนพักรักษาตัวของสถาบัน
น.ส.ศิริประกาย วรปรีชา รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเยาวชน เปิดเผยว่า มีการพูดคุยกันระหว่างตัวแทนกรมพินิจและคุ้มครองเยาวชน ครอบครัวของเด็ก 14 ประกอบด้วย พ่อแม่ของเด็ก และแพทย์ของสถาบัน บรรยากาศการหารือเป็นไปด้วยดี
หมดอำนาจควบคุม! กรมพินิจฯ ปล่อยตัวเด็ก 14 ส่งไม้ต่อรักษาสถาบันกัลยาณ์ฯ
ฉลองปีใหม่ 2567 หลวงพี่เมาแอ๋ เดินเซไปมา ลั่นแค่นี้ไม่ปาราชิก
ท้ายที่สุด ครอบครัวของเด็ก 14 ยินยอมให้ เด็กคนนี้รับการรักษาตัวต่อที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ คาดว่าทางครอบครัวจะเป็นผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล ส่วนจะรักษาตัวนานเท่าใดและมีแผนการรักษาอย่างไร ไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากเป็นดุลพินิจของแพทย์
น.ส.ศิริประกาย ยังบอกอีกว่า ตอนนี้กรมพินิจฯ ได้หมดอำนาจการควบคุมตัวแล้ว หลังจากนี้เป็นเรื่องของทางแพทย์กับครอบครัว ส่วนเรื่องคดี แพทย์จะเป็นผู้ทำายงานวินิจฉัยการประเมินสุขภาพต่าง ๆ และนำส่งให้กับทางพนักงานสอบสวนต่อไป
ประเด็นนี้สอดคล้องกับที่ นายประยุทธ เพชรคุณ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยกับพีพีทีวี ว่า แม้เด็ก 14 จะถูกนำตัวไปรักษา แต่ตามกฎหมาย ระบุว่า แพทย์จะต้องรายงานการรักษาให้พนักงานทราบทุก 180 วัน และ หากหายก่อนหน้านั้นจะต้องนำตัวส่งเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการ ย้ำว่า การรักษาคนป่วยกับกระบวนการยุติธรรมเป็นคนละส่วนกัน แต่หากเขาป่วยยังไม่หายก็ยังไม่สามารถเอาผิดได้ เพราะ กฎหมายกำหนดไว้แบบนั้น
สำหรับคดีกราดยิงในห้างสรรพสินค้า คดีนี้มีอายุความสูงสุดถึง 20 ปี หากสอบสวนตามกระบวนการถูกต้อง อัยการพร้อมรับคดีมาดำเนินการต่อ