เตือนภัย! มิจฉาชีพขโมยคลิปตำรวจ ใช้ AI ทำ Deepfake หลอกลวงเหยื่อ

โดย PPTV Online

เผยแพร่

เพจดังเตือนภัย มิจฉาชีพขโมยคลิปข้าราชการตำรวจ ก่อนใช้เครื่องมือ AI ทำ Deepfake หลอกลวงเหยื่อ

คืนวันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กเพจ Drama-addict โพสต์รายงานเหตุเตือนภัยจากลูกเพจรายหนึ่ง ที่ระบุว่าโดนแก๊งมิจฉาชีพโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมแจ้งให้ประชาชนทั่วไปรับทราบ

ข้อความระบุว่า ลูกเพจฝากมา สวัสดีค่ะ แจ้งเตือนภัยค่ะ!!!!!! เนื่องจากโดนมิจฉาชีพโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลไป เลยขอแชร์ให้ทางเพจ ช่วยแจ้งประชาชนทั่วไปให้ด้วยนะคะ (ไม่ประสงค์ออกนามนะคะ)

เหตุการณ์เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567

คอนเทนต์แนะนำ
เช็กที่นี่! วัน เวลา สถานที่ และระเบียบการ สอบ ก.พ. 67 e-Exam
สั่งถอดออกแล้ว รร.เทศบาล ติดตั้งพัดลม 72 ตัว
ทนายยื่นประกัน "รองผู้การฯ สงขลา - อู๊ด หาดใหญ่" คดีพัวพันเว็บพนัน

ภาพ โพสต์เพจ Drama-addict FB/Drama-addict
โพสต์เพจ Drama-addict

ได้มีผู้แอบอ้างเป็นหน้าที่ธนาคารกรุงไทย ชื่อ น.ส. ************** (มิจฉาชีพ) แจ้งว่า มีบุคคลอื่นแอบอ้างข้อมูลปลอมแปลงเอกสาร เพื่อเปิดบัตรกดเงินสด ระบุเลขหน้าบัตร ****************5 สมัครวันที่ 25 ต.ค. 66 เวลา 13.50 น.ที่บิ๊กซี จังหวัดน่าน

โดยกดเงินสดเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2566 เวลา 14.15 น. จำนวนเงิน 98,500 บาท จากนั้น ได้โอนสายให้คุยกับตำรวจ(ปลอม) อ้างว่าเป็น จนท. ตำรวจ สภ.เมืองน่าน

จากนั้นให้แอดไลน์ IP 1212.22 และเบอร์โทร 082-536-9527 ตำรวจ (ปลอม) (เช็คใน whoscall แล้วเป็นเบอร์มิจฉาชีพ) อ้างชื่อว่า ร.ต.อ.************ ทำทีถามชื่อ นามสกุล อาชีพ และให้เปิดกล้องดูว่า มีคนอื่นอยู่โดยรอบหรือไม่

ดิฉันได้ส่งสำเนาบัตรประชาชนไปทางไลน์ ซึ่งตำรวจ (ปลอม) ให้เขียนระบุว่า “ใช้เพื่อแจ้งความเท่านั้น” ขณะนั้นเพื่อนของดิฉันทักแชทมาแจ้งว่า “เป็นกลุ่มมิจฉาชีพให้รีบวางสาย” ดิฉันจึงรีบลบสำนาบัตรประชาชน ที่ส่งทางไลน์พร้อมกับบล็อคไลน์โดยทันที

ในขณะที่พูดคุยกับตำรวจ (ปลอม) ดิฉันได้เผลอแคบรูปเอาไว้ จึงอยากให้ทางเพจ ช่วยแจ้งเตือนภัย หากบุคคลในรูปไม่ใช่มิจฉาชีพ ขอให้รีบแจ้งความ โดยเร็วที่สุดค่ะ ขอบคุณค่ะ

ภาพโพสต์เพจ Drama-addict FB/Drama-addict
โพสต์เพจ Drama-addict

โพสต์ดังกล่าว มียอดการมีส่วนร่วมกว่า 5.1 พันครั้ง แชร์ 354 ครั้ง และมีผู้เข้ามาแสดงความเห็น 466 ครั้ง เช่น “วันนี้ก็โดนโทรมาแบบนี้แหละค่ะ3ครั้งเลยวันเดียว ดิฉันกดวางสายหมดเลย” “Whoscall ช่วยคัดกรองได้ระดับนึงเลยค่ะ” และ “เรากดวางสายตั้งแต่แรกแล้ว เจอบ่อยค่ะ รู้เลขบัตร ชื่อจริง นามสกุล แต่ก็ตัดสายทิ้งทุกครั้ง คุยนานนั่นแหละยิ่งน่ากลัว” เป็นต้น

ซึ่งทางเพจ Drama-addict ก็ได้โพสต์ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเครื่องหมายที่ตำรวจปลอมติด พร้อมระบุจากในรูปว่า ฝั่งซ้ายจะติดเข็มหลักสูตรดำน้ำของตำรวจ และฝั่งขวาจะติดเข็มต่อต้านก่อการร้าย

ข้อความของโพสต์ดังกล่าว ระบุว่า ตำรวจปลอมของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มักติดเข็มมั่วมาก เช่น เคสนี้ ติดเข็มหลักสูตรดำน้ำของตำรวจ และเข็มต่อต้านก่อการร้าย ซึ่งส่วนมาก ตำรวจที่เขาผ่านการอบรมโหด ๆ มานี่ เขาก็ทำงานที่สมกับหลักสูตรที่เขาจบมา ไม่มานั่งวีดีโอคอลทำคดีก๊อง ๆ แก๊ง ๆ หรอก เป็นจุดสังเกตง่าย ๆ สำหรับพวกนี้นะครับ

ภาพเข็มที่มีการตั้งข้อสังเกต FB/Drama-addict
เข็มที่มีการตั้งข้อสังเกต

ทำให้ยิ่งมีผู้ให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นนี้มากขึ้น โดยมีผู้เข้ามามีส่วนร่วมกว่า 7.2 พันครั้ง แชร์ 217 ครั้ง และมีผู้เข้ามาแสดงความเห็นเกือบ 500 ข้อความ เช่น “แนะแนวดีมาก” และ “เอาจริงคือตำรวจเขาไม่มานั่งคอลหรอก”

นอกจากนี้ ความเห็นบางส่วนยังระบุว่า หากเผยแพร่รายละเอียดเกี่ยวกับเข็มออกไป อาจทำให้มิจฉาชีพไหวตัวทันได้ เช่น “มันเห็นโพสเดี๋ยวมันก็แก้แล้วค่ะ” “หลังโพสนี้ออกไป ก็ติดถูกต้องทันที” “ดีครับ ดีทั้งคนทั่วไปรู้ และโจรก็รู้ ก็เลยไม่ติด” และ “คอลเซ็นเตอร์ : ขอบคุณที่แจ้งให้ทราบเดี๋ยวเราจะทำการแก้ไขข้อบกพร่อง” เป็นต้น

คอนเทนต์สำหรับคุณ

เนื้อหาคัดสรรคุณภาพ

เนื้อหาสนับสนุน By Bluedot
เนื้อหาสนับสนุน By Bluedot

ตำรวจจริง โดนมิจฉาชีพใช้ AI แอบอ้าง!

ล่าสุด เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Smoky Rachata โพสต์เฟซบุ๊กชี้แจงว่า ตำรวจในรูปดังกล่าวคือตนจริง ๆ แต่ถูกมิจฉาชีพนำรูปไปแอบอ้าง และตนได้ลงบันทึกประจำวันเตรียมดำเนินคดีกับมิจฉาชีพแล้ว โดยระบุข้อความว่า

เนื่องจากเพจ Drama-addict มีการโพสต์ข้อความพร้อมภาพประกอบว่า มีผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้โอนเงินไปยังบัญชีม้านั้น โดยมิจฉาชีพได้นำภาพของผม ไปใช้ในการหลอกลวงผู้อื่นซึ่งทำให้ ประชาชนผู้ใช้งานในสื่อสังคม Social เชื่อว่าผมเป็นข้าราชการตำรวจปลอม ผมเกรงว่าจะเกิดความเข้าใจผิด และเกรงว่า มิจฉาชีพจะนำรูปถ่ายของผมไปใช้ในการกระทำความผิดอีก

ล่าสุด ผมได้ลงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเตือนภัยให้แก่ประชาชนได้ทราบเพื่อมีให้ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

ภาพตำรวจเจ้าของรูปชี้แจง เป็นตำรวจจริง แต่โดนมิจฉาชีพใช้ AI แอบอ้าง FB/Smoky Rachata
ตำรวจเจ้าของรูปชี้แจง เป็นตำรวจจริง แต่โดนมิจฉาชีพใช้ AI แอบอ้าง

ที่มา : Drama-addict

พบ“น้องแคร์” หลังหายตัว ประทับตราพาสปอร์ตเข้ามาเลย์ ตั้งแต่ 28 ก.พ.

"บิ๊กโจ๊ก"ส่งทนายฟ้อง"บิ๊กเต่า" จ่อแถลงเปิดเส้นทางการเงิน งานนี้อาจตายหมู่

อุปกรณ์เครื่องบินไม่ทำงาน ร่วงวูบกลางอากาศ ผู้โดยสารลอยกระแทกเพดานเจ็บ

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ