ถอดรหัส "น้ำท่วมเชียงราย" มองสาเหตุหลักมาจาก "ยางิ" ชี้กลไกรัฐมีอยู่ แต่คนไม่ตระหนัก

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ถอดรหัสสถานการณ์ "น้ำท่วมเชียงราย" มองสาเหตุหลักมาจาก "พายุยางิ" พาดผ่านแม่สาย ทำเมียนมาฝนตกหนัก ชี้กลไกการแจ้งเตือนของรัฐมีอยู่แล้ว แต่คนไม่ตระหนัก

สถานการณ์น้ำที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ยังคงอยู่ในระดับที่รุนแรง ไหลหลากเข้าท่วมหลายรอบ รวมถึงมีการคาดการณ์ว่าน้ำจะไหลลงไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป จนหลายฝ่ายตั้งคำถามว่า แท้จริงแล้วเกิดอะไรขึ้น? เกิดจากเรื่องของสภาพลมฟ้าอากาศหรือไม่? รวมถึงการพูดถึงมาตรการช่วยเหลือหรือการแจ้งเตือนต่าง ๆ และมองไปถึงอนาคตว่า จะป้องกันปัญหาเหล่านี้อย่างไรได้บ้าง?

คอนเทนต์แนะนำ
น้ำท่วมเชียงราย บททดสอบ “รัฐบาลแพทองธาร” เดิมพันด้วยชีวิตประชาชน
รวมเบอร์ติดต่อขอความช่วยเหลือ! น้ำท่วมเชียงราย
น้ำท่วม 67 น้ำล้นตลิ่งเอ่อท่วมอ.แม่สาย ตลาดสายลมจอยท่วมสูงกว่า 1 เมตร

ภาพนายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ "ทีมกรุ๊ป" และ ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมพูดคุยกับ PPTV ในรายการเข้มข่าวเย็ รายการเข้มข่าวเย็น Exclusive Talk
นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ "ทีมกรุ๊ป" และ ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมพูดคุยกับ PPTV ในรายการเข้มข่าวเย็น ช

นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ "ทีมกรุ๊ป" และ ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมพูดคุยกับ PPTV ในรายการเข้มข่าวเย็น ช่วงคุยข้ามช็อต Exclusive Talk เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ

"พายุยางิ" สาเหตุหลักทำน้ำท่วมเชียงราย

นายชวลิต กล่าวว่า ต้นเหตุหลักจริง ๆ มาจากฝนตกหนัก พายุ และโดยเฉพาะ "พายุยางิ" ที่เมื่อมาถึงฟิลิปปินส์ ทำคนเสียชีวิตกว่า 40 ราย มาถึงเกาะไหหลำก็มีเสียหายบ้างเล็กน้อย แต่พอมาที่เวียดนามตอนเหนือ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 62 ราย ถึงถัดไปที่จะไปหลวงพระบาง สปป.ลาว แต่ก็อย่าชะล่าใจว่าจะไม่เข้าไทย

เนื่องจากพายุมีทั้งหมด 5 ระดับ ที่ตรวจจับได้ในไหหลำอยู่ที่ระดับ 4 เกือบได้คะแนนเต็ม เกือบสูงสุดแล้ว เพราะฉะนั้นเราก็ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ แม้เส้นทางพายุอาจไม่พาดผ่านไทย แต่เมื่อพาดผ่านแม่น้ำแม่สาย ซึ่งมีพื้นที่กว่า 80% อยู่ในเมียนมา และแม่น้ำแม่กกกว่า 60% อยู่ในเมียนมา ย่อมส่งผลให้น้ำมาที่ประเทศไทยหมดเลย และไหลลงแม่น้ำโขงต่อไป

และเมื่อน้ำมาถึง จ.เชียงรายแล้ว น้ำก้อนใหญ่จะมีความเร็วสูง ทำให้ทะลักเข้ามาเร็วมาก หากเราใช้ภาพถ่ายดาวเทียมหรือเรดาร์ ก็สามารถบอกได้ ครั้งที่ผ่านมาเราอาจยังไม่เคยเจอสถานการณ์รุนแรง และอาจไม่ได้นึกถึงว่าเมียนมาเป็นพื้นที่ต้นน้ำ และมีความสูงชัน ประกอบกับบางพื้นที่ไม่มีป่าไม้รับน้ำ ทำให้น้ำไหลลงมาอย่างรุนแรงและรวดเร็ว

ด้าน ดร.สนธิ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีเหตุน้ำท่วมในเชียงรายมาแล้ว 7-8 ครั้ง แต่ก็เป็นการท่วมน้อย ๆ แต่ในครั้งนี้มาหนัก สิ่งที่เดือดร้อนจริง ๆ สำหรับคนไทยคือระบบการแจ้งเตือนภัยต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยชัดเจน เราไม่มีเครื่องวัดปริมาณน้ำ มาตรวัดน้ำ วัดระดับความสูงย้ำอยู่ในเมียนมา ประกอบกับเราชะล่าใจ ไม่ค่อยเกิดภัยพิบัติ ทำให้เกิดปัญหาขึ้น

แม่น้ำแคบลง - ภูเขาหัวโล้น ตัวเร่งปฏิกิริยาน้ำท่วมเชียงราย

นายชวลิต กล่าวว่า สมัยก่อนแม่น้ำแม่สายใหญ่โตกว้างขวางมาก มีร้านรวงอยู่ตามข้างถนน แต่ปัจจุบันมีการขุดร้านรวงลงมาชั้นล่างทั้งฝั่งไทยและฝั่งเมียนมา ทำให้แม่น้ำแคบลงเกิดเป็นลักษณะของคอคอด เมื่อมวลน้ำขนาดใหญ่มาเจอกับคอคอดก็ทำให้น้ำยกตัวขึ้น ทำให้ชาวบ้านโดนน้ำท่วมขึ้นมาซัดเกิดความเสียหาย

การยกตัวของน้ำ เมื่อยกตัวเพียง 1 เมตร จะมีพลังการดันไปข้างหน้าถึง 1 ตัน เพราฉะนั้นอย่าปล่อยให้น้ำยกตัว และหากน้ำยกตัวแล้วเราต้องมั่นใจว่าคันกั้นน้ำของเราแข็งแรงเพียงพอ และหากสูงขึ้นเป็น 2 เมตร ก็จะมีพลัง 2 ตัน สูงขึ้น 3 เมตร ก็จะมีพลัง 3 ตัน ก็อาจสู้ไม่ไหว

ด้าน ดร.สนธิ กล่าวว่า จริง ๆ แล้วสามารถควบคุมได้ เนื่องจากมีกฎหมาย มี พรบ.ควบคุมอาคาร พรบ.ผังเมืองต่าง ๆ มีหมด แต่การบังคับใช้กฎหมายมีความย่อหย่อน ไปยินยอมให้ชาวบ้านทำ

เดิมที แม่น้ำแม่สายกว้างประมาณ 150 เมตร ทว่าเกิดการสร้างรุกล้ำพื้นที่จนเหลือความกว้างเพียงประมาณ 40 - 50 เมตร ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัญหาของความย่อหย่อนในการบังคับใช้กฎหมาย พื้นที่ริมตลิ่งไม่ให้มีการจัดทำแบบนี้ และที่สำคัญคือ หลังจากนี้ตลาดอาจจะขยายต่อไปเรื่อย ๆ ทั้งฝั่งไทยและฝั่งเมียนมา จึงต้องกลับมามองกันใหม่ทั้งหมด

นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตว่า น้ำมีสีแดงและขุ่น ทำให้เห็นว่าเป็นน้ำที่มาจากภูเขา ดินถล่มต่าง ๆ เพราะฉะนั้นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญคือ "ภูเขาหัวโล้น" ทำให้น้ำไหลหลากลงมาอย่างรุนแรง ประกอบกับยกตัวสูงขึ้นในที่แคบ ทำให้อันตรายจนเกิดปัญหาน้ำท่วมหนักขึ้น โดยส่วนตัวมองว่าสถานการณ์เช่นนี้ไม่ปกติแล้ว

นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ "ทีมกรุ๊ป" รายการเข้มข่าวเย็น Exclusive Talk
นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ "ทีมกรุ๊ป"

มองทิศทางน้ำท่วมเชียงราย น้ำไหลไปไหนต่อ?

นายชวลิต กล่าวว่า การประเมินทิศทางน้ำหากมองในขณะนี้ หลังจากที่พายุยางิผ่านไป ฝนตกน้อยลง ทำให้ร่องฝนร่องความกดอากาศต่ำที่ทำให้ฝนตกมาก ๆ จนทำให้ จ.เชียงรายน้ำท่วมรอบแรก ได้เลื่อนไปอยู่ที่ จ.นครสวรรค์หมดแล้ว เพราะฉะนั้นฝนอาจจะตกมากในแถบ จ.กำแพงเพชร จ.นครสวรรค์ จ.พิษณุโลก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็จะไปตกที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ถ้าหากไม่มีจำนวนน้ำมาเพิ่ม จะเห็นได้ว่าระดับน้ำลดลงเรื่อย ๆ เหลือไว้แต่ตะกอน จากนั้นไหลลงสู่แม่น้ำโขง ตัวอย่างเช่น แม่น้ำแม่สายก็จะไหลไปลงที่พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ แม้จะมีปัญหาบ้าง แต่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่สูง สามารถระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว มาเร็ว ไปเร็ว

ขณะที่ แม่น้ำกก จ.เชียงราย ที่เป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่ ยังลดลงไม่หมดดี จากเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่มีการวัดได้ 3 เมตร มาถึงวันที่ 12 กันยายนที่วัดได้ 2 เมตร จนมาถึงวันที่ 13 กันยายนเหลือ 1 เมตรครึ่ง แต่ก็ถือว่าลดลงเร็วดี ถัดจากนี้ก็จะไปไหลลงที่ อ.เชียงแสน ซึ่งแม่น้ำโขงมีความลาดชันอยู่ ทำให้การระบายน้ำไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร

ทว่าข้อสังเกตคือ ลำน้ำสาขาที่ไหลลงแม่น้ำโขง นอกจากจะมีในประเทศไทยแล้ว ยังมีจากประเทศลาว ประเทศจีน ทำให้ปริมาณแม่น้ำโขงใน อ.เชียงคาน จ.เลย สูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังมีความลาดชันอยู่ จึงไม่ค่อยเอ่อท่วม

แต่พอมาถึง อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ ที่มีความลาดชันน้อยลง ทำให้ต้องระมัดระวัง เนื่องจากเมื่อเช้าวันที่ 13 กันยายน พื้นที่ดังกล่าวมีน้ำล้นตลิ่งล้นคันกั้นแล้ว และจะอยู่อย่างนี้สูงสุดถึงวันที่ 16 กันยายน รวมถึงระดับน้ำจะสูงขึ้นอีก 1-2 เมตรด้วย

นอกจากนี้ ร่องฝนพาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือพอดี ถ้ามีความชื้นเพียงพอ ลมมรสุมกำลังปานกลาง ก็มีโอกาสที่จะตกประมาณ 100 มม. ราว 2-3 วัน ก็มีโอกาสทำให้แม่น้ำโขงไม่วสามารถระบายได้ไม่ทัน หรือระบายได้ช้ามาก พอระบายช้า ก็จะทำให้น้ำไหลเอ่อออกด้านข้าง

ขณะที่ ดร.สนธิ กล่าวว่า สิ่งที่กังวลคือ มีรายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าระหว่างวันที่ 13 - 16 กันยายน จะมีฝนตกหนักกว่า 70% มีโอกาสทำให้ อ.เชียงคาน อ.ศรีเชียงใหม่ มีน้ำเพิ่มสูงขึ้นล้นตลิ่ง ไปถึง 1.5 - 2.5 เมตร เพราะฉะนั้นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ระวังมวลน้ำในช่วงวันดังกล่าว

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อม รายการเข้มข่าวเย็น Exclusive Talk
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อม

กลไกรัฐมีอยู่แล้ว แต่คนไม่ตระหนัก

ดร.สนธิ กล่าวว่า จริง ๆ กลไกการดำเนินการของภาครัฐมีอยู่แล้ว มีศูนย์แจ้งเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แต่ในเรื่องของการเตือนภัยนั้นมีหลายหน่วยงานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมทรัพยากรธรณี สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ทุกหน่วยงานก็ต่างออกประกาศมากมาย ทว่าสุดท้ายคนไม่ตระหนัก

จริง ๆ แล้วข้อมูลทั้งหมดต้องไปที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จากนั้นแจ้งเตือนไปยังพื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ ว่าจะรุนแรงตรงจุดไหน บริเวณใด แล้วให้ลงพื้นที่จัดการ อย่างต่างประเทศจะมีการแจ้งเตือนผ่าน SMS จากหน่วยงานเดียว ยิงจากสัญญาณดาวเทียมเข้าไปหาประชาชนแบบตรง ๆ

ขณะที่ของไทยจำเป็นต้องโหลดแอปพลิเคชัน THAI DISASTER ALERT ซึ่งบางคนทำมาหากิน ขายของ ไม่รู้เรื่อง ไม่มาโหลดแอปฯ ประกอบกับไม่เคยท่วมหนักขนาดนี้มาก่อน ซึ่งจริง ๆ ต้องมีการแจ้งว่าจุดนั้น ๆ น้ำขึ้นในระดับนี้แล้ว อันตรายแล้ว ต้องอพยพไปที่ไหนอย่างไร แต่เราจัดการช้า

โดยส่วนตัวลองตรวจสอบในศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ทางศูนย์แจ้งว่ามีการเตือนแล้ว มีหอกระจายข่าว มีการแจ้งเตือนครบ แต่กลับพบว่ามีชาวบ้านอพยพออกมาเพียง 71 คนเท่านั้น ไปยังศูนย์พักพิง 2 ที่ที่เป็นโรงเรียน นอกจากนั้นไม่ตระหนัก ขณะเดียวกันเมื่อไปสอบถามชาวบ้านก็พบว่า การแจ้งเตือนนั้นเป็นภาษาวิชาการเกินไป เขาไม่รู้เรื่อง ต้องชี้เฉพาะเจาะจงเป็นจุดไป

ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถทำได้ เพราะมีเรดาร์และระบบดาวเทียม แจ้งเตือนได้ในระยะเวลา 2 วัน อีกทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถออกประกาศกระจายเสียงเพื่อแจ้งเตือนได้เช่นกัน

มีหน่วยงานรัฐมากเกิน ต้องผ่านหลายขั้นตอน

นายชวลิต กล่าวว่า ไทยมีหน่วยงานที่เข้าไปเกี่ยวข้องมากไปหน่อยหนึ่ง ซึ่งก็ทำงานในขอบเขตหน้าที่ของตนเอง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งเตือนว่าจะมีพายุยางิเข้ามา ระวังในจุดต่าง ๆ ชาวบ้านก็เห็นแค่ว่า สีแดง อันตรายนะ ต่อมา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เอามาวิเคราะห์ต่อว่า ฝนแบบนี้ ลำน้ำเส้นไหนเสี่ยง ก็เร่งทำแผนที่ออกมา

จากนั้นก็นำแผนที่ส่งไปยังสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ให้ทุกหน่วยเตรียมพร้อมมุ่งเป้าไปยังจุดที่มีความเสี่ยง ซึ่งอาจจะมีบ้างที่จะติดขัดเรื่องงบประมาณบ้าง เพราะแต่ละพื้นที่ต้องว่ากันตามแต่ละพื้นที่ไป โดยเฉพาะบางพื้นที่ที่ยังไม่มีประกาศเป็นเขตสาธารณภัย ก็จะไม่มีงบประมาณ ซึ่งหากจะเบิกงบประมาณได้ ต้องมีเหตุ พอเหตุมาก็ไม่ได้อพยพออกก่อน

หากเราไปมองประเทศเวียดนาม พบว่า ของเวียดนามเป็นภาคบังคับ แม้จะบังคับได้บ้างไม่ได้บ้างแต่ก็ถือว่ามีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง เนื่องจากเขาประสบปัญหาสภาวะแบบนี้มาเยอะ พื้นที่อันตรายอยู่ไม่ได้ ขณะที่ประเทศไทยเองก็มีปฏิบัติการช่วยเหลือ แต่ก็ต้องได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านด้วย เช่น วางตำแหน่งให้ชัดเจนว่าจะย้ายคน ย้ายของไปยังจุดไหน ให้มีการซ้อมล่วงหน้าไว้

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล คุณสนใจหรือไม่?

alt="ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อม"

ไอน์ทรัค แฟร้งค์เฟิร์ต

VS
alt="ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อม"

บาเยิร์น มิวนิค

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ