นักอาชญวิทยาชี้ท่าทีรุ่นพี่โหดเปลี่ยนไป หวังคู่กรณีเห็นใจ-กลัวติดคุก!

โดย PPTV Online

เผยแพร่

นักอาชญวิทยา เชื่อรุ่นพี่ LGBTQ+ สาดน้ำร้อน-ทำร้ายร่างกายรุ่นน้อง พยายามไกล่เกลี่ย-หวังให้คู่กรณีเห็นใจ กลัวถูกจำคุก

จากกรณี รุ่นพี่ LGBTQ+ สาดน้ำซุปร้อนๆ ใส่รุ่นน้อง รวมทั้งมีการทำร้ายร่างกายรุ่นน้องหลายกรณี ซึ่งหลังจากผู้ก่อเหตุถูกจับ  มีการตั้งข้อสังเกตุว่าผู้ต้องหามีท่าทีแตกต่างไปจากตอนที่ทำร้ายร่างกายรุ่นน้อง บางครั้งแสดงท่าทีนอบน้อมกับญาติผู้เสียหายนั้น

ล่าสุดทีมข่าวคุยกับนักอาชญวิทยา วิเคราะห์ท่าทีและพฤติกรรมของกลุ่มผู้ต้องหา มองว่าพยายามไกล่เกลี่ย อยากให้คู่กรณีเห็นใจ เพราะกลัวว่าหากศาลพิพากษาให้จำคุกจะขาดอิสรภาพ

คอนเทนต์แนะนำ
รวบ “โอชิ-พีม” รุ่นพี่ LGBTQ โหด โดน 3 ข้อหาหนักส่งศาลฝากขังพรุ่งนี้
เหยื่อแฉ! รุ่นพี่โหดเตรียมแพ็กเกจเสี่ยงตาย สุ่มดวงกินไซยาไนด์-น้ำยาล้างห้องน้ำ
รวบ “พิมเจล” รุ่นพี่สาดน้ำซุป ม.ดังย่านรังสิต

นักอาชญวิทยา รายการเที่ยงทันข่าว
พ.ต.ท. ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล รองอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาฯ มหาวิทยาลัยรังสิต

โดย พ.ต.ท. ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล รองอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาฯ มหาวิทยาลัยรังสิต วิเคราะห์ว่า ส่วนใหญ่กลุ่มที่มีการรวมตัวกันทำในสิ่งที่ผิดหรือละเมิดกฎหมาย กลุ่มคนเหล่านี้มักเป็นคนที่มีความชอบหรือมีรสนิยมคล้ายกันถึงมารวมตัวกันได้ เวลารวมตัวกันก็จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากกว่าอยู่คนเดียว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแก๊งหมู่ ขณะเดียวกันหากอยู่ตัวคนเดียวหรืออยู่กับกลุ่มเพื่อนไม่เยอะ พฤติกรรมหรือการแสดงออกก็จะต่างจากตอนที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

ส่วนท่าทีของผู้ต้องหาหลังถูกตำรวจจับกุม ทุกคนจะใช้มือปิดบังใบหน้าหรือใช้ผ้าคลุมศีรษะ ค่อนข้างอายไม่กล้าสบตาหรือตอบคำถามสื่อมวลชน ต่างจากพฤติกรรมขณะทำร้ายร่างกายคนอื่น ซึ่ง พ.ต.ท. ดร.กฤษณพงค์ บอกว่าท่าทางแบบนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเรื่องดังกล่าวประชาชนให้ความสนใจ โลกโซเชียลพูดถึงเยอะ เชื่อว่าผู้ต้องหาเสพสื่อมาพอสมควร ย่อมส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของพวกเขา ทำให้รู้สึกว่าต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

รุ่นพี่โหด รายการเที่ยงทันข่าว
รุ่นพี่ LGBTQ+ สาดน้ำร้อน-ทำร้ายร่างกายรุ่นน้อง

นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าผู้ต้องหาที่ถูกจับมีท่าทีอ่อนน้อมกับตำรวจและพ่อแม่ของผู้เสียหายนั้น พ.ต.ท. ดร.กฤษณพงค์ บอกว่า คนเราเวลาทำผิดมักไม่ค่อยคิด แต่พอเวลาถูกจับกุมหรือใส่กุญแจมือ ถูกตำรวจประกบ ก็จะเริ่มคิดได้ โดยเฉพาะเมื่อเข้าไปอยู่ในเรือนจำและศาลมีคำพิพากษาให้จำคุกก็จะเริ่มรู้สึกว่าขาดอิสรภาพ ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ตรงนี้จึงมีผลที่ทำให้ผู้ต้องหารู้สึกว่าถูกลงโทษ และสุดท้ายก็ต้องการเจรจาไกล่เกลี่ย กับญาติของผู้เสียหาย ต้องการให้คู่กรณีเห็นใจ แต่ในมุมกลับกันคือตอนทำร้ายร่างกายคนอื่นกลับไม่เห็นใจผู้เสียหาย พอคิดได้ก็สายไปแล้ว

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ