ตำรวจไซเบอร์เผย เหยื่อแก๊งคอลฯ ถูกส่งตัวกลับเพิ่ม 2,000 คน

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ตำรวจไซเบอร์เผย เมียนมาประสานส่งเหยื่อแก๊งคอลฯ กลับไทยเพิ่ม 2,000 คน พบ 90% ถูกหลอกผ่านสื่อออนไลน์ อ้างค่าตอบแทนสูง 10% มีหมายจับติดตัว

พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.)  เปิดเผยว่า จากการ ประเมินสถานการณ์แนวชายแดนหลังรัฐกดดันกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมตามแนวชายแดน หลังจากที่รัฐบาลไทยได้มีคำสั่งให้ตัดไฟที่ส่งไปไปยังประเทศเพื่อนบ้านจำนวนห้าจุดยุทธศาสตร์แก๊งคอลเซ็นเตอร์ทำให้เกิดผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรม

โดยเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์สั่งการชายแดนระหว่างไทยพม่าได้รับการประสานงานจากฝั่งอำเภอเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ทำการส่งตัวชาวต่างชาติที่เข้าข่ายถูกหลอกลวงกับเข้ามาประเทศไทย

คอนเทนต์แนะนำ
ความจริงหลังคำตัดสิน! 15 ปี "วิน โพรเสส" หนองพะวายังรอการเยียวยา
สอบสวนกลาง รวบสามีภรรยานำลูกชาย 10 ขวบ ถ่ายคอนเทนต์ 18+ ขายกลุ่มลับ
นักวิชาการ ชี้ ปราบ ‘คอลเซ็นเตอร์’ ชายแดน ไทยใช้ยาแรงได้ผล แต่ยังจบปัญหาไม่ได้

พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.) รายการเข้มข่าวค่ำ เสาร์-อาทิตย์
พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.)

ต่อมาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ส่งผ่านช่องทางการขนส่งสินค้า ที่อำเภอพบพระจังหวัดตาก จำนวน 260 คน และวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 จะส่งกลับอีกจำนวน 2,000 คนผ่านทางอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

พล.ต.ท.ไตรรงค์ เผยว่า จากตรวจสอบข้อมูลของคนไทยที่ได้รับการช่วยเหลือจากศูนย์สกัดกั้นการค้ามนุษย์ไทย-พม่า พบว่าส่วนใหญ่ถูกชักชวนผ่านสื่อออนไลน์ให้ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน โดยอ้างว่าเป็นงานที่ให้ค่าตอบแทนสูง เมื่อเดินทางไปถึงกลับถูกบังคับให้ทำงานผิดกฎหมาย เช่น หลอกลวงออนไลน์ แฮ็กข้อมูล หรือคอลเซ็นเตอร์มิจฉาชีพ หากปฏิเสธหรือพยายามหลบหนี จะถูกทำร้ายร่างกาย และรีดไถเงินค่าไถ่ตัว  

ซึ่งที่ผ่านมา ตำรวจไซเบอร์ได้รับแจ้งเหตุลักษณะนี้หลายครั้ง โดยมีญาติของผู้เสียหายร้องขอความช่วยเหลือ เพราะไม่สามารถติดต่อผู้ถูกหลอกได้เป็นเวลานาน หลังจากได้รับแจ้งเบาะแส หน่วยงานความมั่นคงของไทยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ประเทศเพื่อนบ้าน จนสามารถช่วยเหลือผู้เสียหายออกมาได้ และดำเนินการส่งตัวกลับไทยเรียบร้อยแล้ว

โดยกระบวนการส่งตัวมีการตรวจสอบประวัติ และให้ผู้เสียหายให้ปากคำเกี่ยวกับเครือข่ายมิจฉาชีพที่เกี่ยวข้อง โดย 90% ของผู้ถูกช่วยเหลือเป็นเหยื่อที่ถูกหลอกมาทำงานผิดกฎหมาย มีเพียง 1 คนเท่านั้นที่มีหมายจับติดตัว ซึ่งเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

พล.ต.ท.ไตรรงค์ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นยังอยู่ในการรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามเหยื่อทั้งหมด 260 คน รวมถึงตรวจสอบข้อมูลโทรศัพท์ หากพบมีการกระทำความผิดหลอกลวงประชาชนคนไทย ก็จะดำเนินคดี แต่ว่าเบื้องต้นตามข้อมูลที่มีเป็นกลุ่มแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่หลอกประเทศอื่น เช่น ประเทศจีน และอินเดีย ยังไม่พบข้อมูลว่าเป็นกลุ่มแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่หลอกประชาชนคนไทย

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ