คดีนี้ผู้ฟ้องคดี (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) ฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลรักษา และ พัฒนาที่ดินพุทธมณฑล เนื้อที่ประมาณ 2,500 ไร่ ซึ่งเป็นศาสนสมบัติของพระพุทธศาสนา และเป็น ศาสนสมบัติกลางตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย
จากการที่ผู้ถูกฟ้องคดี (กรมธนารักษ์) จะนำที่ดินแปลงดังกล่าวขึ้นทะเบียนที่ราชพัตุและเข้าปกครองดูแลที่ราชพัสดุแปลงนี้ตามมาตรา 8 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562
จึงขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีระงับการขึ้นทะเบียนที่ดินพุทธมณฑล เนื้อที่ 2,500 ไร่ เป็นที่ราชพัสดุเนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นที่ศาสนสมบัติกลาง อันเป็นทรัพย์สินของพระพุทธศาสนา
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 7) ได้มีความเห็นตามเรื่องเสร็จที่ 329/2563 เรื่อง สถานะของที่ดินพุทธมณฑล สรุปได้ว่า พุทธมณฑลเป็นที่ดินที่ใช้ใช้ในกิจการของรัฐด้านพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม การใช้พื้นที่มีความหลากหลาย มิได้จำกัดเฉพาะกิจการของคณะสงฆ์หรือพระศาสนาเท่านั้น และการดำเนินการสร้างพุทธมณฑลในอดีดได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีมาโดยตลอด
โดยใช้การบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นหลายชุดเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสร้างพุทธมฑล แม้การใช้ประโยชน์พุทธมณฑลจะมีลักษณะเปิดกว้างไว้ สำหรับเพื่อบริการประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่พุทธมณฑลก็มิได้จัดสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของพลเมืองโดยตรง
แต่จัดสร้างขึ้นและใช้ประโยชน์เพื่อกิจการของรัฐด้านพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ที่ดินพทธมณฑลจึงมิใช่ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เว้นแต่บริเวณคลองนา (สาธารณประโยชน์) และไม่เข้าลักษณะเป็นศาสนาสมบัติกลางตามมาตรา 40 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 เนื่องจากเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่รัฐจัดสร้างขึ้น
ดังนั้น ที่ดินพุทธมณฑลจึงเป็นทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามมาตรา 1304 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นที่ราชพัสดุดามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518และเป็นที่ราชพัสดุตามมาตรา 6 (2) แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562เว้นแต่บริเวณคลองนา(สาธารณประโยชน์) ที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครปฐมจึงได้ดำเนินการสำรวจรังวัดและจัดทำแผนที่แสดงรายละเอียดการใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุแปลงพุทธมณฑลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐปฐม พร้อมทั้งรายงานให้ผู้ถูกฟ้องคดีทราบ และมีหนังสือถึงสำนักงานพุทธมณฑล เพื่อขอให้สำรวจรายการที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินราชพัฒแปลงพุทธมณฑลขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ ตามแบบรายการส่ง - รับที่ราชพัสดุขึ้นทะเบียน (แบบ ทร 03, 04) จัดส่งให้สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครปฐม เพื่อดำเนินการรับขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุต่อไป
ศาลปกครองกลาง พิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ข้อทั้งจริงปรากฎว่า พุทธมณฑลสร้างขึ้นตามเจตนารมณ์เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเฉลิมฉลองงาน25 พุทธศตวรรษ โดยพิจารณาได้จากปูชนียสถานที่สร้างขึ้นขึ้นในพุทธมณฑลล้วนแต่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ส่วนในการจัดหาที่ดินนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับซื้อที่ดินของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จำนวน 135ไร่ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ทั้งได้มีประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธาบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินถวายเป็นพุทธบูชาและร่วมสมทบในการสร้างพระพุทธรูปและพุทธมณฑลแล้ว เป็นเงินจำนวน2,764,256.82 บาทรวมถึง ฯพณฯ อนุ นายกรัฐมนตรีพม่า ได้มอบเงินให้จำนวน 50,000 จาด
นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการจำหน่ายพระเครื่อง พระพุทธรูป แสตมป์ ปฏิทินและเสมาที่ระลึก โดยเป็นการร่วมแรงร่วมใจในการจัดสร้างพุทธมณฑลตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย จนรวบรวมที่ดินได้จำนวน 2,205 ไร่ 96 ตารางวา ที่ดินที่ได้มาดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีผู้ถวายให้แก่พระศาสนา แต่ปรากฏว่ายังขาดอีกจำนวน 294 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา จึงจะครบ 2,500 ไร่ ตามที่กำหนดไว้ รัฐบาลจึงได้มีการเวนคืนที่ดินจำนวนที่ยังขาดอยู่ แต่ก็เพื่อให้การดำเนินการจัดสร้างพุทธมณฑลสำเร็จลุล่วงตามเจตนารมณ์เท่านั้น หาได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำที่ดินไปไช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามกฎหมายแต่อย่างใด กรณีจึงต้องถือว่า
เจตนารมณ์ทั้งของสถาบันพระมหากษัตริย์ รัฐบาล และประชาชนชาวไทยในการจัดซื้อและจัดหาที่ดินเนื้อที่ รวม 2,500 ไร่ จัดสร้างพุทธมณฑลก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและอุทิศให้พระพุทธศาสนา ดังนั้น ที่ดินพุทธมฑลจึงเป็นทรัพย์สินของพระศาสนา เมื่อได้พิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว จึงรับฟังเป็นยุติว่า พุทธมณฑล เป็นพุทธสถานที่ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา ประกอบกับเมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าที่ดินพุทธมณฑลเป็นทรัพย์สินของพระศาสนา และเมื่อที่ดินดังกล่าวมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง
ดังนั้น ที่ดินพุทธมณฑลจึงเป็นศาสนสมบัติกลาง ตามมาตรา 46 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จัดตั้งพุทธมณฑล และตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติดณะสงฆ์ พ.ศ. 2505ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ที่มีผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการ รวมทั้งเป็นเจ้าของตามมาตรา 40 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว อันเป็นที่ดินที่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติยกเว้นไว้ไม่ให้ถือบันที่รารพัสดุ
ทั้งนี้ ตามมาตรา 9 (3) แห่งพระรารบัญญัติที่ที่ราชพัฒ พ.ศ. 2562 เมื่อได้วินิจฉัยมาแล้วว่า ที่ดินพทธมณฑลเป็นทรัพย์สินของพระศาสนาอันเป็นศาสนสมบัติกลางมิใช่ที่ราชพัสดุตามกฎหมายที่ราชพัสดุ ฉะนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 17 และมาตรา 18 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบข้อ 6 (16) ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา และการใช้ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2546 ให้ผู้ฟ้องคดีทำการสำรวจรังวัดและจัดทำแผนที่รายละเอียดที่ราชพัสดุแปลงพุทธมณฑลพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แล้วนำส่งขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุและบริหารจัดการพื้นที่ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ราชพัสดุแต่อย่างใด
ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องดีโดยสำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครปฐมได้มีหนังสือให้ผู้ฟ้องคดีสำรวจรังวัด และจัดทำแผนที่รายละเอียดที่ราชพัสดุแปลงพุทธมณฑลพร้อมสิ่งปลูกสร้าง นำส่งขึ้นทะเบียนที่ราชพัฒและบริหารจัดการพื้นที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย และได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีสำรวจรายการที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุแปลงพุทธมณฑลขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุตามแบบรายการส่ง - รับที่ราชพัสดุ์ขึ้นทะเบียนจัดส่งให้สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครปฐมเพื่อดำเนินการรับขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุต่อไป จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พิพากษาห้ามมีให้ผู้ถูกฟ้องคดีนำที่ดินพุทธมณฑล เนื้อที่ 2,500 ไร่ ขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุคำขออื่น นอกจากนี้ให้ยก