สภาการศึกษา โต้เว็บดังจัดอันดับ “คุณภาพการศึกษาไทย” อยู่ 107 ของโลก

โดย PPTV Online

เผยแพร่

เลขาธิการสภาการศึกษา โต้เว็บไซต์ดัง จัดอยู่อันดับ 107 ของโลกไม่ได้สะท้อนคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง เพราะไม่ระบุถึงตัวชี้วัดที่ใช้จัดอันดับ

วันที่ 23 มี.ค. 2568 รศ.ประวิต เอราวรรณ์  เลขาธิการสภาการศึกษา โพสต์รายละเอียดถึงประเด็น "การศึกษาไทยวิกฤต อยู่อันดับ 107 ของโลก มีใจความว่า World Population Review เป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรของประเทศต่าง ๆ เป็นหลัก และยังมีการให้ข้อมูลด้านอื่น ๆ อาทิ เศรษฐกิจ สุขภาพ และการศึกษา โดยในด้านการศึกษามีการจัดอันดับประเทศต่าง ๆ จำนวน 203 ประเทศ โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 107 ซึ่งเป็นอันดับที่ต่ำกว่าประเทศลาว

คอนเทนต์แนะนำ
ฟินแลนด์แนะโรงเรียนจำกัดการใช้มือถือ หนุนเรียนไร้สิ่งรบกวน
กรุงเทพฯ ติดอันดับ 2 “เมืองอาหารยอดเยี่ยมที่สุดในโลก 2025”

การศึกษา FB/ประวิต เอราวรรณ์
รศ. ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการสภาการศึกษา

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ดังกล่าว จะพบว่า ผลการจัดอันดับอาจไม่ได้สะท้อนคุณภาพการศึกษาของประเทศต่างๆ อย่างแท้จริง และอาจสรุปไม่ได้ว่าประเทศไทยมีคุณภาพการศึกษาที่น้อยกว่าประเทศลาว หรือประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน โดยมีข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ ดังนี้

  • การจัดอันดับด้านการศึกษาดังกล่าวไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบตัวชี้วัด และระเบียบวิธีการจัดอันดับไว้ โดยกล่าวไว้แต่เพียงว่า การจัดอันดับดังกล่าวใช้ข้อมูลจากการสำรวจ The annual BestCountries Report ที่จัดทำโดย US News and World Report, BAV Group, was the Wharton School of the University of Pennsylvania, โดยเป็นการสำรวจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจาก 78 ประเทศ ดังนั้น ผลการจัดอันดับที่ปรากฎจึงไม่ได้สะท้อนคุณภาพของระบบการศึกษาของแต่ละประเทศอย่างแท้จริง เป็นเพียงการให้ความเห็นทางด้านการศึกษาจากผู้มีส่วนได้เสียมากกว่า
  • สมมติฐานที่ใช้ในการจัดอันดับด้านการศึกษาดังกล่าว อยู่บนหลักคิดที่ว่า" คุณภาพของการจัดการศึกษามีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยประเทศที่กำลังพัฒนาจะมีการจัดการศึกษาที่ดีกว่าประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า และประเทศที่พัฒนามากที่สุดก็จะมีการจัดการศึกษาที่ดีที่สุด ตามไปแล้ว ซึ่งจากสมมติฐานที่ใช้หลักการในการจัดอันดับด้านการศึกษาอาจทำให้การจัดอันดับที่ปรากฎไม่ได้สะท้อนคุณภาพของการศึกษาอย่างแท้จริง
  • อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ดังกล่าวยังมีการให้ข้อมูลสถิติทางการศึกษาตัวอื่นที่สะท้อนให้เห็นคุณภาพการศึกษามากกว่าผลการจัดอันดับที่ได้กล่าวมา คือ ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับอัตราการรู้หนังสือ (LiteracyRate) (แต่ไม่ปรากฎที่มาของแหล่งข้อมูล) ซึ่งประเทศไทยมีอัตราการรู้หนังสือได้อยู่ที่ 94% ซึ่งเมื่อนำมาจัดอันดับแล้วจะอยู่ประมาณอันดับที่ 84 จากทั้งหมด 203 ประเทศ ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศด้านในกลุ่มอาเซียน อาทิ มาเลเซีย (95%) ฟิลิปปินส์ (9696) อินโดนีเซีย (96%) เวียดนาม (96%) สิงคโปร์ (97%) บรูไน (98%) ขณะที่ประทศอื่น ๆ ในอาเชียน มีอัตราการรู้หนังนังสือน้อยกว่าประเทศไทยทั้งสิ้น โดยข้อมูลอัตราดังกล่าวเป็นข้อมูล ปี 2021 ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมกับกรมส่งเสริมการเรียนรู้ได้มีการสำรวจอัตราการรู้หนังสือของประเทศไทยในเดือนมีนาคม 2568 ซึ่งมีอัตราการรู้หนังสือของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 99 % ซึ่งหากใช้ข้อมูลดังกล่าวจะถือว่าประเทศไทยมีอัตราการรู้หนังสือเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน

สรุป

1. การจัดอันดับดังกล่าวไม่ได้สะท้อนให้เห็นคุณภาพการศึกษาของแต่ละประเทศอย่างแท้จริง เนื่องจากไม่มีการระบุถึงตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดอันดับ และข้อมูลที่ใช้มาจากผลการสำรวจความคิดเห็น ดังนั้น ผลการจัดการอันดับดังกล่าวจึงสะท้อนให้เห็นถึงความคิดเห็นต่อระบบการศึกษามากกว่า

2. หากพิจารณาอันดับการศึกษาโดยใช้ข้อมูลอัตราการรู้หนังสือของประชากรของประเทศไทยในปีปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบจะพบว่าประเทศไทยจะอยู่ในอันดับประมาณ 23 ของโลก และเป็นอันอันดับ 1 ของอาเชียน ดังนั้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งของประเทศไทย คือ การจัดทำระบบฐานข้อมูลทางการศึกษาที่ ต้องเร่งพัฒนาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นปัจจุบันให้มากที่สุด เพื่อที่หากมีการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการจัดอันดับ ก็จะทำให้ผลการจัดอันดับของประเทศไทยดีขึ้น และสะท้อนสภาวะการศึกษาไทยอย่างแท้จริง

 

การศึกษา FB/ประวิต เอราวรรณ์
สภาการศึกษา

การศึกษา FB/ประวิต เอราวรรณ์
สภาการศึกษา

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ