"ดร.เสรี ศุภราทิตย์" แชร์ประสบการณ์เผชิญแผ่นดินไหว เตือนอาคารต่ำกว่า 5 ชั้น เสี่ยงอันตราย

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ผู้เชียวชาญ แนะประชาชนอย่าตื่นตระหนก เมื่อเกิดแผ่นดินไหว พร้อมเตือนอาคารต่ำกว่า 5 ชั้น เสี่ยงได้รับผลกระทบมากที่สุด ชี้แผ่นดินไหวคาดการณ์ไม่ได้ แต่สามารถเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดอย่างปลอดภัย!

วันที่ 28 มี.ค.2568 นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เกิดอะไรขึ้นแผ่นดินไหวรุนแรง จงเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันอย่างปลอดภัย ?

หลายๆท่านส่ง message มาหาผมว่า อจ.อยู่ที่ไหน อยู่ต่างประเทศหรือปล่าว ? คำตอบคืออยู่ประเทศไทย อยู่ในเหตุการณ์ อยู่ในอาคารศูนย์ราชการ (รูปแนบ) ผมกำลังมีบรรยาย online ให้กับนักศึกษาฟัง และกำลังจะไปบรรยายให้กับสภาความมั่นคง ชั้น 7 ประมาณ 14.30 น. 

คอนเทนต์แนะนำ
คู่มือสำรวจความเสียหายเบื้องต้น หลังแผ่นดินไหวอาคาร - โครงสร้างเสียหายระดับไหน
ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นเผย แผ่นดินไหวเมียนมาเป็น “แผ่นดินไหวคลื่นยาว”
เช็กเลย! 16 รอยเลื่อนยังมีพลังในไทย โอกาสเกิดแผ่นดินไหวที่ไหนบ้าง

แผ่นดินไหว FB / รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์
"ดร.เสรี ศุภราทิตย์" แชร์ประสบการณ์เผชิญแผ่นดินไหว เตือนอาคารต่ำกว่า 5 ชั้น เสี่ยงอันตรายหนัก

ได้รับโทรศัพท์จากภรรยาที่ ม.รังสิต (เขาอยู่ชั้น 10) ว่าแผ่นดินไหว อยู่ในภาวะตระหนก ผมจึงรีบบอกให้มุดใต้โต๊ะ ยังไม่ทันวางหู ผมก็รู้สึกสั่นไหวตามมาทันที 

ด้วยสัญชาตญาณนักเรียนเก่าญี่ปุ่นจึงหลบใต้โต๊ะกาแฟ Amazon ด้วยความีสติ (ดูหน้าผมแทบไม่รู้สึกว่าอะไรเกิดขึ้น) แต่ทุกคนในร้าน ทุกคนชั้นล่างศูนย์ราชการฯวิ่งออกไปด้านนอกกันหมด มีเศษวัสดุตกลงมามากมาย 

ทำไมผมยังอยู่ใต้โต๊ะกินเวลากว่า 10 นาทีจนกระทั่งพนักงานในร้านที่วิ่งหนีออกไปกลับมาถามผมว่า "ทำไมไม่วิ่งออกไป ?" สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อคืออาคารสาธารณะต้องออกแบบรับแรงแผ่นดินไหว ตามกฎกระทรวงฯ รวมทั้งอาคารสูงใน ม.รังสิต (ถ้าผมอยู่ในอาคารที่ไม่ใช่สาธารณะ และต่ำกว่า 5 ชั้นผมต้องวิ่งแน่นอน) มันอันตรายมากถ้าคุณวิ่งออกไป หรือวิ่งลงมาจากอาคารสูง (ลองจินตนาการ ถ้าคุณอยู่ชั้น 20 กว่าจะวิ่งลงมาชั้นล่าง หัวใจจะวายก่อนจริงไหม) หลังเกิดเหตุ ผมต้องรีบประเมินความรุนแรง และความเสียหายทันทีตามรูปแนบ โทรศัพท์ Internet ติดขัดอยู่บ้าง ต่อการทำงานพอควร แต่ก็ทำงานได้ครับ

คอนเทนต์แนะนำ
สรุปผลตรวจตึกใน กทม. 155 แห่ง โซนสีแดงห้ามใช้ 2 แห่ง สีเหลือง 33 แห่ง
รู้จัก “ตึกเต้าหู้” โครงการก่อสร้างคุณภาพต่ำ แตกเละง่ายเหมือนเต้าหู้
หมอเผย “โรคสมองเมาแผ่นดินไหว” อาการเวียนหัวไม่หายหลังเหตุแผ่นดินไหว

ประการแรก ขนาดแผ่นดินไหวระดับนี้ในรอบเกือบ 100 ปี หลังจากการเกิดในปี 2473 ทุกคนจึงบอกไม่เคยเจอในชีวิต มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คนในครั้งนั้น ความสูญเสียครั้งนี้จะตามมาอย่างแน่นอน (โดยเฉพาะในเมียนมา) ในพื้นที่ กทม. รับรู้ความรู้สึกว่ารุนแรง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของแอมพลิจูดการสั่นไหว (จากชั้นดินอ่อน) ถึง ประมาณ 3 เท่าตัว จึงเกิดความเสียหายกับอาคารบางหลัง แต่อาคารสูงต้องออกแบบต้านทานแผ่นดินไหวตามกฎกระทรวงฯ จึงไม่ต้องกังวล สิ่งที่น่ากังวลคืออาคารต่ำกว่า 15 เมตร หรือ 5 ชั้น เช่น อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว ที่กฎกระทรวงฯไม่ครอบคลุม รวมทั้งอาคารสูงเก่าๆที่สร้างก่อนกฎกระทรวงเริ่มประกาศใช้ (เข้าใจว่าประมาณก่อนปี 2550)

แผ่นดินไหวคาดการณ์ไม่ได้ ผมจึงได้ฝากแนวปฏิบัติสำหรับพวกเราชาวบ้านทั่วไป จะเอาตัวรอดได้อย่างไร ลองศึกษาดูน่ะครับ บางครั้งเราอาจจะรู้สึกว่าทำยาก แต่เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับแผ่นดินไหวน่ะครับ เป็นกำลังใจให้ทุกท่าน รวมทั้งตัวเองด้วยครับ

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ