“ส้วม” ใครว่าไม่สำคัญ 19 พ.ย.วันส้วมโลกกับการใช้ห้องสุขาวิถีใหม่
เผยแพร่
ปรับปรุงล่าสุด
เปิดโพลคนนิยมใช้ห้องสุขาที่ไหนมากที่สุด และในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การเข้าส้วมสาธาณะในรูปแบบ New normal มีความจำเป็นมากขึ้น ขณะเดียวกันในภาพกว้างคนเกือบ 5,000 คนยังเข้าไม่ถึงห้องสุขาที่ถูกสุขอนามัยส่งผลต่อการปล่อยของเสียสู่สภาพแวดล้อม และในภาพกว้างกว่านั้น "การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกยังมีผลต่อส้วม" อีกด้วย

องค์การสหประชาชาติ อนุมัติให้ทุกวันที่ 19 พ.ย. ของทุกปีเป็นวัน วันส้วมโลก (อังกฤษ: World Toilet Day; WTD) โดยมีจุดประสงค์เพื่อตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภิบาลของคนทั่วโลก ซึ่งพบว่ามีเกือบ 5,000 ล้านคนที่มีส้วมไม่ได้มาตรฐาน โดยระบุว่า การเข้าห้องส้วมที่ปลอดภัย ล้วนมีผลต่อสุขภาพ ความเป็นส่วนตัว และศักดิ์ศรีของคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มสตรี
7 New Normal ที่อาจได้เห็นในสังคมไทยในวันที่ โควิด-19 หายไป
ระบบสุขาภิบาลที่ไร้มาตรฐานจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น โรคอหิวาตกโรค, ท้องร่วง, ไทรฟอร์ย, โรคบิด และโรคพยาธิใบไม้ในเลือด ซึ่งมีผู้ป่วยเป็นโรคท้องร่วงกว่า 892 ล้านคนทั่วโลกที่เป็นโรคนี้
ซึ่งในปี 2563 วันส้วมโลกมาภายใต้ธีม “ส้วมสาธารณะวิถีใหม่เพื่อทุกคน” (The New Normal Public Toilet for All) ภายใต้สถานการณ์โลกที่กำลังเผชิญกับโรคโควิด 19 ส่งผลให้การดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนไป
ส้วมสาธารณะจึงต้องมีการพัฒนาเพราะเป็นจุดที่มีความเสี่ยงจากการสัมผัสเชื้อโรคที่ออกมาจากสารคัดหลั่งในร่างกาย ซึ่งอาจปนเปื้อนอยู่พื้นผิวสัมผัสร่วมต่าง ๆ หรืออากาศภายในห้องส้วม จนส่งผลต่อการ ติดเชื้อและเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง บิด ไทฟอยด์ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ พยาธิหรือไข่พยาธิที่อยู่ในอุจจาระเข้าสู่ร่างกาย
ชาวคองโกเกือบทั้งประเทศขาดแคลนห้องน้ำถูกสุขอนามัย
จากผลสำรวจ อนามัยโพลออนไลน์ เรื่องการใช้ส้วมสาธารณะของประชาชน พบว่า ส้วมที่เลือกใช้บริการมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง (ปั๊มน้ำมัน) ร้อยละ 68 รองลงมาคือ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ร้อยละ 58.5 และโรงพยาบาล ร้อยละ 21.6 ตามลำดับ
โดยเหตุผลที่ประชาชนเลือกใช้ส้วมสาธารณะลำดับแรกคือ ความสะอาด ซึ่งผลสำรวจยังคงพบว่า ส้วมสาธารณะที่สะอาดที่สุด คือ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และรองลงมา คือ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
การใช้ส้วมสาธารณะแบบวิถีใหม่ The New Normal Public Toilet for All ผู้ให้บริการต้อง เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดห้องส้วมและบริเวณผิวสัมผัสร่วม ได้แก่ สายฉีดชำระ ที่กดโถส้วม โถปัสสาวะ ลูกบิดหรือกลอนประตู ที่รองนั่งโถส้วม พื้นห้องส้วม และที่เปิดก๊อก
สำหรับผู้ใช้บริการ ต้องมีพฤติกรรมอนามัยในการใช้ส้วมอย่างถูกต้อง โดยปิดฝาโถส้วมก่อนกดชักโครกทุกครั้ง เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโรค
เว้นระยะห่างในขณะรอใช้ส้วมสาธารณะ 1-2 เมตร
ไม่ขึ้นไปเหยียบบนโถส้วมแบบนั่งราบ
เช็ดฆ่าเชื้อก่อนนั่งลงบนโถส้วม
ไม่ทิ้งวัสดุใด ๆ ลงในโถส้วม
ล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด อย่างน้อย 20 วินาที ทุกครั้งหลังใช้ส้วม
นอกจากนั้นแล้ว ในภาพกว้าง ห้องส้วม ยังเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกด้วย เพราะเมื่อเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆ ห้องส้วม ถังบำบัดของเสียไปจนถึงโรงบำบัดจะถูกทำลาย ส่งผลให้ของเสียของมนุษย์แพร่กระจายไปสู่แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย เช่น เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วม ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยขึ้นเมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงขึ้น เกิดภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
กรมอนามัยแนะวิธีทำส้วมเอาตัวรอดช่วงน้ำท่วม
ประชากรในโลกราว 4,200 ล้านคน อยู่อาศัยโดยไม่มีห้องส้วมที่ถูกสุขอนามัยและมักใช้ห้องส้วมแบบเปิด ของเสียจากมนุษย์ที่กระจายออกไปสู่สิ่งแวดล้อม เป็นบ่อเกิดโรคร้ายแรง โดยเฉพาะกับแหล่งน้ำ ซึ่ง 80% ของน้ำเสียที่เกิดจากการปล่อยของเสียลงสู่ไหลกระบบนิเวศโดยไร้กระบวนการบำบัดบำบัดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
ทั้งที่น้ำเสียและตะกอนจากห้องส้วมล้วน เต็มไปด้วย น้ำ สารอาหาร และพลังงานที่มีคุณค่า ที่สามารถทำให้เกิดประสิทธิผลในด้านการเกษตร
ดังนั้นการจัดการระบบสุขภิบาลที่ยั่งยืน ต้องเริ่มต้นที่ห้องส้วมที่สามารถรองรับของเสียจากมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นของเสียจะถูกเก็บไว้ในถังรองรับที่สามารถนำไปทิ้งได้ในภายหลังโดยบริการจัดเก็บหรือขนส่งทางท่อ จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอน การบำบัดและกำจัดอย่างปลอดภัย หรือนำไปใช้ในด้านการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพได้
ข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข / https://www.worldtoiletday.info/วิกิพีเดีย
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline
ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> www.pptvhd36.com/tags/ข่าววันนี้