ไม่ปวดฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม?

โดย BDMS Wellness Clinic

เผยแพร่

เมื่อพูดถึง “ฟันคุด” หลายคนนึกถึงอาการปวด บวม และการผ่าฟันคุดที่ยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการถอนฟันปกติ​

(ข่าวแนะนำ)

“ฟันสึก” ปัญหาใหญ่ใกล้ตัว พฤติกรรมแบบนี้ต้องเลิกทำ!!

Check Up! ตรวจก่อนเสี่ยง เลี่ยงโรคร้ายง่ายนิดเดียว

ฟันคุด คือฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้เหมือนฟันปกติทั่วไป เนื่องจากฟันคุดมักฝังอยู่ใต้เหงือก ในกระดูกขากรรไกร หรือขึ้นพ้นเหงือกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องอาศัยการ “ผ่าตัด” เพื่อนำออก​

ฟันคุดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ทิศทางการขึ้นของฟันที่ผิดปกติ พื้นที่ของขากรรไกรที่เล็กและไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟันที่ใหญ่เกินไป หรือมีรอยโรคที่เป็นเนื้องอกหรือถุงน้ำที่ทำให้ฟันไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ โดยฟันคุดมักจะขึ้นในช่วงอายุระหว่าง 17 – 25 ปี และเกิดขึ้นได้ในฟันกรามซี่ที่สามทั้งขากรรไกรบนและล่าง แต่โดยทั่วไปฟันคุดมักจะเกิดกับฟันกรามล่างซี่ในสุด​

​เนื่องจากฟันคุดเป็นซี่ที่อยู่ด้านในสุด ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และมักมีเศษอาหารเข้าไปติดใต้เหงือกทำให้เกิดกลิ่นปาก เกิดอาการอักเสบ ติดเชื้อ ฟันผุ และโรคปริทันต์อักเสบของฟันคุดหรือฟันซี่ข้างเคียง ในกรณีนี้ควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและปรึกษาการผ่าฟันคุดทันที ​ ​

​ในความเป็นจริงแล้วการผ่าฟันคุด ไม่น่ากลัวหรือซับซ้อนอย่างที่คิด หากมีความจำเป็นต้องผ่าฟันคุด ผู้รับบริการที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคตับอักเสบ หรือหากเคยฉายรังสีบริเวณใบหน้าและลำคอมาก่อน รวมถึงยาละลายลิ่มเลือด หรือยาบำรุงกระดูกใด ๆ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนทำการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยหลังการผ่าตัดฟันคุด ผู้ป่วยจะยังมีเลือดออกอยู่เล็กน้อยในวันแรก และอาจมีอาการปวด บวมหรือช้ำในช่วง 3-4 วันต่อมา แต่หลังจากนั้นอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น และหายเป็นปกติใน 2 สัปดาห์ ​ ​

ชัดก่อนแชร์ | ผ่าฟันคุดต้องรอให้เห็นฟันขึ้นก่อน จริงหรือ? | PPTV HD 36

​หากมีฟันคุด แต่ยังไม่แสดงอาการใด ๆ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาออก เพียงหมั่นพบทันตแพทย์เพื่อประเมินอาการทุก ๆ 6 เดือน และเฝ้าระวังอาการอย่างต่อเนื่อง หากเริ่มมีอาการใด ๆ ควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อประเมินว่าควรผ่าฟันคุดหรือไม่​

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก BDMS Wellness Clinic

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ