ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวผ่านเฟซบุ๊ก นพ.ยง ภู่วรวรรณ แสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อการระบาดโควิด-19 ในมาเลเซียซึ่งมีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ ว่าจะหลุดรอดเข้ามาทางชายแดนภาคใต้
ติดเชื้อรายใหม่ พุ่ง 1,940 คร่าชีวิตอีก 21 คน หมอเผยสาเหตุติดหนัก - เกินยื้อ ทั่วโลกทะลุ 151 ล้าน
รพ.แม่สาย กักตัวบุคลากรทางการแพทย์ 88 คน หลังพบผู้ป่วยเสียชีวิต ติดโควิด
รพ.ศรีประจันต์ กักตัวบุคลากรทางการแพทย์ 35 คน หลังผู้ป่วยโควิด ปกปิดข้อมูล
ใน 5 สายพันธุ์นี้ถือว่าจะต้องระวังการแพร่ระบาดอย่างมากคือ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ B.1.351 และจากการฐานข้อมูลจำนวน 74 สายพันธุ์ในมาเลเซียพบว่าเป็น สายพันธุ์แอฟริกาใต้ B.1.351 ถึง 31% หรือประมาณ 1 ใน 3 ของมาเลเซียที่ระบาดอยู่
" สายพันธุ์นี้จึงมีโอกาสที่จะเข้ามาสู่ประเทศไทยทางภาคใต้ได้มากเพราะเรามีพรมแดนติดกัน อย่างเช่นสายพันธุ์อังกฤษระบาดหนักในประเทศไทยขณะนี้ ไม่ได้บินมา แต่เดินข้ามพรมแดนธรรมชาติ " ศ.นพ. ยง ระบุ
และสิ่งสำคัญคือ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ที่อยู่ในมาเลเซียเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่จะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง ดังนั้นไม่ควรให้สายพันธุ์นี้มาระบาดในประเทศไทยได้
สำหรับ สายพันธุ์อินเดีย การพบในประเทศไทยในสถานที่กักกันผู้ที่เดินทางมาจากอินเดียไม่ใช่เรื่องแปลกและเป็นเรื่องน่าวิตกกังวลแต่อย่างใด ทุกคนเข้ามาได้มีการตรวจ ถ้าตรวจพบก็จะกักกันจนปลอดภัยไม่ให้มาระบาดในประเทศไทย ในรูปนี้จะเป็นตัวอย่างการถอดรหัสพันธุกรรม พบสายพันธุ์อินเดียที่อยู่ในที่สถานกักกันผู้เดินทางจากต่างประเทศ
โดยสายพันธุ์อินเดียจะแยกเป็นกลุ่ม B.1.167.1, B.1.167.2, B.1.167.3 และสายพันธุ์เบงกอล (ตามรูปด้านล่าง)
และที่ตรวจพบโดยศูนย์ฯ จะเป็นสายพันธุ์ในกลุ่มที่ 2 จำนวน 2 รายและกำลังรอตรวจอีก 6 รายยังไม่ทราบผล (รูปด้านล่าง) แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใดเพราะทุกคนเข้ามาถูกต้องตามกฎเกณฑ์สามารถกักกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดในประเทศไทยได้