อดีตผอ.สถาบันวัคซีน ชี้ ไม่ควรทุ่มวัคซีนพื้นที่เดียว


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อดีตผู้อำนวยการสถาบันวัคซีน เผยหลักการจัดสรรวัคซีนในสถานการณ์ระบาดยึด 2 หลัก คือ กลุ่มเสี่ยง และลดการแพร่กระจายเชื้อ แต่ไม่ใช่ทุ่มวัคซีนไปพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง

นพ.จรุง เมืองชนะ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ให้ความเห็นถึงหลายหน่วยงานที่ออกมาแสดงความต้องการจะซื้อวัคซีนเช่น ภาคเอกชน หน่วยงานรัฐอย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือโรงพยาบาลเอกชนว่า ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะต้องยอมรับการจัดซื้อวัคซีนในระดับประเทศก็ติดขัดปัญหา ไม่มีความคล่องตัว เพราะติดปัญหา และระเบียบบางอยาง นี่จึงเป็นเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยจัดหาวัคซีนเข้ามาให้มากที่สุด เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงวัคซีนมากขึ้น 

วัคซีนมาน้อย หมอชนบทเสนอระดมฉีด กทม.ก่อน

ปธ.บอร์ด รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ตัดพ้อ ถูกเทตัดโควตาวัคซีน

 

 

 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ การจัดสรร และกระจายวัคซีนให้กับประชาชนจะเป็นไปอย่างทั่วถึง เท่าเทียมหรือไม่ ย้ำคนที่มีความเสี่ยงเท่ากัน ควรจะได้รับวัคซีนเท่าเทียมกัน ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเหลื่อมล้ำ

ส่วนการจัดสรรวัคซีนในสถานการณ์โรคระบาด นายแพทย์จรุง ระบุว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 การจัดสรรวัคซีนจำเป็นที่จะต้องยึดหลัก 2 อย่าง คือ ลดความรุนแรงอาการป่วย หรือเสียชีวิตของกลุ่มเสี่ยง และลดการแพร่กระจายเชื้อ โดยต้องมีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น ในพื้นที่กรุงเทพที่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในหลายพื้นที่ ก็ควรจะได้รับก่อน แต่ก็ไม่ใช่เทวัคซีนไปทุกพื้นที่ของกรุงเทพ ต้องพิจารณาตามสถานการณ์ระบาด เพราะขณะนี้ไม่ใช่แค่กรุงเทพที่พบการระบาด

ในกรุงเทพมหานครก็เหมือนกัน พอเราเลือกพื้นทีได้แล้วว่าเป็นกรุงเทพ เราต้องมาดูใช่ไหมครับว่า ตรงไหนที่มีปัญหามากที่สุด ตรงนั้นก็ควรจะได้รับก่อนถูกไหมครับ แล้วก็ในตรงนั้นที่หาได้แล้วก็จะต้องมาดูว่า กลุ่มไหนล่ะเสี่ยง จะตายสูง เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวไรแบบนี้ เพราะฉะนั้นข้อมูลจะเป็นตัวชี้บอก

อดีตผู้อำนวยการสถาบันวัคซีน บอกว่า สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการบริหารจัดการวัคซีน คือ การจะทำอย่างไรให้มีวัคซีนมาอยู่ในมือ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โรคระบาดที่ทุกประเทศเผชิญเหมือนกันทั่วโลก และความต้องการวัคซีนก็มีมากขึ้น สวนทางกับกำลังการผลิตที่ไม่ได้มีเพียงพอสำหรับทุกคน เพราะการวิจัยพัฒนาวัคซีนแต่ละชนิด มีขั้นตอนหลายอย่าง และเมื่อผลิตออกมาได้แล้วก็มักจะให้กับประเทศที่ฐานการผลิตตั้งอยู่ก่อน เมื่อเหลือแล้วถึงจะจำหน่ายให้ประเทศอื่น ซึ่งก็ต้องใช้การเจรจา และความสัมพันธุ์อันดีถึงจะสำเร็จ

 

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ