ยังไร้ข้อสรุปปมฉีดต่างยี่ห้อ ศบค.รอฟังความเห็นผู้เชี่ยวชาญ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผู้ช่วยโฆษกศบค. เผยยังไม่มีใครกล้าสรุปปมฉีดต่างยี่ห้อ ขอให้รอฟังความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ส่วนยอดผู้ติดเชื้อวันนี้ 2,331 ราย เสียชีวิต 40 ราย

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 (ศบค.) แถลงความคืบหน้าการแพร่ระบาดโควิด-19 ประจำวันที่ 16 มิ.ย. 2564 ว่า  ติดเชื้อโควิด-19 รวม 2,331 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อใหม่ 2,305 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 26 ราย เสียชีวิต 40 ราย หายป่วยกลับบ้าน 4,947 ราย ผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 เม.ย.)175,732 ราย หายป่วยแล้ว 140,239 ราย เสียชีวิตสะสม 1,431 รายข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563 ผู้ป่วยยืนยันสะสม 204,595 ราย  หายป่วยแล้ว 167,665 ราย เสียชีวิตสะสม 1,525 ราย

หนุ่มใหญ่โล่งอก! รพ.นครพิงค์ ยอมรับออกใบรับรองผิดพลาด ยันเข็มสองยี่ห้อ “ซิโนแวค”

วัคซีนโควิด “แอสตร้าเซเนก้า” ป้องกัน “สายพันธุ์เดลตา” ได้ในระดับที่สูง

ส่วนผู้ได้รับวัคซีนตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. - 15 มิ.ย.2564 สะสมทั้งหมด จำนวน 6,780,816 โดส โดยในวันที่ 15 มิ.ย. 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 186,164 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 83,468 ราย

พญ.อภิสมัย กล่าวถึงกรณีที่จ.เชียงใหม่ที่มีการฉีดวัคซีน 2 โดสแต่คนละยี่ห้อว่า ฉีดวัคซีนเข็มหนึ่ง และ เข็มสองคนละยี่ห้อ นอกจากคนไทยจะมีคำถามโพสต์ในโซเชียลมีเดีย ต่างประเทศก็มีข้อสงสัยเช่นกัน โดยเริ่มต้นมีที่มาจากประชาชนที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ยี่ห้อใดก็ตามแล้วเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง อันนี้ในต่างประเทศก็มีแล้ว เมื่อมีการแพ้วัคซีนยี่ห้อแรก ก็เป็นข้อห้ามไม่สามารถฉีดซ้ำเข็มสองได้ หลายประเทศจึงต้องมีการจัดหาวัคซีนคนละยี่ห้อ ซึ่งอาจจะทีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน เช่น ซิโนแวค เป็นวัคซีนเชื้อตาย ถ้ามีการแพ้ก็ย้ายไปใช้เทคโนโลยีอื่น เช่นแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อไม่ให้เกิดอาการแพ้

เมื่อมีการเก็บข้อมูลการใช้วัคซีนคนละยี่ห้อ ในทางการแพทย์ก็มีการศึกษาวิจัยให้เป็นเรื่องเป็นราว บ้านเราในหลายๆหน่วยงานกำลังศึกษาอยู่ อย่างเช่น เกาหลี หรือ สหรัฐฯ ก็มีการตั้งคำถามวิจัยแบบนี้และมีคนพยายามศึกษาอยู่ ในเบื้องต้นมีการวัดภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นทั้งคนที่ติดเชื้อโดยธรรมชาติ การใช้วัคซีนยี่ห้อใด่ยี่ห้อหนึ่งเข็มหนึ่งและเข็มสอง เหมือนกัน เทียบกันกับคนที่ฉีดเข็มหนึ่งเข็มสองคนละยี่ห้อ และมีการปฏิบัติจริง แต่ยังไม่มีใครกล้าสรุปว่าจะได้ประสิทธิภาพดีกว่า เพราะฉะนั้นการที่บริษัทผู้ผลิตทำการวิจัยมานานกว่าและ ตัวอย่างการศึกษามากกว่า สรุปว่าให้ฉีดเข็มหนึ่ง และเข็มสองเป็นวัคซีนชนิดเดียวกันซึ่งเป็นหลักการที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ แต่เรื่องของเข็มหนึ่งเข็มสองหรือเข็มสาม ตรงนี้เป็นข้อมูลที่น่าสนใจและขอให้ติดตามในรายละเอียด ขอให้ฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และทางกระทรวงสาธารณสุข

ตรวจหวย - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 มิถุนายน 2564

หมอศิริราช หวั่น "ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์" เสี่ยงเจอเชื้อกลายพันธุ์

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ