ฉีดวัคซีนครบแล้วยังติด สาเหตุที่หมอขอวัคซีนโควิดเข็ม 3


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ไขข้อสงสัยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วยังติดเชื้อ เกิดจากวัคซีนที่ฉีดสร้างภูมิกันได้ในเวลาสั้นๆ หมอชี้บุคลากรการแพทย์ควรได้เข็ม 3 กระตุ้นภูมิ

หลายคนกลายเป็นผู้ป่วยโควิด-19 แม้จะฉีดวัคซีนป้องกันครบ 2 เข็มแล้วล่าสุด คือ อดีตแชมป์โลกอย่าง “สมรักษ์ คำสิงห์” และ แพทย์ด้านภูมิคุ้มกัน จากโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ออกมาแชร์ประสบการณ์ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งที่รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มผ่านไปเพียง 2 เดือน คุณหมอวิเคราะห์ว่า เกิดจากภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่ครอบคลุมเวลาไม่นาน ทำให้มีเสียงเรียกร้องให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้บุคลากรการแพทย์เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้บุคลากรด่านหน้าที่ต้องเผชิญหน้ากับเชื้อโควิด-19 ทุกวัน

“หมอธีระวัฒน์” ชี้ ฉีดวัคซีน 2 โดสอาจไม่พอ เมื่อต้องเผชิญโควิดกลายพันธุ์

หมอ 3 สถาบัน ตอบทุกข้อสงสัย "วัคซีนต้านโควิด"

อัปเดตข้อมูล “การฉีดวัคซีนโควิด-19 สองเข็มต่างชนิดกัน” ทำได้หรือไม่?

รศ.พญ.ประภาพร พิสิษฐ์กุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม แชร์ประสบการณ์ ติดเชื้อโควิด-19 หลังรับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มไปเมื่อเดือนเมษายน ในฐานะแพทย์ด้านระบบภูมิคุ้มกัน ที่เป็นทั้งแพทย์และนักวิจัย สรุปใจความสำคัญได้ดังนี้

1.คุณหมอตรวจหาภูมิคุ้มกัน Neutralizing antibody (Nab) ของตัวเอง เพื่อจะได้เข้าใจระบบภูมิคุ้มกันของตัวเองต่อการตอบสนองต่อวัคซีน

2.หลังฉีดวัคซีน Sinovac ครบที่ 2 สัปดาห์ ตรวจระดับ NAb พบว่า สูงถึง 92.9% แต่พอติดตามไปหลังฉีดวัคซีนครบที่ 2 เดือน ค่า NAb ลดลงมาเหลือ 65.7%  และ ในช่วงที่ค่า NAb 65.7% ก็เป็นช่วงที่ตรวจ COVID-19 detected ที่ Ct 18 หรือตรวจพบเชื้อโควิด

3.คุณหมอคาดว่าการติดเชื้อนี้ได้มาจากห้องแล็ป ที่เย็น อากาศปิด นานประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ในขณะที่สวมหน้ากากอนามัย N95 แต่ไม่ใส่เฟสชิลด์ (แต่ no Faceshield) และ ก่อนหน้าที่จะเข้าไปใช้ห้องแล็ปนี้มีคนที่มาใช้เครื่องมือที่มีอาการไอค่อนข้างมากอยู่ก่อน

4.คาดว่าได้รับเชื้อจากการได้รับอาหารมาจากเคสที่ผลโควิดเป็นบวกเหมือนกัน ข้อสำคัญคือเคสที่บวกด้วยกันก็ฉีด Sinovac ครบ 2 เข็มเรียบร้อยและเช็ค NAb อยู่ที่ 60.04%

5.คุณหมอตั้งข้อสังเกต COVID 19 รอบนี้ติดง่ายมากๆ คนที่ฉีดวัคซีนครบทั้งสองคนที่มีภูมิคุ้มกันขึ้นทั้งคู่ก็สามารถติดเชื้อหรือแพร่ให้กันได้ หรือ ในที่อากาศปิดเย็นที่เคยมีคนติดโควิดแพร่เชื้อไว้ก็ยังสามารถติดได้

6.จากประสบการณ์ตรง เมื่อฉีด Sinovac ไปเพียง 2 เดือน ก็มีภูมิคุ้มกันที่ราว 30% ต่ำพอที่จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์กลายพันธุ์ได้ คุณหมอคิดว่า น่าจะโดนสายพันธุ์ Delta แน่ๆ

7.ดังนั้น Sinovac ไม่กันติดเชื้อ confirmed กับ real world data อื่นๆ ทั้งในและนอกประเทศ

8.แนะนำให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนตั้งการ์ดสูงๆเข้าไว้  ใครที่ฉีด Sinovac ไป 2 เดือนแล้ว ภูมิคุ้มกันคงเริ่มลงแล้ว

9.Sinovac กันอาการรุนแรงได้ไหม (เพราะดูจากค่า Ct ที่ 18 ก็แสดงว่าปริมาณเชื้อในตัวเราน่าจะเยอะพอควร) คุณหมอขอรายงานอาการให้ทราบอีกครั้ง

จากประสบการณ์ติดเชื้อคนของคนที่รับวัคซีนมาแล้ว รศ.พญ.ประภาพร ระบุว่า การที่จะหยุดการระบาดก็จะต้องเกิดจากการมี Herd immunity หรือสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ โดยสามารถเกิดได้ 2 ทาง

1. จากวัคซีน ซึ่งก็ต้องใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพและฉีดให้ทั่วถึง หรือ

2. ให้ติดเชื้อกันให้หมด เป็น natural selection process ใครมีสุขภาพดีภูมิคุ้มกันดีก็อยู่รอด หรือ อ่อนแอก็พ่ายแพ้ไป

พร้อมฝากไปถึงผู้บริหารประเทศ ที่ให้จัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพดีเข้ามาให้พอ มาช้าก็ดีกว่าไม่มาเลย นอกจากนี้ควร Boost หรือกระตุ้นเข็มสามให้บุคคลากรทางการแพทย์ ขอเป็นวัคซีนชนิด mRNA ที่มีประสิทธิภาพดี การจะ Boost Sinovac เข็มสามเพื่อให้ภูมิคุ้มกันขึ้นไปก็ขอให้คิดหนักๆ เพราะก็คงจะ Boost ขึ้นได้ดีจริง แต่ภูมิคุ้มกันจะอยู่นานไหม วัดจากผลเลือดของตัวเองที่ตรวจเจอว่าหลังเข็มสองก็ขึ้นไปดี 92% แล้ว แต่ก็ตกลงมาอย่างรวดเร็วเมื่อเวลาผ่านไป เพียงแค่ 2 เดือน

ส่วนประเด็นที่อาจมีผู้โต้แย้งว่าเข็มแรกคนทั่วไปยังไม่ได้ฉีดเลย เราด้อยค่า Sinovac เกินไปไหม ขอตอบเลยว่าเราให้ค่าตามจริง Sinovac อาจช่วยให้เราไม่เจ็บหนักไม่ตาย ถ้าไม่มีให้เลือกก็ฉีด Sinovac เราต้องไม่ตายก่อน แต่ก็ต้องยอมรับว่าสามารถไปแพร่เชื้อต่อให้กับคนอื่นได้อีก

โดยเฉพาะถ้าเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่รับเชื้อก็สามารถไปแพร่เชื้อให้คนป่วยได้

คำถามเรื่องการฉีดวัคซีน เข็ม 3 ก่อนหน้านี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะ​แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยตอบคำถามเรื่อง ปัญหาผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม แล้วภูมิคุ้มกันขึ้นน้อยถึงน้อยมาก ไว้ว่า เมื่อฉีดสองเข็มไปแล้ว ทางเลือก คือ เจาะเลือดวัดภูมิคุ้มกัน หรือ อาจจะต้องคิดถึงวัคซีนเข็ม 3 เลย โดยรากฐานที่ว่าซิโนแวคอาจจะกระตุ้นภูมิในระดับที่ไม่สูงนักในทุกคน ในขณะที่เราต้องสู้กับสายพันธุ์เบตา หรือ เดลตา ที่เข้าประเทศไทยมาแล้ว

ถ้าซิโนแวคสองเข็มแล้ว เข็มสามอาจจะเป็นยี่ห้ออื่น ซึ่งอาจจะเป็นยี่ห้อแล้วแต่เลือก เช่น แอสตร้าเซเนกา ไฟเซอร์ โมเดอร์นา หรือว่าจะเป็นยี่ห้อเก่า คือ ซิโนแวค ทางบริษัทผู้ผลิตก็ได้ประกาศมาว่า ถ้าฉีดเข็มที่ 3 ของซิโนแวค ก็จะได้ผลดีขึ้น แต่ต้องยอมรับว่า ซิโนแวคลักษณะของภูมิคุ้มกันระดับที่ยับยั้งไวรัสได้สูง แต่อาจจะไม่ได้สูงเท่าในวัคซีนยี่ห้ออื่น

นพ.ธีระวัฒน์ ระบุว่า ไม่มีความจำเป็นต้องวิตก สำหรับการฉีดคนละยี่ห้อ มีการศึกษาทั้งที่สเปน และ เยอรมนี ศึกษาเรื่องของการ มิกซ์แอนด์แมทช์ หรือการผสมผสานระหว่างวัคซีนต่างยี่ห้อ มีข้อมูลว่า ถ้าเริ่มต้นด้วยแอสตร้าเซเนกา ตามด้วย ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา หรือเริ่มด้วย ไฟเซอร์ โมเดอร์นา แล้วตามด้วยแอสตร้าฯ ระดับภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัสได้จะสูงกว่าธรรมดาที่แต่ละวัคซีนกระตุ้นขึ้นมา

คอนเทนต์แนะนำ
ศิริราช เผยประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ