“โควิด-19 สายพันธุ์เอปซิลอน” กลายเป็นที่พูดถึงในชั่วข้ามคืนในแถบภูมิภาคเอเชีย หลังพบการระบาดในกรุงลาฮอร์ของประเทศปากีสถาน โดยเฉพาะในอินเดียซึ่งมีพรมแดนติดกันและยังได้รับผลกระทบจากสายพันธุ์เดลตา จนเกรงว่าจะรับมือโควิด-19 อีกสายพันธุ์ไม่ไหว
แต่จุดสำคัญที่ทำให้โควิด-19 เอปซิลอนได้รับความสนใจเป็นพิเศษคือ มีการศึกษาในต่างประเทศระบุว่า “โควิด-19 เอปซิลอนลดประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ได้”
WHO ประกาศเพิ่มอีก 3 สายพันธุ์ "โควิด-19 สายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม”
รวมข้อมูลโควิด-19 สายพันธุ์ “แลมบ์ดา” อันตรายกว่า “เดลตา” จริงหรือ?
WHO ถอด “เอปซิลอน-ซีตา-ธีตา” ออกจากสายพันธุ์โควิด-19 ที่ต้องสนใจ (VOI)
แต่ก่อนจะไปพูดถึงข้อมูลดังกล่าว นิวมีเดีย พีพีทีวี ขอพาไปทำความรู้จักเบื้องต้นกับโควิด-19 สายพันธุ์นี้ก่อน
โควิด-19 สายพันธุ์เอปซิลอน มี 2 สายพันธุ์ย่อย ชื่อทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการคือ B.1.427 และ B.1.429 พบครั้งแรกในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ เมื่อเดือน มี.ค. 2020 ในช่วงแรกจึงมักเรียกว่า “สายพันธุ์แคลิฟอร์เนีย” ต่อมาเมื่อองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศวิธีเรียกชื่อสายพันธุ์ใหม่ ก็ได้ชื่อ “เอปซิลอน (Epsilon)” หรืออักษรกรีกตัวที่ 5 มา และถูกจัดระดับให้อยู่ใน “สายพันธุ์ต้องให้ความสนใจ (VOI)” ในเดือน มี.ค. 2021
โดยผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า อัตราการแพร่ระบาด เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ปกติ สูงขึ้น 18.6-24.2% ขณะที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) ก็ระบุว่า มีความสามารถในการแพร่ระบาดสูงกว่าสายพันธุ์ปกติประมาณ 20% เช่นกัน
โควิด-19 เอปซิลอน มีการกลายพันธุ์ที่น่ากังวล 5 ตำแหน่ง คือ I4205V และ D1183Y ในยีน ORF1ab และ S13I, W152C, L452R ในยีน S ของโปรตีนหนาม
เปิดแผน เช็กรายจังหวัด ส่งวัคซีนไฟเซอร์ รอบต้นเดือนส.ค.
เตรียมร่างกายให้พร้อม ไทยร่วมใจเปิดฉีดวัคซีนนอก รพ.เริ่ม 7 ส.ค.นี้
เมื่อต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา มีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันซึ่งได้รับการตีพิมพ์ ระบุว่า การกลายพันธุ์ 3 ตำแหน่งในโปรตีนหนาม (S13I, W152C, L452R) ของโควิด-19 เอปซิลอน “ลดศักยภาพแอนติบอดีของผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือภูมิที่เกิดจากการติดเชื้อ” โดยความสามารถในการต่อต้านสายพันธุ์เอปซิลอนลดลงประมาณ 2-3.5 เท่า หรือ 50-70%
การกลายพันธุ์ L452R เป็นการกลายพันธุ์ที่เพิ่มความสามารถในการเกาะเซลล์ และสามารถลดแอนติบอดีที่เกิดจากวัคซีนโควิด-19 ได้ ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น และยังมีฤทธิ์ดื้อต่อ T-Cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่จำเป็นต่อการกำหนดเป้าหมายและทำลายเซลล์ที่ติดไวรัสด้วย
“แต้ว สุดาพร” แพ้หวุดหวิด หยิบทองแดงมวยโอลิมปิก
นอกจากนี้ โควิด-19 สายพันธุ์เอปซิลอนนี้ ยังลดประสิทธิภาพการรักษาด้วยโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody) ได้ปานกลาง ซึ่งวิธีการรักษานี้เป็นหนึ่งในวิธีที่สหรัฐฯ อนุมัติให้ใช้ได้
นอกจากนี้ การทดลองหนึ่งในห้องทดลองยังพบว่า แอนติบอดีชนิด Neutralizing Antibody ที่เกิดจากการติดเชื้อตามธรรมชาติหรือการฉีดวัคซีนชนิด mRNA มีระดับลดลง 3-6 เท่าเมื่อเจอสายพันธุ์เอปซิลอน แต่ยังต้องมีการทดลองทางคลินิกในมนุษย์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน WHO ได้ถอดชื่อสายพันธุ์เอปซิลอนออกจากสายพันธุ์ต้องให้ความสนใจแล้ว และจัดระดับเป็นเพียง “สายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม (Alerts for Further Monitoring)” เท่านั้น เนื่องจากพบการระบาดน้อย และยากับวัคซีนที่มีแม้ประสิทธิภาพลดลงแต่ยัง "เอาอยู๋" แม้แต่ในสหรัฐฯ ที่เคยมีสัดส่วนการระบาดเป็นสายพันธุ์เอปซิลอน 15% ปัจจุบันสัดส่วนลดลงเหลือน้อยกว่า 1% แล้ว
แต่ในขณะเดียวกัน หน่วยงานสาธารณสุขของบางประเทศ เช่น CDC สหรัฐฯ ยังคงระดับความอันตรายไว้ที่สายพันธุ์ต้องให้ความสนใจอยู่ เพื่อเป็นการไม่ประมาท และคอยจับตาการระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันมีรายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เอปซิลอนในอย่างน้อย 46 ประเทศทั่วโลก พบมากเป็นพิเศษในแถบทวีปอเมริกา นั่นทำให้การระบาดในปากีสถานเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ
เรียบเรียงจาก CDC / Global Virus Network / Independent
ภาพจาก Getty Image / Shutterstock / WHO
โปรแกรมถ่ายทอดสดโอลิมปิก 2020 วันนี้ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 5 ส.ค. 2564