นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวผลการศึกษาการฉีดวัคซีนไขว้ ที่ศึกษาร่วมกับศิริราชพยาบาล โดยเก็บตัวอย่างจากผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็ม 1 จากนั้น 3 สัปดาห์ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ทั้งหมด 125 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 61 คน ผู้หญิง 64 คน อายุระหว่าง 18 -60 ปี พบ กระตุ้นภูมิคุ้มเฉลี่ยที่ 716 หน่วย สูงกว่าระดับภูมิคุ้มกันของผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม 6-7 เท่า และสูงกว่าแอสตร้าเซนเนก้า2 เข็ม ถึง 3 เท่า พร้อมยืนยันว่า การฉีดวัคซีนไขว้ช่วยสร้างภูมิให้สู้กับสายพันธุ์เดลตาได้
แพทยสภาออกแถลงการณ์เร่งฉีด mRNA แพทย์
สถาบันวัคซีน เผย “แอสตร้าเซเนก้า” ฉีดครบ 2 โดส ต้านโควิด สายพันธุ์อินเดีย 60%
ส่วนการติดตามผลข้างเคียงของผู้ฉีดวัคซีนไขว้ จากกลุ่มตัวอย่าง 125 คน ยังไม่มีอาการรุนแรง ส่วนใหญ่มีอาการไข้ ปวดหัว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ง่วง ใกล้เคียงกับอาการจากการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม
โดยกรอบเวลาการฉีดวัคซีนไขว้ คือ เข็มแรกฉีดซิโนแวค จากนั้นเว้นระยะ 3 สัปดาห์ จึงฉีดเข็มที่ 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ส่วนภูมิคุ้มกันจะขึ้นถัดจากนั้น อีก 2 สัปดาห์
สำหรับวัคซีนสูตรไขว้นี้ ตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า จะฉีดให้กับ ประชาชนที่อายุตั้งแต่ 18-59 ปี โดยกระทรวงสาธารณสุข ประกาศว่า ให้ทุกโรงพยาบาลฉีดวัคซีนไขว่ ระหว่าง เข็มที่ 1 ซิโนแวค และ เข็มที่ 2 แอสตร้าเซนเนก้า หากเปรียบเทียบศักยภาพการฉีดวัคซีนที่ผ่านมา พบว่า ทั่วประเทศ ฉีดวัคซีนเข็มแรก ได้วันละมากกว่า 3 แสนโดส หรือ คิดเป็นเดือนละ 9 ล้านโดส
หมายความว่า ทุกเดือน เราจะต้องใช้ ซิโนแวค 9 ล้านโดส เป็นวัคซีนเข็มแรก ให้กับประชาชน จนกว่า วัคซีนอื่นๆ จะเข้ามาเพิ่ม
เนื่องจากสูตรการฉีดวัคซีน แบบไขว้ แอสตร้าเซนเนก้า จะกลายเป็นเข็ม ที่ 2 ซึ่งต่อเดือนจะมีวัคซีนส่งให้กระทรวงสาธารณสุข เฉลี่ย 5-6 ล้านโดส จากเดิมที่ตกลงกันไว้ที่ 10 ล้านโดส
ซึ่งข้อมูลล่าสุด จากกระทรวงกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วันนี้(19ส.ค.) รายงานว่า ประเทศไทย มีการฉีดวัคซีน ซิโนแวคไปแล้ว 11,616,169 โดส ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นวัคซีนหลักของประเทศ มียอดการฉีดสะสม อยู่ที่ 10,445,348 โดส
ส่วนการนำเข้าวัคซีนอื่นๆ ทั้ง ไฟเซอร์ และ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน มีรายงานว่า จัดส่งไม่ได้ในไตรมาส 4 ตามที่ตกลงกันไว้