LONG COVID อาการต่อเนื่องของคนเคยป่วยโควิด ที่ไม่ควรมองข้าม

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ป่วยโควิด แม้จะรักษาหายแล้ว แต่ยังมีอาการหลงเหลือทำให้รู้สึกว่าร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนเดิม แม้จะทิ้งช่วงหลายสัปดาห์แล้วก็ตาม นั้นเป็นเพราะคุณอาจตกอยู่ในภาวะ ‘ลองโควิด’ (LONG COVID)

ลองโควิด’ LONG COVID  หรือ ลักษณะอาการที่เรียกว่า POST-COVID SYNDROME  อาการที่หลงเหลือหลังจากติดเชื้อโควิด 19 ลักษณะอาการอาจเหมือนหรือคล้าย กับช่วงที่ติดโควิด แต่บางคนก็มีอาการใหม่เลยก็ได้ โดยกลุ่มคนที่จะพบอาการเหล่านี้มักจะอยู่ในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนักต้องนอนโรงพยาบาลนานๆ อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวมากกว่า แต่ก็ใช่ว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการ หรือกลุ่มที่มีอาการน้อยจะไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะ  ‘ลองโควิด’ นี้ 
 

“แมทธิว ดีน” บริจาคพลาสมา ช่วยผู้ป่วย โควิด-19

รู้จักอีกหนึ่งระบบช่วยรักษาผู้ป่วยโควิดสีเขียวทางไกลผ่านไลน์โอเอ

แพทย์ชี้หายจากป่วยโควิด-19 แล้วยังมีภูมิคุ้มกันธรรมชาติรอฉีดวัคซีนได้

เหตุผลที่เกิด ภาวะ ‘ลองโควิด’
เนื่องจากการติดเชื้อของร่างกายจะมีการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และเกิดการอักเสบในร่างกาย แม้ร่างการจะกำจัดเชื้อโรคแล้ว แต่ภูมิคุ้มกันและการอักเสบก็อาจไม่กลับสู่ภาวะปกติ อีกทั้งร่างกายยังมีการติดเชื้อทีเรียซ้ำซ้อนหลังจากได้รับยากดภูมิเป็นเวลานาน ผลข้างเคียงที่ได้รับจากยาที่จำเป็นต้องใช้รักษา ความเครียดทั้งทางกายทางใจที่ต้องเผชิญระหว่างเจ็บป่วย และยังอาจจะต้องเผชิญต่อไปหลังจากหายป่วยกลับมาบ้านได้แล้ว ทุกอย่างเหล่านี้เมื่อรวมกันแล้วก็ส่งผลให้การติดเชื้อโควิด-19 ไม่ได้หายเป็นปลิดทิ้งอย่างที่ควรเป็น

กลุ่มเสี่ยงที่อาจเจอภาวะ ‘ลองโควิด’
     - ผู้สูงอายุ
    - ผู้ทีมีภาวะอ้วน
    - ผู้ที่มีโรคประจำตัว
    - ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
    - ผู้มีในขณะติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรง กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเกิด Long COVID ได้มากกว่ากลุ่มที่ติดเชื้อและไม่มีอาการ

ลักษณะอาการ ‘ลองโควิด’ ที่พบได้ 
    1 เหนื่อยล้า
    2 หายใจไม่อิ่ม  
    3 ปวดกล้ามเนื้อ 
    4 ไอ 
    5 ปวดหัว 
    6 เจ็บข้อต่อ 
    7 เจ็บหน้าอก 
    8 การรับรู้กลิ่นเปลี่ยนไป 
    9 อาการท้องร่วง 
    10 การรับรสเปลี่ยนไป

วิธีรักษาภาวะ ‘ลองโควิด’
ภาวะ ‘ลองโควิด’  เป็นอาการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการติดโควิด ดังนั้นการจะแยกอาการออกจากโรคอื่นๆ ที่มีอันตรายควรปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาล ซึ่งจะซักประวัติ วัดความดันโลหิต / ชีพจร เจาะเลือดตรวจ หรือเอกซเรย์ปอด  อย่างละเอียดก่อนจะดำเนินการขั้นอื่นๆ ต่อไป 

ดังนั้นทางที่ดีคือการป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ พร้อมปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยการสวมหน้ากาก, เว้นระยะห่างทางกายภาพ ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ไปในพื้นที่ที่แออัด หรือแหล่งชุมชน รวมไปถึงการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ซึ่งจะช่วยลดการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและลดอัตราการเสียชีวิตได้ 

เปิดท่าฝึกหายใจให้ปอดแข็งแรงสู้ โควิด-19

ด่วน! เลือดหมดคลังทั่วประเทศ กระทบผู้ป่วย ย้ำฉีดวัคซีนโควิดบริจาคได้

 
 

อ้างอิงข้อมูลจาก 
- พญ. อรกมล อินกองงาม แพทย์ประจำศูนย์ Wellness โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนลหนองแขม

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ