"กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" ในเด็ก หลังฉีดไฟเซอร์ เจอ 1 รายในประเทศไทย

โดย PPTV Online

เผยแพร่

สธ.เผย หลังเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ไฟเซอร์ในเด็ก (กลุ่มเสี่ยง) พบ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็กชายอายุ 13 ปี 1 ราย สามารถรักษาหายได้ทันเวลา หมอย้ำสังเกตอาการเพื่อรักษาได้ทันท่วงที

การฉีด วัคซีนไฟเซอร์ ในเด็กของไทยเริ่มฉีดไปบ้างแล้วในส่วนของกลุ่มเสี่ยง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  ฯลฯ  ขณะที่กรุงเทพมหานคร เตรียม ฉีดให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงสังกัดกรุงเทพมหานคร  อายุตั้งแต่ 12 - 18 ปี รวมถึงกระทรวงสาธารณสุขก็เตรียมฉีดให้เด็กอีก 5 ล้านคนทั่วประเทศ 

เปิดผลการพิจารณา "กรณีตายหลังฉีดวัคซีนโควิด-19" 628 ราย พบเกี่ยวกับวัคซีน 1 ราย

พบเข้าข่าย ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมเกล็ดเลือดต่ำ 5 ราย หลังฉีดแอสตร้าเซเนก้าเข็มแรก

ซึ่งการวัคซีนไฟเซอร์ เป็นวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งพบอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดที่คณะผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยเข้าข่ายอาการรุนแรงคือ "กลุ่มเนื้อหัวใจอักเสบ" และสำหรับประเทศไทย พบแล้ว 1 ราย

 

เป็นเด็กชายอายุ 13 ปี มีภาวะโรคอ้วน แต่สามารถเข้ารับการรักษาได้ทัน ปัจจุบัน หายเป็นปกติแล้ว 

อาการที่ควรสังเกต  เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ใจสั่น 

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระบุว่า รายงานอุบัติการณ์ของอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบประมาณ 16 รายใน 1 ล้านโดสของการฉีด พบในเพศชาย เป็นส่วนใหญ่ อาการพบได้ภายใน 30 วัน หลังได้รับวัคซีนแต่ส่วนใหญ่พบใน 7 วันหลังได้รับวัคซีน (ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ สหรัฐ) 

นอกจากนี้ยังพบ ในเข็มที่ 2 มากกว่าเข็มแรก 

พบในเพศชาย (12-17 ปี) มีอัตราการเกิดสูงสุด ในผู้ชายมีอัตราการเกิด 32.4 ต่อ 1 ล้านโดส ผู้หญิง 4.2 ต่อ 1 ล้านโดส กลุ่มรองลงมาที่พบ คือ อายุ 18-24 ปี และจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ไม่มีรายงานในผู้สูงอายุ

การวินิจฉัย ตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้า เอกเรย์ปอด ตรวจเลือดดูโปรตีนของกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac troponin) เมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้วสงสัยกล้ามหัวใจอักเสบ แนะนำให้ปรึกษาอายุรแพทย์โรคหัวใจเพื่อประมินการทำงานของหัวใจ

การรักษา  แบบประคับประคอง ด้วยการใช้ยา เช่น ยาต้านการอักเสบ (NsAIDs) อัตราการเกิดยาสเตียรอยด์ (Prednisolone) รวมถึงยา Colchicine ผู้ป่วยหายเป็นปกติได้เกือบทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม กรณีมีประวัติ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และ ภาวะหัวใจล้มเหลวมาก่อน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนฉีดวัควีนชนิด mRNA 

ที่แรกในโลก! คิวบาฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้เด็กอายุ 2 ขวบ

หมอธีระวัฒน์ แนะ ใช้วัคซีนเชื้อตายในเด็ก ปลอดภัยสูง 

ด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง ประเด็นวัคซีนโควิด-19 ในเด็กว่า ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าเด็กมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเหมือนกับผู้ใหญ่และปฏิบัติตัวเป็นคนแพร่เชื้อต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้โดยทั่วไปอาจจะไม่ยกระดับเป็นอาการหนักเท่าผู้ใหญ่ก็ตาม

ข้อจำกัดของวัคซีนในปัจจุบันอยู่ที่อาจจะยังขาดข้อมูลความปลอดภัยในกลุ่มเด็กตั้งแต่ 1-2 ขวบ ไปจน 16 ปี

แต่อย่างไรก็ตามในประเทศจีนเองได้เล็งเห็นความสำคัญและมีการใช้วัคซีนเชื้อตายในกลุ่มเด็กแล้ว

ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีนเทคโนโลยีอื่นวัคซีนเชื้อตายควรจะมีความปลอดภัยที่สุดในเด็ก จากประสบการณ์ของวัคซีนหลากหลายที่เป็นเชื้อตาย และใช้กันมานานมากกว่า 60 ปี

นอกจากนั้น จากข้อมูลในประเทศไทยเอง จะพบว่าผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายเช่น ชิโนแวค ชิโนฟาร์ม ครบสองเข็มและหลังจากนั้นตามต่อด้วยวัคซีนเช่น แอสตร้า หรือ ไฟเซอร์  โมเดอร์นา จะมีระดับของภูมิคุ้มกันที่สามารถยับยั้งไวรัสหรือที่เรียกว่าภูมิดีขึ้นสูงมากถึงระดับเกือบ 100% และสามารถมีประสิทธิภาพครอบคลุมสายพันธุ์อื่นเช่นเดลต้าได้อย่างดีมาก

ซึ่งควรจะได้รับผลเช่นเดียวกันในกลุ่มเด็กแล้วจะทันให้สามารถครอบคลุมคนไทยได้ทุกอายุในประเทศไทย

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ