หลายคนเมื่อวันอาทิตย์มาเยือน และมักรู้สึกไม่ค่อยสบอารมณ์ อยากให้เวลานั้นทอดยาวออกไปอีก เพื่อที่วันจันทร์ ซึ่งเป็นวันทำงานแรกของสัปดาห์ไม่ต้องมาถึง แต่บางคนอาจจะมีอารมณ์ไปในทาง เศร้า หรือกังวล หรือหดหู่กับวันที่จะมาถึง จนเห็นได้ชัด และอาจรุนแรงถึงขั้นนั่งซึม ไม่หลับไม่นอน ถ้าใครมีอาการลักษณะนี้บอกได้เลยว่าตัวคุณนั้นกำลังมีภาวะ "Sunday Night Blues"
กรมสุขภาพจิต แนะ 5 วิธี แก้หดหู่หลังหยุดยาว
ชี้ไทยมีผู้ป่วย “ไบโพลาร์” เข้ารักษามากขึ้นทุกปี
Sunday Night Blues หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Sunday Blues หรือ Sunday Scaries ซึ่งเป็นเป็นความรู้สึกเศร้าหรือกังวลว่าช่วงเวลาของวันอาทิตย์กำลังจะหมดไป และกังวลกับการที่ต้องไปทำงานในตอนเช้าวันจันทร์ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นความกังวลไปล่วงหน้า กับภาระงานที่จะเกิดขึ้น ซึ่งภาวะนี้ไม่ได้จัดเป็นความผิดปกติทางจิตวิทยา แต่ก็ปฏิเสธในทันทีไม่ได้เหมือนกัน เพราะภาวะ Sunday Night Blues อาจหมายถึงปัญหาบางอย่างที่ตัวคุณกำลังเผชิญอยู่
สำหรับอาการ Sunday Night Blues ที่สามารถสังเกตได้
* นอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก เพราะต้องการใช้เวลาวันอาทิตย์ให้มากที่สุด
* หงุดหงิดง่าย
* รู้สึกกังวลเมื่อนึกถึงวันจันทร์
* เศร้า หรือไม่สดใสร่าเริง
* รู้สึกกระสับกระส่าย
ส่วนวิธีรับมือหรือแก้ปัญหากับอารมณ์หดหู่ในช่วงคืนวันอาทิตย์ สามารถทได้ดังนี้
* วางแผนเพื่อรับมือกับสิ่งที่กังวล เช่น จัดการงานค้างให้เสร็จภายในเย็นวันศุกร์เพื่อให้สามารถผ่อนคลายเต็มที่ในวันเสาร์และอาทิตย์ จดรายการของงานสำคัญที่จะต้องทำในสัปดาห์ที่จะถึง และอาจวางแผนกิจกรรมผ่อนคลายระหว่างสัปดาห์
* ลดการแจ้งเตือนเรื่องงานในวันหยุดเพื่อการพักผ่อนและใช้เวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่
* กำหนดงานอดิเรกในวันหยุด เช่น ชมภาพยนตร์ จัดตกแต่งห้องนอน เดินทางพักผ่อนต่างจังหวัด เพื่อคลายความเครียดและความเหนื่อยล้าที่สะสมตลอดสัปดาห์
* สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้สึกกับเพื่อนร่วมงานที่สนิท เพื่อผ่อนคลายความกังวลใจและช่วยให้มีความสุขกับการทำงานมากขึ้น
แต่ถ้าทำแล้วยังรู้สึกว่าอาการไม่ดีขึ้น หรือความกังวล ความเศร้าที่มียังไม่จางหาย และยังคงมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นั้นอาจเป็นสัญญาณที่บอกถึงปัญหาจากการทำงาน หรือความเครียดที่ตัวเรามีสะสมอยู่มากเกินไป ดังนั้นจึงควรไปปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อคลายความกังวลและรับการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และควรดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรงควบคู่ไปกับสุขภาพจิตเพื่อพร้อมรับมือกับวันทำงาน
ที่มาข้อมูล
อ. พญ.ญาณิน ทิพากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย