เปิดลิสต์ อุปกรณ์ - ยาสามัญประจำบ้านที่จำเป็นต้องมีในยุค “NEW NORMAL”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ยาสามัญประจำบ้าน คือยาที่บุคคลทั่วไปสามารถหาซื้อ ติดบ้านไว้เพื่อใช้ในการยาเกิดอาการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บ แต่ในยุค “NEWNORMAL” แบบนี้ควรมีอะไรติดบ้านมาดูกัน

ยาสามัญประจำบ้าน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นยาที่สามารถใช้ในครัวเรือนได้ โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ เพื่อใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งแต่ละบ้านจะมียาสามัญประจำบ้านกี่ชนิด กี่อย่าง เยอะหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในการซื้อของผู้อยู่อาศัยในบ้านนั้น บางคนอาจมีเพียงยาพาราตัวเดียว หรือบางคนอาจมีเป็นเซต ทั้งยาพาราเซลตามอล ยาธาตุน้ำขาว หรือ ยาอื่นๆ รวมถึงอุปกรณ์ทำแผลด้วย 

แพทย์แนะวิธีใช้ "ยาพาราเซตามอล" ให้ปลอดภัยไม่ส่งผลร้ายกับร่างกาย

โครงการรับบริจาคยาที่ไม่ได้ใช้แล้วช่วยเหลือผู้ป่วย

แต่ด้วยยุคปัจจุบันที่ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 3 ปี แล้ว ก็ยิ่งทำให้อุปกรณ์ และยาสามัญประจำบ้าน อาจเปลี่ยนแปลงไป โดยควรมีอะไรบ้างมาดูกัน

     1. พาราเซตามอล (Paracetamol) ถือเป็นยาสามัญที่หลายคนมีติดบ้านอยู่แล้ว ไว้ใช้รับประทานในช่วงที่เรามีอาการปวดหัว หรือลดไข้  โดยในการทานแต่ละครั้งต้องไม่เกิน 10 – 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม รับประทานซ้ำได้ถ้ายังมีอาการ ทุก 4 ชั่วโมง

    2. ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน (Domperidone) ซึ่งจะช่วยในการลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และยังอาจนำมาใช้รักษาอาการที่เกิดขึ้นจากการย่อยอาหารล่าช้าจนมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด เรอ คลื่นไส้ แสบร้อนกลางอก และปวดท้อง  โดยสามารถรับประทานยานี้ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการได้สูงสุดวันละ 3 เวลา

    3. ผงเกลือแร่ เป็นตัวช่วย สำหรับการชดเชยการสูญเสียน้ำจากการอาเจียน หรือท้องเสีย ถ่ายเหลว โดย 1 ซองสามารถชงได้กับน้ำ 250 มิลลิลิตร แล้วค่อยจิบ หรือจะดื่มหมดในคราวเดียวก็ได้ 

    4. ยาขับลมแก้ท้องอืด รับประทานเมื่อมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด จุกเสียด
    5. ยากดอาการไอ ใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการไอ และไม่ควรใช้เมื่อมีอาการไอแบบมีเสมหะ 
    6. ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ ช่วยเจือจางหรือช่วยให้ร่างกายขับเสมหะได้ดีขึ้น


    7. ปรอทวัดไข้ เพื่อตรวจสอบอาการตนเองเวลารู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว ไม่สบาย
    8. น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ความเข้มข้นร้อยละ 70 – 90 เช็ดทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วม
    9. หน้ากากอนามัย หรือ หน้ากากผ้า เพื่อป้องกันการแพร่และรับเชื้อทางการหายใจ

ทั้งนี้ ยาทุกชนิดเป็นยาบรรเทาอาการ ไม่ได้ป้องกันหรือรักษาโรค ถ้าอาการไม่รุนแรงไม่จำเป็นต้องใช้ สำหรับผู้มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกยาให้เหมาะสม และควรเตรียมยารักษาโรคประจำตัวเผื่อสำรองไว้เสมอ


 

ที่มา : อ. นพ.ไอศวรรย์ เพชรล่อเหลียน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ