ดวงตา เป็นอวัยวะสำคัญด้านการมองเห็น แต่ก็มีความบอบบาง เมื่อเกิดอาการปวด ระคายเคือง รู้สึกไม่สบายตา ต้องรักษาอย่างระมัดระวังและถูกวิธีเพื่อความปลอดภัย
แต่เมื่อมีอาการ หลายคนมักจะนึกถึง “ยาหยอดตา” และเลือกซื้อมาใช้เอง ในบางรายอาการดีขึ้นก็ใช้ต่อเนื่องไปโดยไม่ไปรับการตรวจรักษา หรือบางรายหยอดไปแล้วรู้สึกว่าปริมาณยาน้อยเกินไป จึงหยอดซ้ำ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นวิธีการใช้ยาหยอดตาที่ไม่เหมาะสม เสี่ยงทำให้ได้รับขนาดยามากเกินไป จนอาจเกิดอันตรายถึงขั้นตาบอดได้
อย.ส่งอาหารเสริมตรวจหาสิ่งปลอมปน สั่งห้ามโฆษณาชวนเชื่อ
ทีมจักษุแพทย์อิสราเอลคิดค้นยาหยอดตาแก้ “สายตาสั้น-ยาว”
การใช้ยาหยอดตาที่ถูกวิธี
ในยาหยอดตา 1 หยด มีปริมาณ 25-50 ไมโครลิตร ซึ่งกระพุ้งของหนังตาคนเรารับปริมาตรของเหลวได้ประมาณ 10 ไมโครลิตร ดังนั้น แค่หยดเดียวก็เพียงพอแล้ว ที่สำคัญควรใช้ยาหยอดตาให้ถูกวิธี และใช้ในปริมาณตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ประเภทของยาหยอดตา
ยาหยอดตา แบ่งได้ 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1. ยาที่สามารถซื้อใช้เองได้ตามต้องการ มีความปลอดภัยสูง มักไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตา ได้แก่ น้ำตาเทียม แต่ควรใช้เมื่อมีความจำเป็น
2. ยาที่สามารถซื้อใช้เองได้แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูและคำแนะนำจากจักษุแพทย์ ได้แก่ ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สำหรับการรักษาเยื่อบุตาอักเสบ และยากลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน สำหรับการรักษาอาการคันที่ตา
3. ยาอันตราย ที่ไม่ระบุในฉลากยา ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของจักษุแพทย์ ไม่ควรซื้อใช้เอง ได้แก่ ยากลุ่มสเตียรอยด์
เฉลย...เหตุผลที่หมอต้องสั่งต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนผ่าตัด
แพทย์ แนะ 4 วิธี ให้พ่อ - แม่ ไว้รับกับลูกเมื่อเจอภาวะโตก่อนวัย
เมื่อใช้ยาหยอดตาที่ไม่เหมาะสมจะเกิดผลเสียอะไรบ้าง?
หากใช้เกิน ใช้บ่อย อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการได้รับขนาดยามากเกินไป และเกิดผลข้างเคียงซึ่งเป็นอันตรายได้ เช่น
-ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ หากใช้ไม่เหมาะสม เสี่ยงทำให้แบคทีเรียดื้อยาได้
-ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หากใช้ไม่เหมาะสม เสี่ยงทำให้เกิดภาวะความดันลูกตาสูง หรือโรคต้อหินได้
-ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสารกันเสียบางชนิด หากใช้ไม่เหมาะสม เสี่ยงทำให้เซลล์เยื่อบุกระจกตาจะถูกทำลายได้
อีกข้อที่ควรระวังคือ ยาหยอดตามส่วนใหญ่มาอายุการใช้งานเพียง 1 เดือนหลังเปิดใช้งาน ดังนั้น ต้องอ่านวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา และอายุการใช้งานของยาให้ละเอียดก่อนการใช้งาน
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา