นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึง สายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย (BA.2) ซึ่ง ตรวจพบรายแรกตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2565 และได้รายงานในระบบฐานข้อมูล GSAID ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2565 โดยล่าสุดพบแล้ว 14 ราย เป็นผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ 9 ราย ส่วนอีก 5 ราย เป็นการติดเชื้อภายในประเทศ ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 ราย หญิงสูงวัย ซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียง จ.สงขลา ที่เคยนำเสนอข่าวไปแล้ว
"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด
จับตา “โอมิครอน BA.2” หวั่นเป็นสายพันธุ์ใหม่แทนที่โอมิครอนตัวปัจจุบัน
พบสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน(BA.2) แล้ว 9 ราย จากผู้เดินทางเข้าประเทศ
ส่วน 3 ประเด็นหลักคือ 3 คำถามเวลามีพันธุ์ใหม่ คือ แพร่เร็ว รุนแรง หรือหลบภูมิคุ้มกันหรือไม่ อย่างไร ซึ่งข้อมูล ณ ปัจจุบันของ BA.2 ยังมีข้อมูลน้อยเกินไปที่จะสรุปว่า แพร่เร็วหรือไม่ เพราะยังมีน้อย หากสัดส่วนเปลี่ยน จากเดิม 2% ขึ้นเป็น 5-10% ในเวลาถัดมาก็ต้องจับตา เพราะอาจแพร่เร็วกว่า
ส่วนอาการหนัก ดูจากทั้ง 14 ราย ภาพรวมเราส่งข้อมูลกว่า 7 พันเรดคอร์ด ให้กรมการแพทย์ไปติดตามดู เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 7 รายจากโอมิครอนจาก 7 พัน หรือคิดเป็น 0.1% ซึ่ง อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ ส่วนรายละเอียดเรื่องอาการหรือการดื้อต่อวัคซีน กรมการแพทย์กำลังทำข้อมูล
เช็กที่นี่ ! รวมจุดฉีดวัคซีนโควิด ทั้งแบบลงทะเบียน และ Walk in
ดังนั้น ณ ตอนนี้ข้อสรุปว่า สายพันธุ์ย่อย BA.2 ยังไม่เหนือกว่า BA.1 มาก ส่วนการใช้ชุดตรวจ ATK และ RT-PCR ยังสามารถตรวจได้
สำหรับสายพันธุ์เดลตา ปัจจุบันเป็น เดลตา พลัส ซึ่งมี AY ต่างๆ มีประมาณกว่า 127 ตัว โดยเคยเจอเดลตาพลัส คือ K417N ซึ่งทำให้หลบวัคซีนได้มากขึ้น แต่จำนวนที่ตรวจพบก็ไม่มากมาย ไม่ได้เพิ่มจำนวน แต่ที่เยอะที่สุดซึ่งเป็นพันธุ์ย่อยของเดลตา คือ AY85 ประเทศไทยเจอประมาณ 49% แต่ในท้ายที่สุดถ้าเดลตาถูกแทนด้วยโอมิครอน เดลตาที่กลายพันธุ์ก็ไม่มีความหมายอะไร