เพราะอาจส่งผลให้การทำงานของหัวใจผิดปกติและตกอยู่ในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียดได้ ส่วนใหญ่มักมีอาการกะทันหันชั่วคราวและอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงควรรับมือกับความเครียดให้ถูกวิธี ดูแลหัวใจให้แข็งแรง
อาการดังกล่าวเราเรียกว่า Broken heart syndrome คือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด พบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นตอนนั้นเรียกชื่อโรคนี้ว่า takotsubo cardiomyopathy พบมากในหญิงวัยกลางคนมีความสัมพันธ์กับความเครียดจากโรคทางกายหรือความเครียดด้านจิตใจ
ผลวิจัยเผย “อกหัก” มีผลต่อหัวใจระยะยาว
สหรัฐฯ พบ โควิด-19 ทำให้เกิดเคส “ภาวะหัวใจสลาย” เพิ่มขึ้น
เรายังไม่ทราบสาเหตุชัดเจนแต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความเครียดจากปัญหาต่างๆ เช่น ความเจ็บป่วยทางการแพทย์ การสูญเสียคนรัก การหย่าร้าง ปัญหาด้านการเงิน การงาน ความผิดหวังอย่างรุนแรง ได้รับบาดเจ็บสาหัส ยาเสพติด ความเครียดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสะสม ทำให้หลอดเลือดหดตัวหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดและล้มเหลวได้นอกจากนี้ยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพราะกลุ่มอาการนี้หรือโรคนี้ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนฮอร์โมนเอสโตรเจนเริ่มลดน้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทนต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวกับ ความเครียดหรือ Stress Hormone ในร่างกายได้น้อย
อากาศวันนี้ อุตุฯ เตือน ฝนตกถล่ม 40 จังหวัดเตรียมรับมือ
Broken heart syndrome มีอาการดังนี้
แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก
หอบเหนื่อย
หายใจลำบาก
หน้ามืด
ความดันเลือดต่ำ
แพทย์จะตรวจวินิจฉัย Broken heart syndrome จากอาการประวัติความเครียดและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่
1.การตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าหรือ Electrocardiogram พบมีลักษณะคลื่นหัวใจไฟฟ้าผิดปกติเหมือนกาไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน
2.ตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูงหรือที่เรียกว่า Echocardiogram จะพบมีลักษณะการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายผิดปกติความแรงในการบิดตัวของหัวใจจะลดลง หัวใจห้องล่างซ้ายอ่อนกำลัง
3.การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ หรือ Coronary Angiography
การรักษา Broken heart syndrome สามารถทำได้อย่างไร?
ปกติภาวะ Broken heart syndrome ส่วนใหญ่ต้องรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลผู้ป่วยมีอาการตั้งแต่น้อยจนถึงมากและรุนแรงได้หากไม่มีอาการรุนแรงอายุรแพทย์โรคหัวใจจะให้การรักษาด้วยยา สำหรับกรณีที่รุนแรงและมีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วยอาจต้องมีการใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจรวมถึงจะต้องรักษาภาวะความเครียดที่เป็นปัจจัยกระตุ้นไปพร้อมกันจากการรายงานทางการแพทย์พบว่าหลังจากการรักสาส่วนมากหัวใจจะกลับมาปกติมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตน้อยมากประมาณ 1% เท่านั้นและโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ 2-5%
เราจะป้องกัน Broken heart syndrome ได้อย่างไรบ้าง?
ทำใจให้สบาย ไม่เครียด ปรับมุมมองเปลี่ยนความคิด นั่งสมาธิ พูดคุยกับคนในครอบครัวและเพื่อน เพื่อแบ่งปันเรื่องราวและปัญหา อย่าแบกความเครียดไว้คนเดียว ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สนุกกับชีวิตด้วยกิจกรรมต่างๆ ทั้งการท่องเที่ยว ทำอาหาร เดินป่า ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ ตรวจเช็กสุขภาพหัวใจ นอกจากตรวจเช็กสุขภาพประจำปีควรตรวจเช็กสุขภาพหัวใจ ตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ
Broken heart syndrome เกิดจากความเครียดดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือดูแลหัวใจให้เข้มแข็งตั้งรับกับทุกปัญหาด้วยความเข้าใจจัดการความเครียดอย่างถูกวิธี หากมีอาการผิดปกติแนะนำให้รีบพบแพทย์ทันที
ทำความรู้จัก "Broken Heart Syndrome" เครียดเกินไปอาจทำร้ายหัวใจคุณ
ที่มา : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS