สัญญาณเตือนฮีทสโตรก ไม่มีเหงื่อออก แม้อากาศจะร้อน

โดย BDMS

เผยแพร่

จากสภาพอากาศที่ร้อนจัดในตอนกลางวัน อาจทำให้เกิด “โรคลมแดด หรือ โรคฮีทสโตรก” (Heat Stroke) ได้

โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด เป็นภาวะวิกฤติที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัว หรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกาย จากผลของสภาพอากาศที่ร้อนจัดซึ่งบางพื้นที่อาจสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส หากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ต่อเนื่อง จะทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิน 40 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ หน้ามืด เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เสียชีวิตได้  

คอนเทนต์แนะนำ
“ฮีทสโตรก” อาการเป็นอย่างไร ? วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ใครบ้างเสี่ยง
แพทย์แนะวิธีสังเกตอาการฮีทสโตรกแตกต่างจากเป็นลมปกติอย่างไร ?
ดื่มน้ำเย็นทันที หลังตากแดดจัด อันตรายไหม | อาการน่าเป็นห่วง EP.6

สัญญาณเตือนที่สำคัญของโรคฮีทสโตรก คือ ไม่มีเหงื่อออก แม้จะอากาศร้อน หน้าแดง ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ  รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน  เกร็งกล้ามเนื้อ ชัก มึนงง สับสน  รูม่านตาขยาย ความรู้สึกตัว  ลดน้อยลง อาจหมดสติ หัวใจเต้นเร็วแต่แผ่วเบา ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องและทันเวลา อาจทำให้หัวใจหยุดเต้น  และถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งแตกต่างจากอาการเพลียแดดทั่วๆ ไปที่จะมีเหงื่อออกด้วย

หลักปฏิบัติง่ายๆ 6 ข้อ เพื่อป้องกันโรคจากอากาศร้อน ดังนี้
 
1. สวมเสื้อหลวม น้ำหนักเบา และสีอ่อน ๆ

2. เลี่ยงการโดนแดดโดยตรง เช่น การสวมหมวกโดยเฉพาะหมวกแบบมีปีก สวมแว่นกันแดด ใช้ครีมกันแดดไม่ต่ำกว่า SPF15 และให้ทาบ่อยขึ้นถ้ามีเหงื่อออกหรือว่ายน้ำ

3. ดื่มน้ำให้มาก

4. ผู้ที่รับประทานยาที่มีความเสี่ยง ทำให้เกิดโรคจากอากาศร้อนมากขึ้น ควรระวังให้มากกว่าปกติ

5. อย่าอยู่หรือปล่อยให้คนใกล้ตัวอยู่ในรถที่จอดไว้กลางแดด โดยเฉพาะต้องระวังให้ดีอย่าลืมเด็กไว้ในรถ

6. ถ้าหลีกเลี่ยงการทำงาน หรือออกกำลังกายกลางแดดไม่ได้ ก็ควรใช้เวลาอยู่กลางแดดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

คอนเทนต์แนะนำ
เตือนคนทำงานกลางแจ้งระวัง “ฮีทสโตรก” เสี่ยงถึงชีวิต
6 วิธี ป้องกันลืมเด็กไว้บนรถ ป้องกันการเสียชีวิตจากฮีทสโตรก

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ