คนไทยจมน้ำเฉลี่ยปีละ 810 ราย บึงลำธารคือสถานที่ที่เสียชีวิตมากที่สุด


โดย BDMS

เผยแพร่




การจมน้ำคือภาวะที่ร่างกายจมอยู่ใต้พื้นน้ำจนทำให้เกิดการบกพร่องของทางเดินหายใจ ภาวะนี้ไม่เกี่ยวข้องกับความลึกของน้ำ การเสียชีวิตเนื่องจากภาวะการขาดออกซิเจนหรือการสำลักน้ำเข้าไปในปอด

จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า ทุก ๆ ปี จะมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำประมาณ 372,000 คน เกินครึ่งจะอายุน้อยกว่า 25 ปี สำหรับประเทศไทยจากสถิติระหว่างปี 2556 ถึงปี 2561 พบว่าผู้ป่วยอุบัติเหตุตกน้ำจมน้ำรวมทั้งประเทศ 16,380 รายคิดค่าเฉลี่ยคือ 810 รายต่อปี สาเหตุของการจมน้ำแบ่งตามสถานที่แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น บึงลำธาร ถึงร้อยละ 49.4 รองลงมาคือสระว่ายน้ำร้อยละ 6.9 อ่างอาบน้ำร้อยละ 4.6

ระวัง ! เด็กปิดเทอมเสี่ยง “จมน้ำ” เสียชีวิต

ระวัง! กรมควบคุมโรค เตือน เหตุจมน้ำ คร่าชีวิตสูงสุดในช่วงวันลอยกระทง

โดยเด็กทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี มักจมน้ำในขณะที่อาบน้ำในอ่างอาบน้ำเด็กอายุ 1-5 ปี มักจมน้ำว่ายน้ำตื้น ส่วนผู้ใหญ่มักจมน้ำเมื่อเล่นกีฬาหรือกิจกรรมผาดโผนทางน้ำ สาเหตุที่มีมาจากปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเสพติดขณะใกล้แหล่งน้ำเราพบว่าผู้ป่วยที่จมน้ำร้อยละ 3.3 จะมีการใช้สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์ก่อนการลงเล่นน้ำ

นอกจากนี้บางครั้งเราพบว่าการจมน้ำเกิดขึ้นเนื่องจากโรคประจำตัวกำเริบขึ้นขณะเล่นน้ำ เช่น
โรคลมชัก
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคหัวใจขาดเลือด
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
เนื่องจากการใช้พลังงานขณะทำกิจกรรมมาก เป็นต้น

อุณหภูมิของน้ำก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณจมน้ำง่ายขึ้น สาเหตุนี้ไม่ค่อยพบบ่อยในประเทศไทย เนื่องจากเป็นเมืองในเขตร้อน โดยทั่วไปแล้วเราพบในเมืองหนาวมากกว่า การว่ายน้ำหรือเล่นน้ำในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส จะก่อให้เกิดภาวะตะคริวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดภาวะจมน้ำได้ แม้จะว่ายน้ำเป็นยิ่งถ้าอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส จะมีความเสี่ยงที่จะจมน้ำมากขึ้นกว่าเดิม

แล้วเราจะป้องกันการจมน้ำได้อย่างไร?
เป็นเรื่องที่ปฎิเสธไม่ได้ว่าการป้องกันที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงที่จะไปอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยง เช่น แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ไม่มีตัวกั้นหรือรั้วระหว่างตลิ่งชั่นและแหล่งน้ำ สำรวจรอบรอบบริเวณตัวบ้านและใกล้บ้านว่ามีจุดเสี่ยงตรงไหนบ้าง เช่น ถังเก็บน้ำที่ไม่ได้ปิดฝา เป็นต้น สำหรับเด็กเล็กไม่ควรปล่อยให้อยู่กับแหล่งน้ำเพียงลำพัง แม้แหล่งน้ำสัตว์เป็นแหล่งน้ำตื้น ควรจัดให้มีสถานที่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็กให้อยู่ห่างจากแหล่งน้ำ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล อาจมีการสอนว่ายน้ำขั้นพื้นฐานให้แก่เด็กวัยเรียน รวมทั้งทักษะการช่วยชีวิตหรือการเอาตัวรอดทางน้ำ หากจำเป็นต้องมีการทำกิจกรรมทางน้ำควรมีอุปกรณ์สำหรับการช่วยเหลือหรือพยุงชีพ เช่น สระว่ายน้ำควรมีอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือคนจมน้ำข้างสระ เพื่อจะได้ช่วยเหลือได้ทันท่วงที การโดยสารทางเรือจะเพิ่มความปลอดภัย หากเรามีเสื้อชูชีพหรืออุปกรณ์ลอยตัวในน้ำ


ควรปฏิบัติตามกฎสำหรับการโดยสารทางน้ำเสมอ ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อต้องโดยสารทางน้ำ ทำกิจกรรมทางน้ำ หรือกิจกรรมใกล้แหล่งน้ำ

ที่มา : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ