ความเสี่ยงของ “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในคนออกกำลังกาย อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจะเกิดน้อย แต่เราก็ต้องรู้ไว้ เพราะปัญหาสุขภาพไม่เลือกเวลาและไม่เลือกคน
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันหรือ Sudden Cardiac Arrest เป็นภาวะที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน เกิดได้ทั้งระหว่างออกกำลังกายและหลังออกกำลังกาย โดยมักจะไม่มีสัญญาณบอกก่อน จึงเป็นภาวะที่น่ากลัวมาก
10 วิตามินและแอนติออกซิแดนท์ ดูแลสุขภาพ ต้านความเสื่อม
สารพัดปัญหาเรื่องสุขภาพ กับอาการที่คอยกวนใจคุณผู้หญิง!
หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน | DigiHealth EP.11 | 10 ก.ย. 65
ผู้ป่วยอาจพบอาการแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย ไม่มีแรง รู้สึกเหมือนจะวูบ ใจสั่นหรือหัวใจเต้นรัว
นำมาก่อน หากพบอาการเหล่านี้ส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน หรืออาจจะต้องปฐมพยาบาลด้วยการ CPR ผายปอดและปั๊มหัวใจ หรือใช้เครื่องกระตุกหัวใจแบบพกพา AED (เออีดี)
เมื่อหัวใจหยุดเต้น ระบบหัวใจก็จะเริ่มล้มเหลว ความดันโลหิตก็จะตกลง เลือดก็จะไม่สูบฉีด เซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ก็จะขาดเลือด
ขาดออกซิเจน และขาดสารอาหาร ทำให้เซลล์ ไม่สามารถทำงานต่อได้ เมื่อเซลล์หลาย ๆ เซลล์หยุดทำงานก็จะทำให้อวัยวะเหล่านั้นล้มเหลว และหยุดทำงานไปตาม ๆ กัน พูดให้เข้าใจกันง่าย ๆ คือ ถ้าหัวใจหยุดเต้น สมอง ปอด และระบบอื่นก็หยุดทำงานตามไปด้วยจนเสียชีวิตในที่สุด ภาวะหัวใจหยุดเต้นจึงเป็นภาวะอันตรายที่ต้องการรักษาอย่างเร่งด่วน
อย่างในช่วงฟุตบอลยูโร 2020 คริสเตียน อีเรกเซน นักฟุตบอลทีมชาติเดนมาร์ก วัย 29 ปี ณ ขณะนั้น จู่ ๆ ก็ฟุบคาสนาม ตามรายงานระบุว่าเขาเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างแข่ง โดยหัวใจของคริสเตียน อีเรกเซนหยุดเต้นไปถึง 5 นาที ระหว่างนั้นก็มีการปฐมพยาบาลด้วยการปั๊มหัวใจ ก่อนส่งไปรักษาที่โรงพยาบาล จังหวะยังดีที่เข้ารับการรักษาได้ทัน ซึ่งตอนนี้คริสเตียน อีเรกเซนก็ได้หวนคืนสู่สนามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่คำถามและประเด็นสำคัญคือทำไม “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” ถึงมีโอกาสเกิดขึ้นกับคนที่มีสุขภาพดีอย่างนักกีฬาและคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
สาเหตุของ “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” ที่พบบ่อยคือคลื่นไฟฟ้าหัวใจเกิดความผิดปกติจนทำให้หัวใจเต้นผิดปกติและหยุดเต้นได้ครับ เพราะเดิมทีในร่างกายมนุษย์สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ได้ตามธรรมชาติเพื่อใช้สื่อสาร หรือสั่งการกันระหว่างเซลล์และระบบอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจ
ส่วนสาเหตุที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติก็เกิดได้จากหลายปัจจัย โดยปัจจัยอย่างแรกที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติคือภาวะหัวใจขาดเลือดหรือ Heart Attack ภาวะหัวใจขาดเลือดมักเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ทำให้เลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ซึ่งข้อมูลทางการแพทย์ พบว่าหลังจากที่หัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจผิดปกติและทำให้หัวใจเต้นผิดไปจากเดิม อย่างหัวใจเต้นเร็ว เต้นรัว เต้นผิดจังหวะ และหยุดเต้นได้
แต่นอกจากภาวะหัวใจขาดเลือดแล้วก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจและส่งผลต่อการเต้นของหัวใจจนทำให้เกิด “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” ดังนี้
● ความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว ความผิดปกติของโครงสร้างหลอดเลือดหัวใจ
● คนที่มีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจที่ไม่รู้สาเหตุแน่ชัด
● กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
● หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ
นักกีฬาหรือคนที่ออกกำลังกายส่วนใหญ่อาจไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาสุขภาพหัวใจเหล่านี้แฝงอยู่ อาจถูกอาการนี้จู่โจมแบบไม่ทันตั้งตัวได้และต่อให้คุณไม่ได้เป็นโรคหัวใจ แต่ถ้าคุณมีความเสี่ยงเล็ก ๆ น้อย ๆ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน ถือเป็นภัยเงียบที่คาดเดาและรับมือได้ยาก การตรวจสุขภาพหัวใจและการประเมินความพร้อมของร่างกายจึงสำคัญมาก โดยเฉพาะคนที่ออกกำลังกายหนัก ๆ
สุดยอดอาหารบำรุง "หลอดเลือดหัวใจ" กินเมื่อไหร่ แข็งแรงเมื่อนั้น
“โรคหัวใจ” ไม่เลือกวัย เสี่ยงได้แม้อายุน้อย
นอกจากนี้ หากใครเคยมีอาการต่อไปนี้ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับหัวใจได้
● คนที่เหนื่อยง่ายผิดปกติในขณะที่ทำกิจกรรม ต่าง ๆ รวมถึงการออกกำลังกาย
● มีหรือเคยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกขณะออกกำลังกาย
● เคยเป็นลมขณะออกกำลังกาย
● คนที่เคยมีญาติใกล้ชิด อย่างพ่อแม่หรือพี่น้องเสียชีวิตฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีโรคเส้นเลือดหัวใจตีบขณะที่อายุ
น้อยกว่า 60 ปีในผู้หญิง และ 45 ปีในผู้ชาย
● คนที่ออกกำลังกาย แต่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด หรือพักผ่อนน้อยติดต่อกันนานก็อาจมี
ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้เหมือนกัน
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันสามารถลดความเสี่ยงได้ครับด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ
รู้จักเครื่อง ECMO พยุงหัวใจและปอดให้ผู้ป่วยโควิด-19
สุดยอดอาหารบำรุง "หลอดเลือดหัวใจ" กินเมื่อไหร่ แข็งแรงเมื่อนั้น