อยากมีลูก! ต้องเลี่ยง 5 ปัจจัยเสี่ยง ก่อนเข้าข่าย "ภาวะมีบุตรยาก"

โดย BDMS

เผยแพร่

ช่วงปลายปีทีไร บ้านเรามักจะมีกิจกรรมหนึ่งที่คึกคักมาก ๆ ก็คือ การจัดงานแต่งครับ ซึ่งสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นก็คือการมีลูก

เมื่อ “ลูก” เปรียบเสมือนของขวัญชิ้นสำคัญ ที่เข้ามาเติมเต็มชีวิตคู่หลายคู่ให้สมบูรณ์มากขึ้น แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ก็จะมีปัญหาหนึ่งที่หลายคู่ประสบพบเจอ นั่นคือ การอยากมีลูก แต่ทำยังไง๊ ยังไง เจ้าตัวน้อยก็ยังไม่มาสักที ซึ่งการอาจเป็นสัญญาณของ “ภาวะมีบุตรยาก” ซึ่งปัญหานี้ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ บางคนอาจรู้สึกเครียด เป็นโรคซึมเศร้า หรือนำไปสู่ปัญหาครอบครัวและการหย่าร้างได้

เพิ่มโอกาสการมีบุตร! กับการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ ICSI

หาสาเหตุ “ภาวะมีบุตรยาก” ปัญหาหนักใจของคนอยากมีลูก

ภาวะมีบุตรยาคือ มีบุตรยาก ตั้งครรภ์ยาก ทำยังไงก็ไม่มาสักที โดยในทางการแพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นภาวะนี้เมื่อคู่รักพยายามมีลูกกันโดยไม่มีการคุมกำเนิด แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป แต่การมีภาวะนี้อาจไม่ได้หมายความว่ามีลูกไม่ได้ แค่มี “ยาก” เท่านั้นครับ ซึ่งภาวะนี้ก็เป็นผลมาจากหลายปัจจัย

ปัจจัยแรก อายุ

อายุมากขึ้นระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ก็เสื่อมลงไปตามเวลาครับ โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุ 35 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป

ปัจจัยที่ 2 โรคเบาหวานและโรคอ้วน

แต่ข้อมูลทางการแพทย์บอกไว้ชัดเลยว่าคนที่เป็นโรคใดโรคหนึ่งหรือทั้งสองโรคนี้มีความเสี่ยงที่จะมีบุตรยาก ทั้งในแง่ของจำนวนและคุณภาพของอสุจิ ไปจนถึงสมรรถภาพทางเพศผู้ชายที่ลดลงด้วย ส่วนในผู้หญิงที่มีโรคเหล่านี้จะเสี่ยงต่อภาวะวัยทองก่อนวัย และภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้โดยตรง อย่างไรก็ตาม คนที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ก็เสี่ยงที่จะมีบุตรยากเหมือนกัน

ปัจจัยที่ 3 แอลกอฮอล์ บุหรี่ และสารเสพติด

ใครที่ดื่ม สูบ หรือใช้สิ่งเหล่านี้ เข้าใกล้ภาวะมีบุตรยากและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เข้าไปทุกทีครับ ยิ่งในผู้หญิงก็อาจส่งผลในระยะยาว หากมามีเจ้าตัวเล็กทีหลัง เด็กก็อาจมีปัญหาสุขภาพได้

ปัจจัยที่ 4 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ต้นต่อการมาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย (การติดเชื้อจะทำให้เยื่อบุภายในอวัยวะอักเสบเลยส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ได้)

ปัจจัยที่ 5 ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่
- ความเครียด
- การออกกำลังกายหนักเกินไป
- การสัมผัสกับสารเคมี
- และคนที่เคยผ่านการรักษามะเร็งด้วยการฉายแสงและการใช้ยาเคมีหรือคีโม

ตัวช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตร กับการตรวจ Sperm DNA Fragmentation

"นมแม่" มหัศจรรย์แห่งภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติของ "ลูกน้อย"

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ