ข้อดีของการบริโภคเนื้อสัตว์จากกรมปศุสัตว์ ที่ผ่านจากโรงฆ่าสัตว์มาตรฐาน คือ มีการควบคุมคุณภาพ เพื่อความสะอาด ในกระบวนการฆ่าและชำแหละเนื้อ มีการตรวจสอบเนื้อสัตว์ ทั้งก่อนและหลังการชำแหละ เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ที่เป็นโรคออกไปสู่ผู้บริโภค มีการตรวจสอบสารต้องห้าม และยาปฏิชีวนะสม่ำเสมอ เมื่อผ่านการตรวจสอบและชำแหละแล้ว จะถูกนำเข้าห้องเย็นเพื่อลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ป้องกันการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์
อย่าชะล่าใจ!! อาจเกิดภาวะลองโควิดได้หลังติดเชื้อประมาณ 2 เดือน
แพทย์เตือน “ห้ามเปิบค้างคาว”หวั่นก่อโรคใหม่
ในประเทศไทยสามารถพบการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์เพื่อการปศุสัตว์ ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อโรคกลายพันธุ์จากคนสู่คน และยังเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อีกด้วย
จากการศึกษา "การบริโภคเนื้อสัตว์ป่าในคนไทย" ของเครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า (TRAFFIC) และสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) พบว่า คนไทยในเขตเมือง ร้อยละ 32 มีการบริโภคเนื้อสัตว์ป่ารวมถึงเนื้อสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย และตัวเลขนี้มีแนวโน้มที่จะสูงมากขึ้นในอนาคต
การหาสัตว์ป่ามารับประทานโดยเฉพาะ "ค้างคาว" ซึ่งเป็นสัตว์รังโรคเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง โดยปกติค้างคาวในประเทศไทยเป็นค้างคาวกินผลไม้อาศัยและขับถ่ายอยู่ในถ้ำที่เป็นระบบปิด อยู่กันเป็นฝูง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรคที่มีไวรัสหลากหลายชนิด เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีโบล่า ไวรัสนิปาห์ สาเหตุเกิดโรคไข้สมองอักเสบ ไวรัสโคโรน่าในปัสสาวะของค้างคาวที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 และในถ้ำของค้างคาวยังมีเชื้อราที่ทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบในมนุษย์ ชื่อว่า ฮีสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis) อีกด้วย
กรมควบคุมโรคแห่งประเทศไทย จึงเน้นย้ำว่า ไม่ควรรับประทานค้างคาว เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโรค ตั้งแต่ขั้นตอนการเข้าไปจับในถ้ำ หรือแม้จะไม่ได้เข้าไปในถ้ำ แต่ค้างคาวก็ได้จากการดักจับในป่า ก็ไม่ควรนำมารับประทาน เนื่องจากค้างคาวเป็นสัตว์ที่บินได้สูง และใช้คลื่นเสียงในการนำการเดินทาง หากบินต่ำหรือตกลงมาบนพื้น แสดงว่าค้างคาวตัวนั้นอาจป่วยเป็นโรค
ส่วนขั้นตอนการนำค้างคาวมาปรุงเป็นอาหารนั้น แม้จะมีการปรุงให้สุก แต่ก็ต้องผ่านการชำแหละ ล้างเนื้อ ซึ่งก็มีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของค้างคาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เราจึงไม่ควรสัมผัสกับค้างคาว ไม่ว่าจะด้วยหนทางใด ๆ
ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณที่ทั่วโลกตื่นตัว กับประเด็นเรื่องการบริโภคและการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ที่ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของงานอนุรักษ์เท่านั้น แต่เกี่ยวโยงถึงเรื่องการแพทย์ และความปลอดภัยด้านสุขภาพของมนุษย์ หากเราตระหนักและเข้าใจถึงปัญหา จะช่วยจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติของผู้บริโภค ส่งผลให้ความนิยมในการบิโภคสัตว์ป่า ลดลงได้ต่อไปในอนาคต