เผยหลักเกณฑ์อภัยโทษผู้ต้องขัง ยันเป็นไปตามกฎหมาย ไม่เลือกปฎิบัติ

โดย PPTV Online

เผยแพร่

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ถึงแนวทางการหลักเกณฑ์อภัยโทษผู้ต้องขัง ว่ายึดหลัก ความเสมอภาค เท่าเทียม ไม่มีการเลือกปฏิบัติพร้อมเสนอหลักการในส่วนของผู้ได้รับการพักการลงโทษ หรือลดวันต้องโทษจำคุก

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2564 เวลา 11.30 นาฬิกา นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงทำความเข้าใจต่อสังคมและประชาชนทั่วไป เรื่องหลักเกณฑ์การอภัยโทษเป็นการทั่วไปเป็นมาตรการอย่างหนึ่ง เพื่อจูงใจให้ผู้ต้องขังประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยเรือนจำ และพัฒนาพฤตินิสัย เพื่อพร้อมกลับประพฤติตน เป็นพลเมืองดีของสังคม โดยให้ได้รับการอภัยโทษตามความร้ายแรงของประเภทคดี และลดหลั่นกันไปตามชั้น ของนักโทษเด็ดขาด 

 

ราชทัณฑ์ มีมติ ไล่ออก - ปลดออก - ให้ออก 10 ผู้คุมเหตุทำผิดวินัย มีพฤติการณ์ที่เสื่อมเสีย

ราชทัณฑ์ ลุยปลูก “ฟ้าทะลายโจร” & “โกฐจุฬาลัมพา” หวังเป็นคลังยาช่วยต้านโควิด

ซึ่งเป็นตามหลักอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา รวมทั้งเป็นหลักการสากลการอภัยโทษ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ เป็นการทั่วไป (การอภัยโทษหมู่) และเป็นการเฉพาะราย 

โดยหลักการของการอภัยโทษทุกครั้งจะมีการแบ่งผู้ต้องขัง ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 
    1) ผู้ได้รับการปล่อยตัว 
    2) ผู้ได้รับการลดโทษ  
    3) ผู้ไม่ได้รับการลดโทษ

1. กลุ่มผู้ได้รับการปล่อยตัว             
        - ผู้ต้องกักขัง 
           - ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ 
        - ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ ที่เป็นผู้เจ็บป่วย พิการ  ชราภาพ
        - นักโทษเด็ดขาดที่เป็นผู้พิการ เจ็บป่วย ชราภาพ หรือได้รับโทษจำคุกมานานจนใกล้จะพ้นโทษแล้ว (เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี) 
        -  นักโทษที่ได้รับการพัฒนาพฤตินิสัยจนได้รับการเลื่อนชั้นเป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม เหลือโทษไม่เกิน 2 ปี ทั้งนี้ ผู้ที่จะได้รับการปล่อยตัวจะต้องเป็นนักโทษตั้งแต่ชั้นกลางขึ้นไป ไม่เป็นผู้กระทำความผิดซ้ำ และไม่เป็นผู้กระทำความผิดอาญาร้ายแรง เช่น ปล้น ฆ่า ข่มขืน คดีทุจริตฯ หรือคดียาเสพติดให้โทษ
    
2. กลุ่มผู้ได้รับการลดโทษ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามความร้ายแรงของคดี และได้รับการลดโทษ  ตามชั้นนักโทษเด็ดขาด
        - คดีอาญาทั่วไป ชั้นเยี่ยม ลดโทษ 1 ใน 2 จนถึงชั้นกลาง ลดโทษ 1 ใน  5
        - คดีอาญาร้ายแรงตามบัญชีท้าย พ.ร.ฎ.อภัยโทษ ชั้นเยี่ยม ลดโทษ 1 ใน 3 จนถึงชั้นกลาง ลดโทษ 1 ใน 6
        - คดียาเสพติดรายย่อย ชั้นเยี่ยม ลดโทษ 1 ใน 5 จนถึงชั้นกลาง ลดโทษ 1 ใน 8    
        - คดียาเสพติดรายใหญ่ (ต้องได้รับโทษจำคุกมาระยะหนึ่งแล้ว โดยจะไม่ได้อภัยโทษในครั้งแรก) ชั้นเยี่ยม ลดโทษ 1 ใน 6 จนถึงชั้นกลาง ลดโทษ 1 ใน 9
    
3. กลุ่มผู้ไม่ได้รับการอภัยโทษ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม 
        1. นักโทษเด็ดขาดประหารชีวิตที่เคยได้รับการลดโทษแล้ว
        2. นักโทษคดียาเสพติดรายใหญ่ ซึ่งได้รับโทษจำคุกมาไม่นาน 
        3. ผู้กระทำความผิดซ้ำที่ไม่ใช่นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม
        4. นักโทษชั้นต้องปรับปรุงหรือชั้นต้องปรับปรุงมาก หรือกระทำความผิดอาญาร้ายแรง เช่น      ฆ่า ข่มขืน จึงถูกจัดเป็นชั้นต้องปรับปรุงมาก หรือกระทำผิดระเบียบวินัยเรือนจำ จึงถูกลงโทษลดชั้น

โดยในการตรากฎหมายครั้งนี้ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ได้คำนึงถึงสัดส่วนในการบังคับโทษตามคำพิพากษาของศาล จึงได้มีการเสนอหลักการใหม่ ในส่วนของผู้ได้รับการพักการลงโทษ หรือลดวันต้องโทษจำคุก จากเดิมได้รับการปล่อยตัวไปในทุกกรณี เป็นให้ได้รับการลดโทษที่เหลืออยู่ และลดระยะเวลาคุมประพฤติ ลงครึ่งหนึ่ง ยกเว้นคนเจ็บป่วย พิการ ชราภาพ ให้ได้รับการปล่อยตัวไปเช่นเดียวกับนักโทษเด็ดขาด

ราชทัณฑ์ เปิด 38 เรือนจำให้ญาติเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง ยันปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด 19

ฝากขัง “เจ๊กั้ง” นายจ้างโหดพร้อมสมุนมือขวา ไร้ญาติยื่นประกันตัว
       
ทั้งนี้ กรมราชทัณฑ์ ขอให้สังคมและประชาชนเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ภายใต้กรอบของกฎหมาย และจะให้การดูแลผู้ต้องขังทุกคนด้วยความเสมอภาค เท่าเทียม ไม่มีการเลือกปฏิบัติ หรือให้สิทธิประโยชน์ต่อผู้ต้องขังกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ พร้อมให้โอกาสแก่ผู้กระทำความผิดได้กลับตนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ