เช้านี้เกิดปรากฏการณ์ “เหมยขาบ” ต้อนรับลมหนาวบนดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย ที่อุณหภูมิลดลงเหลือเพียง 4 องศาเซลเซียส ทำเอานักท่องเที่ยวหลายคนต่างเข้าไปถ่ายรูปเก็บภาพบรรยากาศสุดพิเศษแห่งปีกัน ไม่เพียงเท่านั้นชาวโซเชียลยังตื่นเต้นดีใจที่ฤดูหนาวปีนี้ของประเทศไทยนั้นมาเร็ว
โดยเฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า ปรากฏการณ์ “เหมยขาบ” ที่เกิดขึ้นในวันนี้ เป็นครั้งแรกของปีที่พบในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
หน้าหนาวต้องไปพักใจ รวมคาเฟ่เชียงใหม่ ที่ต้องไปชิล
ท่องเที่ยวไทยคึกคัก "อินทนนท์หนาวมาก" คนแห่สัมผัสอากาศหนาว
โดยพบบริเวณลานจอดรถหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ อน.5 (ยอดดอย)
แต่ปรากฏการณ์เหมยขาบนี้คืออะไร ทำไมถึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของฤดูหนาวและเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ทีมข่าวนิวมีเดียพีพีทีวี ได้รวบรวมข้อมูลมาฝากกัน ดังนี้
“เหมยขาบ” เป็นภาษาไทยพื้นถิ่นของภาคเหนือ ที่เอาไว้เรียก ละอองน้ำค้างที่กลายเป็นน้ำแข็งแผ่นบาง ๆ เกาะอยู่บนใบไม้ใบหญ้าในเวลาที่อากาศหนาวจัด โดยคำว่า “เหมย” แปลว่า “น้ำค้าง” ส่วนคำว่า “ขาบ” แปลว่า “ชิ้นเล็กๆ” เมื่อนำมาผสมกันจึงหมายความว่า น้ำค้างแข็งแผ่นบางๆ
อย่างไรก็ตาม “เหมยขาบ” ต่างจาก “แม่คระนิ้ง” (แม่-คะ-นิ้ง) ตรงที่แม่คระนิ้งนั้น จะใช้เรียกหยดน้ำค้างแข็งที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะเป็นภาษาไทยพื้นถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั่นเอง
สำหรับการเกิดเหมยขาบ และแม่คระนิ้ง ในประเทศไทยนั้นพบได้บนดอยหรือภูเขาสูงในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และ เลย ที่มีอุณหภูมิประมาณ 0 องศาเซลเซียส หรือติดลบเล็กน้อย
แต่การเกิดปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่ “น้ำค้างแข็ง” เพราะ เหมยขาบหรือแม่คระนิ้งนั้น จะเกิดขึ้นเมื่ออากาศมีความชื้นมาก ทำให้มีไอน้ำในอากาศมากตามไปด้วย จากนั้นเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็ง (freezing point) จะทำให้ไอน้ำที่อยู่ในสถาะก๊าซเปลี่ยนเป็นผลึกน้ำแข็งหรือเกล็ดน้ำแข็งโดยตรง จนเกิดเป็นเหมยขาบหรือแม่คระนิ้งที่เป็นผลึกเกาะอยู่บนใบไม้ใบหญ้า
ส่วนน้ำค้างแข็งนั้น แม้จะเกิดขึ้นเมื่ออากาศมีความชื้นและไอน้ำในอากาศมากขึ้นเช่นกัน แต่จะแตกต่างกันที่ อุณหภูมิต้องลดต่ำลงกว่าจุดน้ำค้าง (dew point) จึงจะกลายเป็นน้ำค้างแข็งให้เห็นเกาะอยู่บนใบไม้ใบหญ้า
ขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม
เข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว! สำรวจยอดดอยภาคเหนือ ผู้คนแห่เที่ยวคึกคัก
ยาแก้แพ้อาจไม่ใช่ทางออก!“ภูมิแพ้อากาศ” ปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกัน