คำค้น "กูเกิล" สะท้อนเทรนด์คนไทยหลังเผชิญโควิด-19

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ส่องคำค้นกูเกิลสะท้อนเทรนด์คนไทยอยากเที่ยวแล้ว หลังเริ่มปรับตัวอยู่กับโควิด-19 ได้ แนะผู้ประกอบการนำสถิติคำค้นวางแนวทางคว้าโอกาสธุรกิจ

ประกาศออกมาแล้วอย่างเป็นทางการกูเกิล (Google) เผยผลคำค้นหายอดนิยมประจำปี 2565 บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการช่วยเหลือคนจนจากรัฐบาลติดโผอันดับ 1 ของหมวดคำค้นหายอดนิยม ขณะที่เทรนด์การค้นหาเพื่อความบันเทิงเพิ่มมากขึ้นหลังสถานการณ์หลังโควิด-19 คลี่คลาย

"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" แชมป์ คำค้นหายอดนิยมประจำปี 2565

คอนเทนต์ "มาแรง" ปี 66 ทำแล้วปังแน่นอน

พีพีทีวี นิวมีเดีย มีโอกาสพูดคุยกับคุณสายใย สระกวี หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรและมวลชนสัมพันธ์ Google ประเทศไทย ถึงเทรนด์ปีที่ผ่านมาและมองไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน

เริ่มที่เทรนด์คำค้นกันก่อน "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" กลายเป็นคำค้นอันดับหนึ่ง เพราะ... 

โควิด-19 มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันไม่ใช่แค่สุขภาพ แต่กระทบไปถึงรายได้ ปากท้อง เศรษฐกิจโดยรวมเป็นอย่างมาก ทำให้รัฐบาลมีนโยบายหรือมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยผ่าน ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าครองชีพผ่าน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ทำให้ "คำ" ดังกล่าว มาแรงเป็นอันดับ 1 ที่มีการค้นหามากที่สุด ขณะที่ คนละครึ่งเฟส 5 มาเป็นอันดับ 3 ซึ่งก็เกี่ยวเนื่องกับมาตรการช่วยเหลือเช่นกัน แต่เป็นทุกกลุ่มคนที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์ทัน และเป็นนโยบายที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนถึงเฟสที่ 5

ขณะที่อันดับที่ 2 คือ แตงโม นิดา จากเหตุการณ์การเสียชีวิตของเธอที่เป็นที่กล่าวถึงอย่างมากในช่วงต้นปีที่ผ่านมา

Year in search  ปีนี้คนไทย ทั่วโลก เริ่มปรับตัวออกมาจากโควิด-19 เริ่มค้นหาคำต่างๆ นอกเหนือจากโควิด-19 เริ่มกลับมาใช้ชีวิต  แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า โควิด-19 มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเรา ต่อเศรษฐกิจโดยรวมเป็นอย่างมาก คำค้นหายอดนิยม คือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อันดับที่ 3 คนละครึ่งเฟส 5 ซึ่งทำให้เห็นว่าประชาชนยังต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐอยู่  ในขณะที่อันดับที่ 2 ข่าวการเสียชีวิตของ คุณแตงโม (คำว่า แตงโม นิดา) ซึ่งเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ และมีความเคลื่อนไหวมากกว่า 1 สัปดาห์ เลยได้รับความสนใจสูงมาก

แต่ "คำค้น" บางคำ กำลังจะหายไป เมื่อคนไทยเริ่มปรับตัวอยู่กับโควิด-19 และพร้อม "ออกจากบ้าน ท่องเที่ยว ทำกิจกรรม" แล้ว 

คุณสายใย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า คำที่กำลังจะหายไปคือที่เกี่ยวกับ โควิด-19 วัคซีน จากเมื่อก่อนวิธีการตรวจ RT-PCR วิธีการตรวจโควิด-19 แต่ปีนี้คนเริ่มหาวิธีการตรวจ ATK คนเริ่มหันกลับมาดูแลตัวเองมากขึ้น เป็นเทรนด์ที่เห็นเลยว่า จากคำว่า โควิด-19 คืออะไร จะลงทะเบียนวัคซีนอย่างไร เปลี่ยนมาเป็น วิธีตรวจ ATK อย่างไร วิธีรักษาโควิด-19 ที่บ้าน คืออะไร จะเห็นเลยว่าคนเริ่มปรับตัว ดูแลตัวเองที่บ้านมากขึ้น

คอนเทนต์แนะนำ
ผลฟุตบอลโลก 2022 วันศุกร์ที่ 9 ธ.ค.65 รอบ 8 ทีมสุดท้าย
น้ำมันลงอีก! โออาร์-บางจาก ลดเบนซิน 30-50 สต. ตามตลาดโลกขาลง

และถ้ามองข้ามไปถึงเทรนด์ปีหน้า (2566) จะเห็นว่า คนเริ่มปรับตัวมาทำกิจกรรมที่เหมือนเดิมก่อนโควิด-19 รวมถึงการเดินทางออกจากบ้านมากขึ้น โดยพบว่า

  • ร้านอาหารเมืองไทย คำค้นเพิ่มขึ้น  57%  เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
  • คาเฟ่ เพิ่มขึ้น  34%
  • เที่ยว เพิ่มขึ้น 53% 
  • โรงหนัง เพิ่มขึ้น 24%
  • คอนเสิร์ต เพิ่มขึ้น 135%

หรือ แม้กระทั่งคำว่า เที่ยว จะมีทั้ง เที่ยวกรุงเทพมหานคร  เที่ยวสุพรรณบุรี ซึ่งมีความแตกต่างจากอดีตที่เราคิดว่าเป็นหัวเมืองที่เที่ยว เชียงใหม่ ภูเก็ต นอกจากนี้ยังมี เที่ยวต่างประเทศใกล้ๆ สิงคโปร์ เวียดนาม

ทำให้เห็นได้เลยว่าคนไทยพร้อมกลับไปเป็นเหมือนเดิม พร้อมทำกิจกรรมนอกบ้าน กิจกรรมสันทนาการ กับเพื่อนๆ ครอบครัวมากขึ้นแล้ว

 

นอกจากนั้น เทรนด์ต่างๆ เหล่านี้ที่ผ่านคำค้นหาของกูเกิลยังสามารถเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการหลายคนมองลู่ทางทำธุรกิจในปีหน้า (2566) ได้

คอนเทนต์แนะนำ
2 บอร์ดการเงิน "กนง.-กนส." ชี้ 5 ปัจจัยเสี่ยง เตือนรับมือตลาดป่วน
[รีวิว] ลองสองเสือ Triumph Tiger 1200 ใหญ่-แรง-ล้ำ ราคาต่ำล้าน

คุณสายใย แนะนำว่า จริงๆ Year in search น่าจะเป็นผลดีกับผู้ประกอบการ เพราะอะไรที่มันป็อบปูลาร์ ความรู้ที่ได้จากลิสต์พวกนี้ ผู้ประกอบการสามารถเอาไปต่อยอดได้ เช่น คาเฟ่ มีคำเสิร์ชในลิสต์คาเฟ่ 9 ใน 10 คือ คาเฟ่นอกกรุงเทพฯ เห็นเลยว่า คนอยากขับรถไปที่ใกล้ๆ หรือตามสถานที่ต่างๆ

ซึ่งเมื่อก่อนจะคิดว่า Cafe Hopping เป็นคนกรุงเทพทำ แต่ปัจจุบันในแทบทุกจังหวัดมีคาเฟ่ดังๆ มีอะไรน่าสนใจ ซึ่งเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นแนวทางธุรกิจได้

ไปค่ะ เริ่มเลย เข้าอากู๋ กูเกิล อยากรู้อะไรจัดเลย! 

อ่านเพิ่มเติม: https://trends.google.com/trends/yis/2022/TH/

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ