ปากกา และ เสื้อกาวน์ แตกต่างอย่างลงตัว ฉบับ “หมอโอ๊ต พงศกร”

โดย PPTV Online

เผยแพร่

คุณหมอโอ๊ต ไม่ได้สวมเสื้อกาวน์เพียงอย่างเดียว แต่ยังจรดนิ้ว เรียบเรียงเรื่องราว ผ่านนามปากกา ‘พงศกร’

Coffee Club  พาเปิดใจ "นักเขียนเสื้อกาวน์"

เมื่อเอ่ยถึง คุณหมอโอ๊ต นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการสื่อสาร ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS นั้น ภาพในจินตนาการ​ไม่ได้สวมแค่เสื้อกาวน์เพียงอย่างเดียว แต่ยังได้จรดนิ้ว เรียบเรียงเรื่องราว ผ่านนามปากกา‘พงศกร’ รายการ Coffee Club EP10 จะพาไปเปิดใจ นักเขียนเสื้อกาวน์ผู้นี้ ทั้งในบทบาทของนักเขียน และแพทย์ผู้ชำนาญการ

คอนเทนต์แนะนำ
เผยแง่มุมความคิด ‘นักเขียนเสื้อกาวน์’ หมอโอ๊ต พงศกร | Coffee Club EP.10
เคล็ดลับแบ่งเวลาฉบับ “นักเขียนเสื้อกาวน์” ทำงานหนักยังไงให้สุขภาพดี มีสมดุลชีวิต

  • ปากกา และ เสื้อกาวน์ แตกต่างอย่างลงตัว ฉบับนักเขียนเสื้อกาวน์ ของ “หมอโอ๊ต พงศกร”

คุณหมอโอ๊ตเล่าว่า อาชีพหมอ เกิดจากความคิดในวัยเด็ก เพราะในช่วงมัธยมเกรดเฉลี่ยค่อนข้างดี ตอนนั้นกระแสของการเป็น หมอ วิศวะ เป็นตัวเลือกแรก ของเด็กยุคนั้น แม้ว่าจะเป็นกรอบความคิดของเด็ก แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือก ได้เห็นคุณอาที่เป็นหมอ มีชีวิตเกี่ยวพันกับการได้ช่วยเหลือผู้คน ตรงนั้นจึงเป็นสิ่งที่ทำให้ตัดสินใจเป็นหมอ

“เพราะชีวิตของผมค่อนข้างเกี่ยวพันกับคนป่วย แต่ขณะเดียวกันผมก็ชอบการเขียนหนังสือด้วย เมื่อถึงเวลาที่ผมต้องตัดสินใจเพื่อสอบเข้า จึงมีแนวคิดหนึ่งเข้ามาครับ ผมคิดว่าถ้าผมเรียนหมอ ผมสามารถเป็นนักเขียนได้ แต่ถ้าผมเรียนเขียนเลย ผมอาจจะรักษาคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยไม่ได้ ดังนั้นผมจึงเลือกที่จะเรียนแพทย์ครับ”

ในจุดนั้นคุณหมอโอ๊ต จึงตัดสินใจเลือกเดินในเส้นทางวิชาชีพแพทย์อย่างเต็มตัว เพราะเชื่อว่า คนเราสามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้ ถ้าเราบาลานซ์กิจกรรมเหล่านั้นดี  

คุณหมอเล่าให้ฟังว่า วิชาชีพแพทย์ช่วยในงานเขียนได้ดีมาก เพราะการเป็นแพทย์นอกจากจะเห็นอารมณ์หลาย ๆ แบบของมนุษย์แล้ว ยังถูกสอนให้คิดเป็นระบบด้วย ดังนั้น เวลาที่เราเขียนนวนิยาย จึงเขียนออกมาได้เป็นระบบแบบไม่หลงทาง

  • การเขียนไม่ได้จำกัดที่อายุ และเราสร้างมันได้ตั้งแต่เด็ก จุดเริ่มต้นของการ ‘เป็นนักเขียน’

เมื่อถามถึงการใช้ชีวิตในฐานะนักเขียน คุณหมอโอ๊ต ผ่านเวทีการประกวดวรรณกรรมมาแล้วมากมาย ละครดังหลายเรื่อง ที่ถ่ายทอดผ่านช่องโทรทัศน์ดัดแปลงมาจากหนังสือของคุณหมอ อาทิเช่น กลกิโมโน ลายกินรี สาปภูษา

จุดเริ่มต้นของการเขียนนิยาย เมื่อเขียนนวนิยายเรื่องแรกจบ และส่งเข้าตีพิมพ์กับนิตยสารแห่งหนึ่ง  คุณหมอบอกว่า

“การเขียนครั้งนั้นของผมไม่ได้คาดหวังอะไรเลยครับ ผมแค่เขียนนิยายของผมจบ เสร็จทุกขั้นตอน จัดการพับลงซองและส่งไปให้นิตยสาร อยู่มาวันหนึ่งก็มีธนาณัติ (ตราสารสำหรับการส่งเงินทางไปรษณีย์) มาส่งถึงที่บ้าน ตอนนั้น เด็กน้อยวัย 11 ขวบ ได้เงินจากค่าต้นฉบับ 200 บาท รู้สึกเยอะมากแล้ว”

คุณหมอมองว่า เด็กมีเส้นทางให้เลือก มีเส้นทางสำหรับสนับสนุนความหวังและความฝัน เหลือแค่ว่า เราต้องลงมือทำ เมื่อได้ลงมือทำ อาจจะนำไปสู่สองสิ่ง คือ สำเร็จ กับ ไม่สำเร็จ ถ้าไม่สำเร็จก็เห็นเส้นทางที่ยังไปต่อได้ ยิ่งถ้าสังคม โรงเรียน ครอบครัว สนับสนุน ความฝันของเราจะไปได้ไกลมากขึ้น

  • นิสัยนักอ่านตัวยง เริ่มได้จากครอบครัว

เมื่อต้องทำทั้งสิ่งที่รัก และสิ่งที่ต้องรับผิดชอบไปพร้อมกัน สิ่งสำคัญมากกว่าการลงมือทำคือการบริหารจัดการเวลา เทคนิคการจัดสรรเวลาของคุณหมอโอ๊ต ภายใต้นามปากกา พงศกร ต้องทำอย่างไร เรื่องนี้คุณหมอเปิดเผยว่า เมื่อเข้ามาอยู่ใน BDMS เต็มตัว จะเห็น Well Care ในมิติที่กว้างกว่าเดิม โดยเทรนด์ที่จะมาในอนาคต คือเรื่องของการส่งเสริม และป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ BDMS ขับเคลื่อนก่อนที่จะเกิดเทรนนี้ขึ้นอีกด้วย

“ต้องยอมรับเมื่อสมัยเป็นวัยรุ่น ผมใช้ร่างกายสำหรับการทำงานหนักอยู่เหมือนกัน เรียกได้ว่า ใช้ชีวิตแบบหามรุ่งหามค่ำกันเลยทีเดียว แต่มาถึงจุดหนึ่งที่เราอายุมากขึ้น เราทำไม่ไหวก็จะต้องมีการแบ่งเวลา ในช่วงหนึ่งที่มีโอกาสเขียนนิตยสารในเครือ BDMS นายแพทย์​ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ท่านได้คิดคำขึ้นมาคำหนึ่ง คือ คำว่า “Health Brings Wealth” ซึ่งคำนี้เป็นคำที่อธิบายทุกอย่างเลย”

ตัวละครในงานเขียนถือเป็นจุดสำคัญของการดำเนินเรื่อง คุณหมอโอ๊ตบอกว่า ก่อนจะดำเนินเรื่องให้สนุก คุณหมอโอ๊ตจะต้องรู้จักตัวละครของตัวเองให้ดีเสียก่อน ตัวอย่างเช่น ละครเรื่องรอยไหม ที่ตัวเอกมีทัศนคติว่าจะไม่มีเพศสัมพันธ์กับชายใดเลยถ้ายังไม่แต่งงาน ในจุดนี้ ผู้เขียนอาจจะเขียนได้ยาก ถ้าไม่รู้จักพื้นหลัง หรือ นิสัยของตัวละคร

“วิธีการแก้ปัญหาในจุดนี้ของผมคือการที่ เรารู้ เราสร้างพื้นเพของตัวละครไว้ในหัวเราอยู่แล้ว เมื่อเรารู้จักเหตุผลของตัวละครเป็นอย่างดี แม้ว่าผมจะไม่เขียนลงไปแต่ผมก็เข้าใจว่าเขาจะทำอะไรต่อผ่านการกระทำของตัวละครคนนั้น” คุณหมออธิบายถึงความสำคัญในการสร้างตัวละคร

  • บริหารชีวิตฉบับ คุณหมอ และ นักเขียน

นักเขียนทุกท่านต้องเคยเจอคำถามถึงการเขียนตอนจบเสมอ คุณหมอโอ๊ต ตอบคำถามนี้อย่างชัดเจน ว่า การเขียนของคุณหมอ คือการเขียนแบบมีเค้าโครงเรื่อง และการค้นคว้ามาอย่างเป็นระบบแล้ว ดังนั้น ในตอนจบ หากจำเป็นต้องมีตัวละครไหนต้องตาย ก็ต้องตาย จะไม่มีการเปลี่ยนทีหลัง แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่ไม่ได้บอกจุดจบของตัวละคร แต่จะเป็นการปล่อยให้ผู้อ่านพิจารณาเอาเอง แต่การเปลี่ยนตอนจบ ก็ไม่ใช่จะไม่มี คุณหมออธิบายเพิ่มเติมว่า เคยมีการเปลี่ยนตอนจบอยู่ 1 เรื่อง

“ตั้งแต่เขียนมามีอยู่เรื่องเดียวที่ผมตั้งธงเอาว่า อยากให้ตัวเอกต้องตายในตอนจบ แต่ขณะที่เขียนอยู่นั้น ผมได้รู้จักกับตัวละครมากขึ้น เรียนรู้ตัวละครมากขึ้น ตอนนั้นที่เริ่มเขียนผมรู้จักตัวละครของผมยังไม่ดีพอ เมื่อถึงจุดที่เขาต้องตาย ผมกลับรู้สึกว่าเขายังไม่ตาย เขายังมีความหวังที่เขาจะต้องไปต่อ”

  • กลยุทธ์การสร้างตัวละคร ฉบับ นักเขียนเสื้อกาวน์

อย่างที่รู้กันว่า หมอโอ๊ต เป็นนักอ่านตัวยง แต่เรื่องการเขียนเองก็มีความสามารถแบบเฉพาะตัวและไม่เหมือนใคร คุณหมอ จึงนำกลวิธีการเขียนฉบับหมอโอ๊ตมาแนะนำ

“การเขียนของผมไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก นักเขียนบางท่านอาจจะเลือกเขียนไปพร้อมกับการค้นคว้าข้อมูล ซึ่งผมมองว่าการที่ทำแบบนั้น เขาต้องเก่งมาก ๆ โดยส่วนตัวของผม จะเริ่มวางเค้าโครงเรื่องก่อนเป็นอันดับแรก”

คุณหมอโอ๊ตบอกว่า อันดับแรกของการเขียน คือการค้นคว้าข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณหมอ โดยทุกเรื่องที่เขียนจะใช้เวลาในการค้นคว้าไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในหัวจะเห็นเส้นเรื่องตั้งแต่บทแรก จนถึงบทสุดท้าย เหมือนเราได้ดูหนัง โดยการเรียงลำดับออกมาเป็นมายแมพปิ้ง ที่ทุกตัวละครจะต้องเชื่อมโยงกันหมด

  • ทุกตอนจบของนวนิยาย มีเหตุผลรองรับเสมอ

เมื่อถามถึง นวนิยายเรื่องไหนที่มีอิทธิพลทางความรู้สึกแก่ผู้อ่านมากที่สุด สื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจถึงแก่นแท้ ปลุกสังคมมากที่สุดจากที่คุณหมอเคยเขียน ในมุมมองของคุณหมอโอ๊ต บอกว่า คือเรื่อง ลิขิตชีวิต ที่พูดถึงการการุณยฆาต (Mercy Killing) เป็นการนำเสนอใน สองแง่มุม แบบที่ คนเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย

  • การจัดระบบการเขียน ก็เหมือนกับการจัดระบบร่างกาย

นักเขียนทุกคนมักมีจุดของการอยากเล่าในใจ จนต้องจรดปากกา เขียนบรรยายออกมาเป็นตัวอักษร สำหรับคุณหมอโอ๊ต อาจจะไม่ต่างจากทุกคนมากนัก เพียงแต่มีความพิเศษอยู่นิดหน่อยตรงมุมมองความคิด

 “ผมเชื่อว่านักเขียนทุกคนมีมุมที่อยากเล่าเป็นเรื่องปกติครับ แต่สำหรับผม เพราะผมเป็นคนชอบอ่าน ดังนั้น เมื่อมาถึงจุดหนึ่ง ผมรู้สึกว่าผมอ่านจนไม่มีอะไรที่อยากอ่านแล้ว เราจึงเริ่มคิดว่า น่าจะเขียนในสิ่งที่เราอยากอ่าน อีกอย่างคือ ผมค้นพบว่าการที่ผมเป็นนักเขียน เราสามารถสื่อสารกับคนได้ เมื่อเราต้องพูดหรืออธิบายเรื่องบางอย่างที่มีความซับซ้อนหรือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การได้เล่าผ่านตัวละครสักตัวในบท นวนิยายจึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถเล่าเรื่องราวเหล่านั้นได้อย่างสนุกสนานและเป็นธรรมชาติ”

นอกจากนี้ คุณหมอโอ๊ตยังบอกอีกว่า แนวคิดในการเขียนนิยายของคุณหมอ คือการเขียนให้หนังสือเล่มนั้นเป็นหนังสือที่ผู้อ่านได้อ่านแล้วรู้สึกว่าวางไม่ลง ได้อ่านแล้วรู้สึกคิดถึง หรืออ่านแล้วทิ้งอะไรสักอย่างเอาไว้ในใจ

  • ในฐานะของนักเขียน สิ่งที่คิดไว้เสมอคือ ไม่ตัดสินว่า ใครถูกใครผิด

นอกจากการเรียนที่ครอบครัวคอยสนับสนุนแล้ว อีกเรื่องที่สำคัญคือเรื่องการอ่าน คุณหมอโอ๊ต บอกว่า การที่ตนเองเป็นคนชอบเขียน เกิดมาจากนิสัยชอบอ่านก่อนเป็นอันดับแรก สิ่งสำคัญของการชอบอ่านเกิดจากการที่เห็นคนรอบข้างอ่านหนังสือ โดยเฉพาะคุณพ่อ โดยคุณหมอแชร์ประสบการณ์ ของตัวเองเมื่อตอนเด็กให้ฟังว่า

“มีอยู่วันหนึ่ง ที่ผมกับคุณพ่อไปเดินร้านหนังสือด้วยกัน ผมมีหนังสือที่ผมชอบ คุณพ่อก็มีหนังสือที่สนใจ แต่ตอนที่ต้องจ่ายเงิน ในขณะนั้นคุณพ่อเงินไม่พอ สิ่งที่คุณพ่อทำ เขาเลือกที่จะดึงหนังสือของตัวเองออก และจ่ายเงินเพื่อซื้อหนังสือของผมแทน บอกตามตรงว่าตอนนั้นเราก็ไม่เข้าใจ ด้วยความเป็นเด็ก ก็เลยถามไปซื่อ ๆ ว่าคุณพ่อไม่อ่านหนังสือหรอ? คุณพ่อยิ้มแล้วบอกว่า ไม่เป็นไรพ่ออ่านวันหลังได้ พ่ออยากให้ลูกได้อ่านมากกว่า  สิ่งหนึ่งที่นึกได้ตอนโตก็คือ ครอบครัวเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการปลูกฝังเรื่องการอ่าน แม้ว่าตอนนั้นอาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก แต่สำหรับผมคุณพ่อคือหนึ่งในแรงสนับสนุนสำคัญที่ทำให้ได้เป็นนักเขียนเหมือนอย่างทุกวันนี้

 

  • นวนิยายฉบับ หมอโอ๊ต อ่านแล้วคิดถึง อ่านแล้วทิ้งความรู้สึกเอาไว้ในใจ!  

นักเขียนทุกคนมักมีจุดของการอยากเล่าในใจ จนต้องจรดปากกา เขียนบรรยายออกมาเป็นตัวอักษร สำหรับคุณหมอโอ๊ต อาจจะไม่ต่างจากทุกคนมากนัก เพียงแต่มีความพิเศษอยู่นิดหน่อยตรงมุมมองความคิด

 “ผมเชื่อว่านักเขียนทุกคนมีมุมที่อยากเล่าเป็นเรื่องปกติครับ แต่สำหรับผม เพราะผมเป็นคนชอบอ่าน ดังนั้น เมื่อมาถึงจุดหนึ่ง ผมรู้สึกว่าผมอ่านจนไม่มีอะไรที่อยากอ่านแล้ว เราจึงเริ่มคิดว่า น่าจะเขียนในสิ่งที่เราอยากอ่าน อีกอย่างคือ ผมค้นพบว่าการที่ผมเป็นนักเขียน เราสามารถสื่อสารกับคนได้ เมื่อเราต้องพูดหรืออธิบายเรื่องบางอย่างที่มีความซับซ้อนหรือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การได้เล่าผ่านตัวละครสักตัวในบท นวนิยายจึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถเล่าเรื่องราวเหล่านั้นได้อย่างสนุกสนานและเป็นธรรมชาติ”

นอกจากนี้ คุณหมอโอ๊ตยังบอกอีกว่า แนวคิดในการเขียนนิยายของคุณหมอ คือการเขียนให้หนังสือเล่มนั้นเป็นหนังสือที่ผู้อ่านได้อ่านแล้วรู้สึกว่าวางไม่ลง ได้อ่านแล้วรู้สึกคิดถึง หรืออ่านแล้วทิ้งอะไรสักอย่างเอาไว้ในใจ

  • ในฐานะของนักเขียน สิ่งที่คิดไว้เสมอคือ ไม่ตัดสินว่า ใครถูกใครผิด

เมื่อถามถึง นวนิยายเรื่องไหนที่มีอิทธิพลทางความรู้สึกแก่ผู้อ่านมากที่สุด สื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจถึงแก่นแท้ ปลุกสังคมมากที่สุดจากที่คุณหมอเคยเขียน ในมุมมองของคุณหมอโอ๊ต บอกว่า คือเรื่อง ลิขิตชีวิต ที่พูดถึงการการุณยฆาต (Mercy Killing) เป็นการนำเสนอใน สองแง่มุม แบบที่ คนเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย

  • การจัดระบบการเขียน ก็เหมือนกับการจัดระบบร่างกาย

อย่างที่รู้กันว่า หมอโอ๊ต เป็นนักอ่านตัวยง แต่เรื่องการเขียนเองก็มีความสามารถแบบเฉพาะตัวและไม่เหมือนใคร คุณหมอ จึงนำกลวิธีการเขียนฉบับหมอโอ๊ตมาแนะนำ

“การเขียนของผมไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก นักเขียนบางท่านอาจจะเลือกเขียนไปพร้อมกับการค้นคว้าข้อมูล ซึ่งผมมองว่าการที่ทำแบบนั้น เขาต้องเก่งมาก ๆ โดยส่วนตัวของผม จะเริ่มวางเค้าโครงเรื่องก่อนเป็นอันดับแรก”

คุณหมอโอ๊ตบอกว่า อันดับแรกของการเขียน คือการค้นคว้าข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณหมอ โดยทุกเรื่องที่เขียนจะใช้เวลาในการค้นคว้าไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในหัวจะเห็นเส้นเรื่องตั้งแต่บทแรก จนถึงบทสุดท้าย เหมือนเราได้ดูหนัง โดยการเรียงลำดับออกมาเป็นมายแมพปิ้ง ที่ทุกตัวละครจะต้องเชื่อมโยงกันหมด

  • ทุกตอนจบของนวนิยาย มีเหตุผลรองรับเสมอ

นักเขียนทุกท่านต้องเคยเจอคำถามถึงการเขียนตอนจบเสมอ คุณหมอโอ๊ต ตอบคำถามนี้อย่างชัดเจน ว่า การเขียนของคุณหมอ คือการเขียนแบบมีเค้าโครงเรื่อง และการค้นคว้ามาอย่างเป็นระบบแล้ว ดังนั้น ในตอนจบ หากจำเป็นต้องมีตัวละครไหนต้องตาย ก็ต้องตาย จะไม่มีการเปลี่ยนทีหลัง แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่ไม่ได้บอกจุดจบของตัวละคร แต่จะเป็นการปล่อยให้ผู้อ่านพิจารณาเอาเอง แต่การเปลี่ยนตอนจบ ก็ไม่ใช่จะไม่มี คุณหมออธิบายเพิ่มเติมว่า เคยมีการเปลี่ยนตอนจบอยู่ 1 เรื่อง

“ตั้งแต่เขียนมามีอยู่เรื่องเดียวที่ผมตั้งธงเอาว่า อยากให้ตัวเอกต้องตายในตอนจบ แต่ขณะที่เขียนอยู่นั้น ผมได้รู้จักกับตัวละครมากขึ้น เรียนรู้ตัวละครมากขึ้น ตอนนั้นที่เริ่มเขียนผมรู้จักตัวละครของผมยังไม่ดีพอ เมื่อถึงจุดที่เขาต้องตาย ผมกลับรู้สึกว่าเขายังไม่ตาย เขายังมีความหวังที่เขาจะต้องไปต่อ”

  • กลยุทธ์การสร้างตัวละคร ฉบับ นักเขียนเสื้อกาวน์

ตัวละครในงานเขียนถือเป็นจุดสำคัญของการดำเนินเรื่อง คุณหมอโอ๊ตบอกว่า ก่อนจะดำเนินเรื่องให้สนุก คุณหมอโอ๊ตจะต้องรู้จักตัวละครของตัวเองให้ดีเสียก่อน ตัวอย่างเช่น ละครเรื่องรอยไหม ที่ตัวเอกมีทัศนคติว่าจะไม่มีเพศสัมพันธ์กับชายใดเลยถ้ายังไม่แต่งงาน ในจุดนี้ ผู้เขียนอาจจะเขียนได้ยาก ถ้าไม่รู้จักพื้นหลัง หรือ นิสัยของตัวละคร

“วิธีการแก้ปัญหาในจุดนี้ของผมคือการที่ เรารู้ เราสร้างพื้นเพของตัวละครไว้ในหัวเราอยู่แล้ว เมื่อเรารู้จักเหตุผลของตัวละครเป็นอย่างดี แม้ว่าผมจะไม่เขียนลงไปแต่ผมก็เข้าใจว่าเขาจะทำอะไรต่อผ่านการกระทำของตัวละครคนนั้น” คุณหมออธิบายถึงความสำคัญในการสร้างตัวละคร

  • บริหารชีวิตฉบับ คุณหมอ และ นักเขียน

เมื่อต้องทำทั้งสิ่งที่รัก และสิ่งที่ต้องรับผิดชอบไปพร้อมกัน สิ่งสำคัญมากกว่าการลงมือทำคือการบริหารจัดการเวลา เทคนิคการจัดสรรเวลาของคุณหมอโอ๊ต ภายใต้นามปากกา พงศกร ต้องทำอย่างไร เรื่องนี้คุณหมอเปิดเผยว่า เมื่อเข้ามาอยู่ใน BDMS เต็มตัว จะเห็น Well Care ในมิติที่กว้างกว่าเดิม โดยเทรนด์ที่จะมาในอนาคต คือเรื่องของการส่งเสริม และป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ BDMS ขับเคลื่อนก่อนที่จะเกิดเทรนนี้ขึ้นอีกด้วย

“ต้องยอมรับเมื่อสมัยเป็นวัยรุ่น ผมใช้ร่างกายสำหรับการทำงานหนักอยู่เหมือนกัน เรียกได้ว่า ใช้ชีวิตแบบหามรุ่งหามค่ำกันเลยทีเดียว แต่มาถึงจุดหนึ่งที่เราอายุมากขึ้น เราทำไม่ไหวก็จะต้องมีการแบ่งเวลา ในช่วงหนึ่งที่มีโอกาสเขียนนิตยสารในเครือ BDMS นายแพทย์​ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ท่านได้คิดคำขึ้นมาคำหนึ่ง คือ คำว่า “Health Brings Wealth” ซึ่งคำนี้เป็นคำที่อธิบายทุกอย่างเลย”

  • กลยุทธ์การสร้างตัวละคร ฉบับ นักเขียนเสื้อกาวน์

ตัวละครในงานเขียนถือเป็นจุดสำคัญของการดำเนินเรื่อง คุณหมอโอ๊ตบอกว่า ก่อนจะดำเนินเรื่องให้สนุก คุณหมอโอ๊ตจะต้องรู้จักตัวละครของตัวเองให้ดีเสียก่อน ตัวอย่างเช่น ละครเรื่องรอยไหม ที่ตัวเอกมีทัศนคติว่าจะไม่มีเพศสัมพันธ์กับชายใดเลยถ้ายังไม่แต่งงาน ในจุดนี้ ผู้เขียนอาจจะเขียนได้ยาก ถ้าไม่รู้จักพื้นหลัง หรือ นิสัยของตัวละคร

“วิธีการแก้ปัญหาในจุดนี้ของผมคือการที่ เรารู้ เราสร้างพื้นเพของตัวละครไว้ในหัวเราอยู่แล้ว เมื่อเรารู้จักเหตุผลของตัวละครเป็นอย่างดี แม้ว่าผมจะไม่เขียนลงไปแต่ผมก็เข้าใจว่าเขาจะทำอะไรต่อผ่านการกระทำของตัวละครคนนั้น” คุณหมออธิบายถึงความสำคัญในการสร้างตัวละคร

  • บริหารชีวิตฉบับ คุณหมอ และ นักเขียน

เมื่อต้องทำทั้งสิ่งที่รัก และสิ่งที่ต้องรับผิดชอบไปพร้อมกัน สิ่งสำคัญมากกว่าการลงมือทำคือการบริหารจัดการเวลา เทคนิคการจัดสรรเวลาของคุณหมอโอ๊ต ภายใต้นามปากกา พงศกร ต้องทำอย่างไร เรื่องนี้คุณหมอเปิดเผยว่า เมื่อเข้ามาอยู่ใน BDMS เต็มตัว จะเห็น Well Care ในมิติที่กว้างกว่าเดิม โดยเทรนด์ที่จะมาในอนาคต คือเรื่องของการส่งเสริม และป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ BDMS ขับเคลื่อนก่อนที่จะเกิดเทรนนี้ขึ้นอีกด้วย

“ต้องยอมรับเมื่อสมัยเป็นวัยรุ่น ผมใช้ร่างกายสำหรับการทำงานหนักอยู่เหมือนกัน เรียกได้ว่า ใช้ชีวิตแบบหามรุ่งหามค่ำกันเลยทีเดียว แต่มาถึงจุดหนึ่งที่เราอายุมากขึ้น เราทำไม่ไหวก็จะต้องมีการแบ่งเวลา ในช่วงหนึ่งที่มีโอกาสเขียนนิตยสารในเครือ BDMS นายแพทย์​ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ท่านได้คิดคำขึ้นมาคำหนึ่ง คือ คำว่า “Health Brings Wealth” ซึ่งคำนี้เป็นคำที่อธิบายทุกอย่างเลย”

สิ่งที่รู้สึกได้คือ ถึงจะ Wealth  แค่ไหน ถ้า Health ไม่ดี ก็ไม่มีประโยชน์  ในตอนนั้นก็เห็นด้วยมาก เพราะเมื่อย้อนกลับมาคิด ในช่วงที่เราเป็นวัยรุ่น เราก็มีแค่ Health ที่ดี แต่ไม่มี Wealth  แต่มันจะมีประโยชน์อะไรถ้าแก่ตัวไปแล้วมี Wealth แต่ Health ไม่ดี พอคิดได้แบบนั้นจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเอง และจัดเวลาใหม่

  • การจัดเวลาสำหรับงานเขียน และ งานแพทย์

ต้องยอมรับว่า การเขียนนวนิยาย ต่อเรื่อง หรือ ต่อตอน ต้องใช้สมาธิค่อนข้างมาก วิธีการจัดเวลา จึงเลือกเอางานเขียนไปไว้ช่วงตอนดึก และงานประจำจะอยู่ในช่วงกลางวัน คุณหมอบอกว่า เลือกใช้ช่วงเวลาที่ยังสามารถบาลานซ์ได้อยู่ เพราะถ้าเสียบาลานซ์จะทำให้ร่างกายเสียสมดุลไปด้วย

“ผมเลือกใช้ช่วงเวลา หลังจากกลับบ้าน อาบน้ำกินข้าวเรียบร้อยแล้ว เพื่อเขียนนวนิยาย และปรับเปลี่ยนตัวเองจากที่แต่ก่อนจะเขียนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะง่วง ปัจจุบันจะลิมิตเป็นเวลาไว้เลยว่าก่อนหนึ่งทุ่ม ก่อนสองทุ่ม เป็นช่วงที่มีพลังอยู่ แต่ก็ยืดหยุ่นได้ไม่เกินสี่ทุ่ม”

  •  การบาลานซ์ที่ดี ต้องเริ่มตั้งแต่อายุเท่าไหร่

ในรายการ Coffee Club ได้ถามคำถามสำคัญกับคุณหมอว่า มนุษย์เราต้องเริ่มบาลานซ์ชีวิตกันตั้งแต่อายุที่เท่าไหร่ และอายุมีผลหรือไม่ สำหรับการหาจุดสมดุล คุณหมอโอ๊ตตอบได้น่าสนใจว่า การบาลานซ์ต้องเริ่มตั้งแต่เรายังเด็ก เพราะการเสียบาลานซ์จะทำให้เราติดนิสัย และไม่สามารถสมดุลชีวิตได้ การปรับตอนโตไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นไม่ได้ แต่เกิดขึ้นได้ยาก

  • ปรับทัศนคติการบาลานซ์ชีวิต เพื่อ Health Brings Wealth

ทุกอย่างไม่มีอะไรสายเกินไป คุณหมอโอ๊ตบอกว่า หลายคนมักคิดว่า เมื่ออายุเยอะ การเปลี่ยนแปลงมันสายเกินไปแล้ว แต่ในความเป็นจริง ไม่มีอะไรที่สายเกินไป เพราะการที่คิดว่าสายเกินไปนั้น จะทำให้เราไม่ทำการเปลี่ยนแปลง

“มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครับ ถ้าเราคิดแล้วเราทำ แต่มันจะสายเกินไปครับ ถ้าเราคิดแต่เราไม่ทำ ยิ่งถ้าเรารีบเปลี่ยนแปลงได้เร็ว ต้นทุนก็จะเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสุขภาพ จุดเปลี่ยนของหลายคนอยู่ที่ตรงนี้จริง ๆ เท่าที่ผมสัมผัสมา”

สุดท้าย คุณหมอโอ๊ตบอกว่า การเปลี่ยนแปลงในสมัยนี้เกิดขึ้นเร็วมาก ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ หรือ ในงานเขียนก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ ๆ คือการแสดงความคิดเห็นในสิ่งแย่ ๆ ออกไปในโลกโซเชียล ซึ่งในส่วนนี้เป็นสิ่งที่ต้องปรับแก้ เพราะมันเป็นสิ่งที่เราเองไม่รู้ตัวเหมือนกัน มันมากับการเปลี่ยนแปลง หรือที่เรียกว่า Disruption Syndrome ทางแก้ที่จะทำได้คือ ต้องตระหนักว่าหากเราเคารพในความรู้สึกเขา เขาจะเคารพในความรู้สึกเราเหมือนกัน

 

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ