เปิดตำนาน “วันเช็งเม้ง” มีที่มาอย่างไร ทำไมต้องไหว้ในเดือนที่ร้อนสุด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“วันเช็งเม้ง” เกิดมาจากการรวมกันของ 2 เทศกาลในสมัยโบราณของจีน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวไทยเชื้อสายจีนต้องไปไหว้ในเดือนที่ร้อนที่สุดในไทย

คำว่า "เช็งเม้ง" เป็นสำเนียงมาจากจีนแต้จิ๋ว หากจะออกเสียงเป็นภาษาจีนกลาง เราจะต้องออกเสียงว่า ชิงหมิง (Qingming) โดยสมัยก่อนคำว่า เช็งเม้ง ไม่ได้หมายถึงวันหรือเทศกาลใด เทศกาลหนึ่ง

แต่เช็งเม้งหมายถึง ช่วงเวลาที่กำลังจะเปลี่ยนจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของจีน ถือเป็นช่วงเวลาที่อากาศดี เหมาะแก่การมาเที่ยวชมธรรมชาติในบรรยายกาศที่มีใบไม้ผลิดอก ออกผลกัน นั่นเอง

คอนเทนต์แนะนำ
เปิด 11 รายชื่อ รถไฮไลท์ในงาน Motor Show 2023 จัดเต็มหลังอั้นมานาน !
พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า เฝ้าระวัง "พายุฤดูร้อน" 25-27 มี.ค.นี้

 

 

 

 

แล้วจากวันอากาศดี กลายเป็นวันไหว้บรรพบุรุษได้อย่างไร?

จริงๆ แล้วเช็งเม้งแยกออกมาจาก 2 เทศกาล คือ เทศกาลกินเย็น (หานสือเจี๋ย) กับ เทศกาลเฉลิมฉลองการเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ (ซ่างสื้อเจี๋ย) โดยมีตำนานเล่าขานกันว่า

เทศกาลกินเย็น คือ เทศกาลที่เราจะกินอาหารกันแบบเย็นๆ ไม่ใช้ไฟในการทำ โดยเล่ากันว่าสมัยก่อนเราใช้ไฟในการให้ความอบอุ่น หุงหาอาหาร จะมีการจุดไฟไว้กลางชุมชน ชาวบ้านคนไหนอยากใช้ไฟก็ให้มาต่อไฟจากกลางชุมชน แต่ชาวจีนมีความเชื่อกันว่า ของเก่าเป็นสิ่งไม่ดี การจุดไฟทิ้งไว้ตลอดเวลาย่อมไม่ดี จึงมีการดับไฟและจุดไฟขึ้นมาใหม่ทุก 2-3 ครั้งต่อปี แต่การจะดับไฟที่สำคัญต่อชุมชนและจุดขึ้นใหม่ ต้องมีความเกี่ยวข้องกับฤกษ์ยามในการดับหรือจุดไฟ และในช่วงเวลาเช็งเม้ง เป็นช่วงที่อากาศดี จึงเหมาะเป็นฤกษ์ยามที่ดีในการจุดหรือดับไฟ และในวันที่ดับไฟ จะอุ่นหรือทำอาหารร้อนไม่ได้ เลยมีเทศกาลกินเย็นนั่นเอง

แต่แทนที่จะหนีออกมาจากป่าได้ เขากลับถูกไฟคลอกตายอยู่ในป่า ตามตำนานเล่าว่าเจ้าแคว้นเสียใจมากจึงออกคำสั่งให้งดใช้ไฟในวันนี้ของทุกปี เพื่อระลึกถึงบุญคุณผู้มีบุญคุณของคนสนิทเจ้าแคว้น ทำให้ทุกคนจะต้องกินอาหารเย็นๆ

ตั้งแต่นั้นมา ตำนานความเชื่อนี้ก็ถูกส่งต่อและเล่าไปเรื่อยๆ ทำให้คนเกิดข้อสงสัยว่าทำไมเราต้องระลึกถึงบุญคนอื่นด้วย เราระลึกถึงบุญคุณบรรพบุรุษเราเองไม่ดีกว่าหรือ เทศกาลกินเย็นจึงไปมีความเกี่ยวข้องกับการไหว้บรรพบุรุษตรงนี้เอง

ส่วน เทศกาลเฉลิมฉลองการเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเชื่อกันว่า วิญญาณจะจำศีลอยู่ในช่วงฤดูหนาว เราจึงต้องมีการปลุกวิญญาณขึ้นมา เพื่อบอกให้ขึ้นมารับเครื่องเซ่นไหว้ที่ลูกหลานส่งมาให้และนอกจากเป็นช่วงเวลาปลุกวิญญาณแล้ว ประกอบกับบรรยายกาศที่เย็นสบาย คนจึงออกไปเที่ยวในช่วงฤดูใบไม้ผลิกัน ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองด้วย

แม้ว่าตอนแรกจะแบ่งเป็น 2 เทศกาลแต่ด้วยการปรับเปลี่ยนตัดเติมอะไรต่างๆ ตามยุคสมัย 2 เทศกาลนี้จึงค่อยๆ รวมกันกลายเป็นเทศกาลใหม่ที่ชื่อว่า "เช็งเม้ง" โดยเริ่มเป็นกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์ถัง และแพร่หลายสู่คนทั่วไปในสมัยราชวงศ์ซ่ง จนกลายมาเป็นเช็งเม้งที่ลูกหลานชาวจีนจะมากราบไหว้บรรพบุรุษกันในปัจจุบันนั่นเอง

คอนเทนต์แนะนำ
"บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565" รีบยืนยันตัวตน มิเช่นนั้นสิทธิจะลดลง!
ออมเงินให้บุตรหลาน เดือนละ 300 เดือนถัดไปรับเงินสมทบเพิ่ม 150 บาท
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566

เรื่องที่คุณอาจพลาด
วิดีโอยอดนิยม

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP ไลฟ์สไตล์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ