เข้าพรรษา2567 เช็กข้อปฎิบัติญาติโยม นั่งรับพรอาจทำพระอาบัติ?

โดย PPTV Online

เผยแพร่

แกะคำถามที่ค้างคาใจ ก่อนเข้าพรรษาและอาสาฬหบูชา พีพีทีวี พาเช็กข้อปฎิบัติญาติโยม ที่อาจทำให้พระสงฆ์อาบัติโดยไม่รู้ตัว

ถือเป็นคำถามที่สงสัยกันมาช้านาน สำหรับชาวพุทธศาสนิกชน ในเรื่องของการเข้าวัดทำบุญวันพระใหญ่ และความเกี่ยวเนื่องกับข้อปฎิบัติสำหรับชาวพุทธที่ข้อไหนทำได้ และข้อไหนที่ทำไม่ได้ พีพีทีวีพาไขคำตอบอีกหนึ่งคำถาม เมื่อการรับพรจากพระนั้น ต้องนั่งหรือยืน และ นั่งได้หรือไม่ถ้าไม่สะดวกยืน เพราะพีพีทีวีจะพาไขความกระจ่าง เช็กข้อปฎิบัติญาติโยมที่อาจทำให้พระสงฆ์อาบัติโดยไม่รู้ตัว บทความนี้มีคำตอบ! 

คอนเทนต์แนะนำ
รวมงานบุญใหญ่ "อาสาฬหบูชา - เข้าพรรษา" และพิกัด "แห่เทียนพรรษา" ทั่วไทย ปี 2567
ไขข้อสงสัย!? "วันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา" ต้องเวียนเทียนไหม

ในเข้าพรรษา และ อาสาฬหบูชา การนั่งรับพรพระสงฆ์บาปหรือไม่ ช่างภาพพีพีทีวี
การนั่งรับพรพระสงฆ์บาปหรือไม่

  • การรับพรจากพระสงฆ์ในอดีต

ในอดีตกาลยังมีการระบุว่า การแสดงธรรมในรูปแบบพรรณนาอานิสงส์ของการทำบุญให้ท่าน เรียกว่า “อนุโมทนา” แต่ปัจจุบันใช้คำเปลี่ยนไปเป็น “ให้พร”

  • รับพรพระสงฆ์ที่เปลี่ยนไป

ปัจจุบันประเพณีให้พรขณะบิณฑบาตได้แพร่หลายไปยังภาคต่าง ๆ ของประเทศ การใส่บาตรกับพระสงฆ์ จึงเป็นที่นิยมในชาวพุทธเพื่อความเป็นสิริมงคลให้แก่การใช้ชีวิตของตนเอง โดยเฉพาะในวันทำบุญใหญ่ หรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยสมัยปัจจุบัน มีโยมที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำบุญใส่บาตรถวายทานว่า หากไม่ได้รับพรก็จะไม่ได้บุญ หรือ ได้รับบุญที่น้อยลง เมื่อรับพรแล้วจะได้บุญเต็มที่ แต่แท้จริงแล้ว การได้บุญไม่ได้อยู่ที่การได้รับพร แต่อยู่ที่ เจตนารมณ์ของญาติโยมเอง

  • นั่งรับพรอาจทำพระอาบัติ?

อย่างไรก็ตาม การนั่งรับพรหลังใส่บาตรในปัจจุบัน อาจทำพระสงฆ์ผิดธรรมวินัย จนนำปสู่การอาบัติได้ โดยข้อมูลจากวินัยปิฎก วิ.มหาวิ. ๒/๙๔๐ ระบุว่า เวลาบิณฑบาต พระต้องสำรวมตา ซึ่งเป็นวัตรอย่างหนึ่ง ต้องประพฤติในคราวเข้าไปในละแวกบ้าน พระท่านยืนให้พร โยมนั่งรับพร ยิ่งไม่สมควรถือว่าไม่เคารพธรรม ดังนั้น พระยืนแสดงธรรมแก่คนที่นั่งไม่ได้ป่วยไข้ ต้องอาบัติทุกกฎ ดังที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า “ภิกษุควรใส่ใจว่า เรายืนอยู่ จะไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่” ชาวบ้านผู้มาใส่บาตร เมื่อใส่เสร็จแล้ว และนั่งยองๆ อยู่ ซึ่งถ้าหากท่านให้พรไป ก็จะเป็นการแสดงธรรมแก่ผู้นั่งอยู่ โดยที่ตัวท่านเองก็ยืนอยู่ การแสดงธรรม (ให้พร) ไปในลักษณะนั้น ก็เท่ากับเป็นการไม่เคารพพระธรรม

  • คู่มือรับพรที่ถูกต้อง

จึงสรุปได้ว่า การนั่งรับพรอาจไม่ใช่ประเด็นหลักที่สบายกว่าหรือไม่ แต่อยู่ที่การอยู่กว่าพระสงฆ์เพียงเท่านั้น ดังนั้นหากใส่บาตรเสร็จแล้ว ถ้าพระให้พร คือ การแสดงธรรม ควรยกมือ ยืนไหว้ ไม่ควรนั่งไหว้ เพราะ จะทำให้พระต้องอาบัติ เพราะพระภิกษุไม่เคารพในธรรม เพราะฉะนั้นควรยืนไหว้ รับพร แต่ถ้าท่านไม่ได้แสดงธรรม จะยืนไหว้ หรือ กราบลงที่พื้นก็ได้

ที่มาข้อมูล : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ , มูลนิธิศึกษาเผยแพร่พระพุทธศาสนา, คู่มือโยม

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ