เคล็ดลับถ่ายภาพฝนดาวตก ต้อนรับการมาของ ‘ฝนดาวตกโอไรออนิดส์’

โดย PPTV Online

เผยแพร่

เตรียมพบปรากฎการณ์ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของ ‘ดาวหางฮัลเลย์’ ที่ยังหลงเหลืออยู่ในจักรวาล และจะตกลงมายังโลกให้ได้ชมความสวยงามกันในวันที่ 21 ต.ค.นี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เผยว่า ในคืนวันที่ 21 เวลาประมาณ 22.30 น. ไปจนถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ต.ค.นี้ จะมีฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ซึ่งเป็นร่องรอยของดาวหางฮัลเลย์ มาเยือนโลกอีกครั้ง! 

ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ จะวนเวียนมาให้เห็นได้ทุกปี ในช่วงวันที่ 2 ต.ค. - 7 พ.ย. ในขณะที่ ‘ดาวหางฮัลเลย์’ ผู้เป็นดาวที่ทิ้งร่องรอยนี้เอาไว้ กลับพบเจอได้ยาก เพราะจะวนมาทุก ๆ 75 - 76 ปีเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นการได้เก็บภาพเศษเสี้ยวของดาวหางฮัลเลย์ ก็เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นไม่ใช่น้อย

คอนเทนต์แนะนำ
รู้จัก "ดาวหางฮัลเลย์" กับคำบอกรักที่ซ่อนอยู่ในเนื้อเพลง
ห้ามพลาด! ชมฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของ “ดาวหางฮัลเลย์”

เตรียมอุปกรณ์ในการถ่ายภาพฝนดาวตก 

ใจพร้อม อุปกรณ์ก็ต้องพร้อม เพื่อให้ได้เก็บภาพประทับใจได้เหมือนตาเห็น เริ่มจากการเตรียมขาตั้งกล้อง และกล้องที่คมชัด ปรับค่าแสงให้เหมาะสม แล้วเริ่มถ่ายได้เลย 

อุปกรณ์ที่ต้องมี 

  • เป็นกล้องดิจิทัล เลนส์มุมกว้าง ปรับความไวแสงได้สูง (ISO) จะได้เก็บแสงของฝนดาวตกได้ดี 

  • เลนส์ไวแสง จะช่วยให้เก็บแสงได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องปรับค่า ISO สูง ๆ เลย 

  • เลนส์มุมกว้าง จะช่วยให้เก็บภาพดาวตกได้ในมุมกว้าง เพิ่มโอกาสถ่ายดาวติดมากขึ้น 

  • ขาตั้งกล้องที่มั่นคง เพราะหากถ่ายด้วยมือ อาจทำให้ภาพสั่นได้ 

ถ่ายภาพฝนดาวตกด้วยกล้องมือถือได้ไหม 

กล้องโทรศัพท์มือถือก็สามารถถ่ายภาพฝนดาวตกได้ แต่จำเป็นต้องมีกล้องที่คุณภาพสูง และมีคุณสมบัติดังนี้ 

  • มี Manual Mode หรือโหมดที่สามารถตั้งค่าเองได้ 

  • สามารถตั้งค่า ISO ได้สูง 

  • สามารถกด Shutter Speed ได้สูง 

  • มีรูรับแสงกว้าง 

  • ปรับ Manual Focus ได้ 

ใครที่มีกล้องโทรศัพท์มือถือที่สามารถตั้งค่าได้ตามนี้ ลองทดลองถ่ายภาพดวงดาวบ่อย ๆ รอถึงวันเกิดฝนดาวตกได้เลย เพื่อหาการตั้งค่าต่าง ๆ ที่เหมาะสมที่สุดกับโทรศัพท์มือถือและฝนดาวตก

ขอบคุณภาพจาก NARIT

เคล็ดลับการถ่ายภาพฝนดาวตกให้ได้ภาพที่ถูกใจ 

นอกจากอุปกรณ์ที่ดีแล้ว ยังมีเคล็ดลับสำหรับการถ่ายภาพฝนดาวตกให้ได้ภาพที่ถูกใจ ด้วยการหาจุดถ่ายภาพที่มืดที่สุด ท้องฟ้าเปิด ตั้งค่า ISO ของกล้องให้สูงที่สุด โดยที่ภาพถ่ายยังมีคุณภาพที่ดี ถ่ายต่อเนื่อง 3-4 ชม. ใช้ค่ารูรับแสงกว้าง และปิดระบบ Long Exposure Noise Reduction เพื่อให้ถ่ายภาพได้อย่างต่อเนื่อง 

และอีกหนึ่งเคล็ดลับคือ ควรหาไฟฉายสีแดงแบบคาดหัว เพราะแสงสีแดงรบกวนสายตาเราน้อยที่สุด ปรับการมองเห็นได้เร็วเมื่อมองไปยังท้องฟ้า และยังหยิบจับอุปกรณ์ได้คล่องแคล่วอีกด้วย 

ดูฝนดาวตกที่ไหนดี 

ใจพร้อม อุปกรณ์พร้อม สถานที่ก็ต้องพร้อมเช่นกัน ดวงดาวนั้นสามารถมองเห็นได้ชัดเมื่อมีแสงน้อย การถ่ายภาพฝนดาวตกในเมือง ก็คงจะมองเห็นได้น้อย เพราะมีแสงไฟมาก ใครอยากไปหาที่ดูดาว ต้องไปตามเช็กลิสต์นี้! 

  • หอดูดาว 

อุทยานดาราศาสตร์ หอดูดาวในประเทศไทย มีทั้งหมด 4 จุด ตาม 4 ภูมิภาค ได้แก่ เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา และสงขลา  

  • ยอดเขาเทวดา สุพรรณบุรี 

ยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติพุเตย (ตะเพินคี่) เป็นหน่วยย่อยของอุทยานแห่งชาติพุเตย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นสถานที่ยอดฮิตในการตั้งแคมป์ดูดาวกันเลย 

  • เนินช้างศึก กาญจนบุรี 

ตั้งอยู่ที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ บนเนินสามารถมองเห็นได้ทั้งชายแดนฝั่งไทยและฝั่งพม่า ไร้แสงรบกวน สามารถดูดาวได้แบบสุดลูกหูลูกตา 

  • สนามมวกเหล็กเอทีวี สระบุรี 

สถานที่ทำกิจกรรมเชิงผจญภัย อยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะทางแสงน้อย ไม่มีชุมชนอื่นอยู่ในพื้นที่ติดกันทำให้บริหารจัดการแสงสว่างโดยรอบได้อย่างอิสระ มีกิจกรรมดูดาวในช่วงเดือนตุลาคม - เมษายน ตั้งอยู่ที่ ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี 

  • อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ชัยภูมิ 

อุทยานแห่งชาติภูแลนคา อยู่ที่ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นพื้นที่โล่งกว้าง และยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ทำมากมาย รวมถึงกิจกรรมดูดาวด้วย 

สุดท้ายนี้ นอกจากใช้สายตาเพ่งมองไปที่กล้อง เพื่อได้ภาพสวย ๆ แล้ว อย่าลืมมองฝนดาวตกด้วยตาเปล่า เพื่อเก็บความประทับใจเอาไว้ในใจด้วยนะ

ขอบคุณข้อมูลจาก: Pantip ล่าดาวด้วยมือถือ, NARIT, เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด, Good life by kaidee

ราชกิจจาฯเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 11 แกนนำพันธมิตรฯ

กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566

ประกาศเตือนฉบับที่ 4 พายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้น!

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ