เมื่อพูดถึง ดาวหางฮัลเลย์ ตอนนี้หลายคนคงจะนึกถึง “ขออยู่ในชีวิตที่เหลือของเธอได้ไหม...” เพลงรักโรแมนติก จาก Fellow Fellow ที่มีเนื้อเพลงหวานสื่อถึงดาวหางดวงนึงในอวกาศ ซึ่งนั่นก็คือ ดาวหางฮัลเลย์ นอกจากความสำคัญของดวงดาวแล้ว เนื้อเพลงยังได้พูดถึงตัวเลขอื่น ๆ ที่วันนี้เราจะมาแกะกันว่าท่อนที่พูดถึงการกระทำแต่ละอย่างนั้น คู่รักต้องใช้เวลาคบกันเท่าไหร่ถึงจะทำได้ครบเหมือนกับในบทเพลงนี้
ส่วนหนึ่งจาก เนื้อเพลง “ดาวหางฮัลเลย์”
(ท่อน) อยากเป็นคนที่ได้นอนดูดาวข้างเธออีกหมื่นวัน
- ถ้านอนดูดาว 10,000 วัน จะเท่ากับ 864,000,000 วินาที = 14,400,000 นาที = 240,000 ชั่วโมง = 1,428 สัปดาห์ = 328 เดือน คิดเป็นประมาณ 27 ปี ที่ต้องใช้เวลานอนดูดาวด้วยกัน
(ท่อน) และเอนไปจุมพิตเธอสักล้านครั้ง
- จุมพิต 1,000,000 ครั้ง ถ้าเฉลี่ย 20 ครั้ง/วัน ต้องจุมพิต 50,000 วันถึงจะครบ 1,000,000 ครั้ง ซึ่งจะเท่ากับประมาณ 137 ปี
(ท่อน) ยังมีเพลงรักเป็นพันบทเพลงรอแชร์ให้เธอได้ฟัง
- เพลง 1000 เพลง ส่งให้เธอเฉลี่ย 2 เพลง/วัน เท่ากับต้องใช้เวลา 500 วัน ดังนั้นถ้าจะต้องส่งเพลงวันละ 2 เพลงให้ถึง 1,000 บทเพลง ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี 4 เดือน
(ท่อน) และมีดาวหางดวงนึงที่ยังโคจรในอวกาศ ในช่วงชีวิตจะมีหนึ่งครั้งที่มองเห็นได้ด้วยตา
ดาวที่ฉันยังไม่เคยเห็นมาก่อน ขอให้ถึงวันนั้น ได้มีเธอรอดูมันด้วยกันกับฉัน
ดาวหางที่เนื้อเพลงกล่าวถึง คือ “ดาวหางฮัลเลย์” ดาวหางที่คนไทยมีความคุ้นเคยและรู้จักมากที่สุด เหตุเพราะดาวหางมีความสว่างที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ชัด
เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ เป็นผู้คำนวณและทำนายการปรากฏตัวของดาวหางได้สำเร็จเป็นคนแรกด้วยฮัลเลย์พบว่าดาวหางดวงนี้จะโคจรกลับมาให้เห็นบนท้องฟ้าทุกๆ 75 - 76 ปี ฮัลเลย์ได้ใช้ข้อมูลจากที่มีผู้บันทึกการพบเห็นดาวหางที่ปรากฏในปี ค.ศ. 1531, 1607 และ 1682 โดยฮัลเลย์สันนิฐานว่าดาวหางที่ปรากฏนี้น่าจะเป็นดาวหางดวงเดียวกัน และฮัลเลย์ได้ทำนายว่าดาวหางดวงนี้จะกลับมาปรากฏตัวอีกครั้งในปี ค.ศ. 1759 แต่ฮัลเล่ย์ไม่สามารถพิสูจน์ผลการคำนวณและทำนายของเขาได้เนื่องจากเขาได้เสียชีวิตไปก่อนที่ดาวหางจะมาปรากฏตัว ถึงแม้ว่าฮัลเลย์จะเสียชีวิตไปแล้วแต่คำทำนายของเขายังคงอยู่ และในปี ค.ศ. 1758 ตามคำทำนายของฮัลเลย์ก็มีผู้พบเห็นดาวหางดวงนี้ปรากฏตัวขึ้นจริง ๆ ในวันคริสต์มาสของปีนั้นเอง สร้างความตื่นเต้นแก่ผู้คนในโลกตะวันตกเป็นอย่างมาก ในเวลาต่อมาดวงนี้จึงได้ชื่อตามชื่อของเขาว่า “ดาวหางฮัลเลย์”

ดาวหางฮัลเลย์ตกล่าสุด
ดาวหางแฮลลีย์ปรากฏครั้งล่าสุดใน ค.ศ. 1986 และจะกลับมาอีกครั้งในกลาง ค.ศ. 2061
ดาวหางฮัลเลย์ในประเทศไทย
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2529 ดาวหางฮัลเล่ย์ เริ่มปรากฏบนฟากฟ้าทางภาคใต้ของประเทศไทย สามารถมองเห็นชัดได้ด้วยตาเปล่า
ดูฝนดาวตกโอไรออนิดส์ได้วันไหน
เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22:30 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ตุลาคม บริเวณกลุ่มดาวนายพราน (Orion) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวง/ชั่วโมง
สรุปแล้วหากคู่รักสามารถทำได้ตามในเนื้อเพลง "ดาวหางฮัลเลย์" จะใช้เวลาคบกันประมาณ 240 ปี
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ราชกิจจาฯเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 11 แกนนำพันธมิตรฯ
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566