รู้จัก "ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน" จากภารกิจช่วย 13 หมู่ป่าสู่ดราม่าค่าเข้าเฉียดพัน

โดย PPTV Online

เผยแพร่

รู้จัก "ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน" จากปฏิบัติการช่วยชีวิต 13 หมูป่า สู่ดราม่าเก็บค่าเข้าคนไทย 950 บาท ต่างชาติ 1,500 บาท

จากกรณีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมภายใน อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยมีการกำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับคนไทยมีค่าเข้าชม 950 บาท และชาวต่างชาติ 1,500 บาท ซึ่งทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นราคาที่สูงเกินไป

ต่อมา นายชุติเดช กมรณชนุตม์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (สพบ.15) ชี้แจงว่าทำไมถึงต้องมีการเก็บค่าเข้าชมที่สูง โดยในโถงที่ 1 จะมีความลึกประมาณ 200 เมตร สามารถเข้าชมได้ฟรี

ดราม่า! เก็บค่าเข้าชมโถง 2-3 ถ้ำหลวง คนไทย 950 บาท ต่างชาติ 1,500 บาท

อุทยานฯแจงดราม่าถ้ำหลวงเก็บค่าเข้าชม 950 บาท เฉพาะโถง 2-3 ส่วนโถง 1 เข้าฟรี

ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน,ค่าเข้าถ้ำหลวง,13 หมูป่า,ภารกิจช่วยหมูป่า ช่างภาพพีพีทีวี
ภารกิจช่วย 13 หมูป่าภายในถ้ำหลวง เมื่อปี 2561

แต่โถงที่ 2 และ 3 ถือว่ามีความลึกและต้องดูแลความปลอดภัยเป็นพิเศษ จึงจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ผู้กู้ภัย และผู้นำเที่ยวท้องถิ่น เข้าไปพร้อมกับนักท่องเที่ยว บางช่วงต้องปีนที่สูง 4-5 เมตรอย่างต่ำ บางจุดต้องลอดช่องแคบๆ ซึ่ง 950 บาทถือว่าไม่แพงเลย

ย้อนเหตุการณ์ 13 ชีวิต "หมูป่า" ติดถ้ำหลวง

ย้อนไปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2561 เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ถ้ำหลวง เมื่อสำนักงานพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ 15 รับแจ้งว่ามีเด็กนักฟุตบอล 12 คนและโค้ช 1 คนได้เดินทางเข้าไปเที่ยวในถ้ำ ก่อนหายตัวไปช่วงเย็นวันเดียวกัน จึงกลายเป็นปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือที่กินเวลายาวนานถึง 18 วัน หรือ 400 กว่าชั่วโมง และทุกคนได้รับการช่วยเหลือออกมาได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตามปฏิบัติการครั้งนี้แลกมาด้วย 1 ชีวิต ของ จ.อ.สมาน กุนัน หรือ จ่าแซม อดีตหน่วยซีลที่เสียชีวิตขณะดำน้ำออกจากถ้ำ หลังจากลำเลียงขวดอากาศไปยังจุดต่างๆ ภายในถ้ำ

"ถ้ำหลวง" ถ้ำที่ยาวเป็นอันดับ 4 ของไทย

นักธรณีวิทยาได้จัดลำดับให้ถ้ำหลวงเป็นถ้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย ด้วยความยาวทั้งหมด 10,316 เมตร ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย หน่วยงานดูแลหลักคือ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 เชียงราย  มีส่วนที่เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว 2 ส่วน คือ ส่วนของวนอุทยานถ้ำหลวง และ ส่วนของขุนน้ำนางนอน บนเนื้อที่ราว 5,000 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 453 เมตร

"วนอุทยานถ้ำหลวง" มีลักษณะเป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีน้ำซับตลอดทั้งปี และจะมีน้ำใหลในช่วงฤดูฝน มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม และมีค้างคาวอาศัยอยู่ด้วย ในถ้ำจะพบกับความงามของ เกล็ดหินสะท้อนแสง หินงอก หินย้อย ธารน้ำและถ้ำลอด  ถ้ำหลวงเป็นหนึ่งในถ้ำที่ยังคงมีการสำรวจจากนักท่องเที่ยวอยู่ตลอดเวลา เพราะการสำรวจมักไปได้ไม่ถึงที่หมายก็ต้องถอยออกมาเพราะมีอุปสรรคมากมายภายในถ้ำ นอกจากนี้ยังมีถ้ำเล็ก ๆ อีก 3 แห่งในบริเวณเดียวกัน

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

1. สภาพธรณีวิทยานอกถ้ำ ประกอบไปด้วยชั้นหินปูน หมวดหินราชบุรี (Ratburi Group) ที่เกิดอยู่ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) ต่อยุคเพอร์เมียน (Permian) ซึ่งมีช่วงอายุระหว่าง 345-230 ล้านปี หินที่พบมีทั้งหินปูน (Limesmtone) และหินอ่อน (Marble) สีเทาถึงเทาดำ มีซากบรรพชีวิน (Fossil) สลับด้วยหินดินดาน (Shale) สีเทา

2. สภาพธรณีวิทยาภายในถ้ำ ประเภทของถ้ำหลวงเป็นถ้ำกึ่งแห้ง เนื่องจากบางส่วนยังมีการเกิดของหินงอก และหินย้อยอยู่ และบางส่วนแห้งแล้ว หินที่พบในพื้นที่ประกอบด้วยหินปูนสีเทาอ่อน (Limestone) หินอ่อน (Marble) หินยุคนี้อยู่ในช่วงอายุประมาณ 270-320 ล้านปี ปากทางเข้าถ้ำสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 433 เมตร แนวโถงถ้ำมีโถงหลักเพียงโถงเดียว แต่เส้นทางคดเคี้ยว บางช่วงเดินเข้าถึงได้ง่าย บางช่วงมีเพดานต่ำ จนถึงเส้นทางเดินลำบาก มีความยาวรวม 759.76 เมตร ซึ่งการสำรวจของนักสำรวจสิ้นสุดที่ห้องลับแล เนื่องจากทางที่จะไปโถงอื่น ๆ นั้นลำบากมาก

ประกาศแล้ว! “ผลสลากกาชาด 2566” เช็กวิธีตรวจผล-ขึ้นเงินรางวัล ที่นี่

กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566

แผ่นดินไหวจีนขนาด 6.2 เขย่ามณฑลกานซู่ เสียชีวิตแล้วมากกว่า 100 ราย

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ