มีรายงานว่า บริษัท แอปเปิล (Apple) ได้ขอให้ซัพพลายเออร์ในไต้หวันตรวจสอบให้แน่ใจว่า การจัดส่งผลิตภัณฑ์แอปเปิลจากไต้หวันไปยังประเทศจีนนั้น ปฏิบัติตามกฎระเบียบศุลกากรของจีนอย่างเคร่งครัด และต้องระบุในผลิตภัณฑ์เหล่านั้นว่า “ผลิตในประเทศจีน (Made in China)”
นโยบายนี้เกิดขึ้นหลังจากการเยือนไต้หวันของ แนนซี เพโลซี ประธานรัฐสภาสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะทำให้สินค้าที่มาจากสหรัฐฯ และไต้หวันต้องเผชิญกับอุปสรรคทางการค้ามากขึ้น
จีนประกาศซ้อมรบเพิ่มเติมอีก 1 เดือนในทะเลป๋อไห่ กดดันไต้หวัน
ขีปนาวุธจีนล้ำน่านน้ำ อาจทำประชาชนญี่ปุ่นหนุนเพิ่มงบด้านทหาร
จีนระงับความร่วมมือสหรัฐฯ 8 ด้าน ตอบโต้การเยือนไต้หวันของ “เพโลซี”
โดยเมื่อวันศุกร์ (5 ส.ค.) แอปเปิลบอกกับบรรดาบริษัทซัพพลายเออร์ในไต้หวันว่า จีนได้เริ่มบังคับใช้กฎที่ว่า ชิ้นส่วนและส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ผลิตในไต้หวันจะต้องระบุหรือติดป้ายว่า “ผลิตใน ไต้หวัน, จีน (Taiwan ,China) หรือ จีนไทเป (Chinese Taipei)”
ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ เรียกร้องให้ซัพพลายเออร์ในไต้หวันดำเนินการเรื่องนี้ด้วยความเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้นหากสินค้าและส่วนประกอบถูกกักไว้เพื่อตรวจสอบหรือตีกลับ หากระบุว่าเป็นสินค้าที่ “ผลิตในไต้หวัน”
หากเกิดาหยุดชะงักขึ้นจะทำให้แอปเปิลสูญเสีย “เวลา” อันมีค่าไป เพราะในช่วงนี้ ซัพพลายเออร์หลายเจ้ากำลังเตรียมส่วนประกอบที่จะนำไปใช้กับ ไอโฟน (iPhone) รุ่นใหม่ และผลิตภัณฑ์ใหม่อื่น ๆ ที่จะเปิดตัวในฤดูใบไม้ร่วง (ก.ย.) นี้
การระบุว่า “ผลิตในไต้หวัน” ในแบบฟอร์มการนำเข้าสินค้า บนเอกสารหรือกล่องบรรจุใด ๆ อาจทำให้การขนส่งถูกกักและตรวจสอบโดยศุลกากรจีน มิหนำซ้ำยังมีบทลงโทษสำหรับการละเมิดกฎดังกล่าว โดยมีโทษปรับสูงสุด 4,000 หยวน (ราว 21,000 บาท) หรือในกรณีที่เลวร้ายที่สุด คือการจัดส่งถูกปฏิเสธและตีกลับ
สิ่งนี้ทำให้เกิดภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกสำหรับซัพพลายเออร์ที่ต้องการจัดส่งวัสดุ ส่วนประกอบ หรือชิ้นส่วนจากไต้หวันไปยังประเทศจีน เพราะรัฐบาลไต้หวันเอง ก็กำหนดว่า การส่งออกทั้งหมดต้องติดฉลากแหล่งกำเนิดซึ่งต้องมีคำว่า “ไต้หวัน” หรือชื่อทางการ “สาธารณรัฐจีน (Republic of China)”
นโยบายใหม่ของแอปเปิลเกิดขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้ มีการจัดส่งจากไต้หวันไปยังโรงงานประกอบไอโฟนแห่งหนึ่งของในประเทศจีนถูกระงับในวันพฤหัสบดี (4 ส.ค.) เพื่อดูว่า แบบฟอร์มสำแดงการนำเข้าหรือกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์มีป้ายกำกับว่า “ไต้หวัน” หรือ “สาธารณรัฐจีน” หรือไม่
เพื่อหลีกเลี่ยงความโกลาหลในการขนส่งและการหยุดชะงักของซัพพลายเชนเพิ่มเติม แอปเปิลยังบอกซัพพลายเออร์ให้จัดทำแผนฉุกเฉินหรือแผนตรวจสอบและแก้ไขฉลากบนกล่องและแบบฟอร์ม เพื่อให้การจัดส่งผลิตภัณฑ์จากไต้หวันไปยังจีนเป็นไปอย่างรวดเร็ว
เรียบเรียงจาก Nikkei Asia
ภาพจาก AFP
คนรุ่นใหม่ใช้ TikTok ในการค้นหาข้อมูลมากกว่ากูเกิลแล้ว?
“กูเกิล” หนีไม่พ้น เงินเฟ้อ-เศรษฐกิจถดถอย กระทบอุตสาหกรรมโฆษณาออนไลน์