สถาบันสถาปนิกแห่งอังกฤษ (Royal Institute of British Architects หรือ RIBA) รายงานว่า ในปี 2567 สถาปนิกชาวอังกฤษกว่า 41% เลือกใช้เครื่องมือ AI ในงานออกแบบบ้างเป็นครั้งคราว ขณะเดียวกัน สถาบันสถาปนิกแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Institute of Architects หรือ AIA) ระบุว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า บริษัทสถาปัตยกรรมในสหรัฐฯ 90% มีแนวโน้มจะปรับใช้เครื่องมือ AI ในการทำงานมากขึ้น
แม้ว่ากระแสการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการทำงานจะยังเป็นที่ถกเถียงกันทั่วโลก แต่ด้วยปัญหาการขาดแคลนบุคลากร เนื้องานที่มีความซับซ้อน และการขาดไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ถือเป็นแรงกระตุ้นอย่างหนึ่งที่ทำให้หลายกลุ่มอาชีพไม่กลัวที่จะนำเครื่องมือ AI มาใช้ เพื่อเสริมการทำงานเสมือนเป็นหนึ่งในสมาชิกของทีม
“ประทีป” ปัดเป็นเทวดา สคบ. ลั่นไม่เกี่ยวข้องบอสพอล-ไม่มีใครสั่งได้!
LINE เตรียมยุติใช้งานเวอร์ชัน 12.18.0 บน iOS - Android พ.ย.นี้
โดรนฮิซบอลเลาะห์เจาะระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิสราเอลได้?
เช่นเดียวกับกลุ่มอาชีพ “สถาปนิก” ที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และความแม่นยำแข่งกับเวลาที่มีจำกัด การเลือกใช้เครื่องมือ AI ในการทำงานจึงพบมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีเครื่องมือ AI ที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในวงการออกแบบ ดังนี้
Midjourney
โปรแกรมแสดงภาพจากการป้อนคีย์เวิร์คที่ต้องการเข้าไป ทำหน้าที่เสมือนเป็นหนึ่งในทีมระดมสมองที่ช่วยคิดคอนเซ็ปต์ของงานให้ไหลลื่นและเดิมเต็มจินตนาการในการออกแบบให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
XKool
โปรแกรมออกแบบภาพรวมของโครงการ สามารถเปลี่ยนจากภาพ Sketch หรือคำสั่งรูปแบบข้อความ (Prompt) ให้กลายเป็นกาพดิจิทัลแบบ Realtime นอกจากนี้ ยังสามารถเปลี่ยนเป็น Video เพื่อความน่าสนใจในการนำเสนอแก่ลูกค้าด้วย
Blocktype
โปรแกรมคำนวณขนาดพื้นที่สำหรับการก่อสร้าง โดยจะแสดงภาพ Sketch ให้ผู้ออกแบบเห็นภาพรวม ขอบเขตพื้นที่ที่เหมาะสม ก่อนดำเนินการในขั้นต่อไป
Autodesk Forma
ช่วยวิเคราะห์ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพแสงในตอนกลางวัน ทิศทางของลม ประเมินระดับอุณหภูมิและความชื้น และประเมินระดับเสียงจากถนน
Wazzadu AI
โปรแกรมช่วยค้นหาและเทียบเคียงวัสดุพัฒนาโดยบริษัทของไทย โปรแกรมจะใช้เทคโนโลยี AI Visual Recogniton เทียบเคียงจากภาพที่ผู้ใช้ป้อนลงไป และจะแสดงรายละเอียดของวัสดุที่ใกล้เคียง คุณสมบัติ และราคาในคราวเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม การนำเครื่องมือ AI มาใช้ ยังไม่นับว่าเป็นการทำงานแทนสถาปนิกได้ทั้งหมด แต่เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจากในบางขั้นตอน เช่น การให้คำปรึกษากับลูกค้า และการลงพื้นที่ตรวจความเรียบร้อยระหว่างการก่อสร้าง จนถึงช่วงสิ้นสุดการดำเนินงาน สถาปนิกยังจำเป็นจะต้องพูดคุยและตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ด้วยตัวเอง