"วิกฤตอาหารโลก" อาหารแพง คนอดยาก
วิกฤตอาหารโลกส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารอย่างเฉียบพลันไปทั่วโลก ด้วยราคาที่แพงขึ้น หลายประเทศงดส่งออก อาจส่งผลทำให้ ผู้คนหลายล้านคนในหลายสิบประเทศกำลังเผชิญกับความอดอยาก
ประชากรเกือบ 193 ล้านคนใน 53 ประเทศ กำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงด้านอาหาร อย่างเฉียบพลัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเกือบ 40 ล้านคน
14 ประเทศ “ระงับส่งออกสินค้าอาหาร” ส่อขาดแคลนทั่วโลก
โลกกำลังเผชิญ “ความหิวโหย” ครั้งประวัติศาสตร์ กับ วิกฤตขาดแคลนอาหาร
ต้นตอของปัญหาวิกฤตอาหารโลก
- ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนและชาติตะวันตก ทำให้ผู้คนจำนวน 139 ล้านคนใน 24 ประเทศเกิดความไม่มั่นคงด้านอาหารเฉียบพลัน เพิ่มขึ้นจาก 99 ล้านคนในปีก่อน
- สภาพอากาศที่เลวร้ายส่งผลกระทบกับ 23 ล้านคนใน 8 ประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 15.7 ล้านคน
- ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด -19 ผู้คนมากกว่า 30 ล้านคนใน 21 ประเทศ ลดลงจาก 40 ล้านคนใน 17 ประเทศที่
จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เปิดเผย ดัชนีราคาอาหาร (Food Price Index) ปี 2564 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 125.7 เพิ่มขึ้น 28.1% เมื่อเทียบกับปี 2563 สูงสุดในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2554 ที่แตะระดับ 131.9 และแนวโน้มในปี 2565 ดัชนีราคาอาหารยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นเกือบ 30% เมื่อเทียบกับเมษายนปีก่อน (องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO)
ราคาอาหารแพงขึ้นนำไปสู่ความไม่มั่นคงด้านอาหาร
ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประเทศที่มีรายได้น้อย เพราะการซื้ออาหารคิดเป็นครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ผู้คนราว 10 ล้านคนทั่วโลกจะถูกผลักไปสู่สถานะที่ยากจนขึ้น เมื่อราคาสินค้าปรับขึ้นทุก 1% โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ข้อมูลจากธนาคารโลก ) และมีผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตอาหารแพงและขาดแคลนอาหารมากถึง 1,800 ล้านคน
หลายประเทศ “งดส่งออก”
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบุว่า หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศตลาดเกิดใหม่ ความไม่มั่นคงด้านอาหารเป็นสาเหตุของความไม่สงบทางสังคมและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นก่อให้เกิดการประท้วงในศรีลังกา ตูนิเซีย และเปรู แม้กระทั่งประเทศอุตสาหกรรมหลักอย่างอังกฤษและฝรั่งเศสก็มีมาตรการแจกคูปองอาหารให้กับครัวเรือนที่ยากจน
วิกฤตที่เกิดขึ้นยังทำให้ประเทศผู้ผลิตอาหารออกนโยบาย "ห้ามส่งออก" เพื่อรักษาสมดุลอาหารของคนในประเทศ ทั้งรัสเซีย ยูเครน อินโดนีเซีย คาซัคสถาน อาร์เจนตินา อินเดีย มาเลเซียห้ามส่งออกเนื้อไก่ จนทำให้ข้าวมันไก่ อาหารประจำชาติสิงคโปร์ต้องขาดตลาด
สหรัฐฯ ประกาศช่วยรัสเซียส่งออกอาหาร-ปุ๋ย เพื่อลดต้นทุนราคาอาหารโลก
ได้ข้อสรุป! ยูเครนใกล้จะส่งออกสินค้าอาหาร-การเกษตรได้อีกครั้ง
ด้าน Mr. David Beasley กรรมการบริหาร โครงการอาหารโลก ความหิวโหยเฉียบพลันกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และสถานการณ์ทั่วโลกก็เลวร้ายลงเรื่อย ๆ ความขัดแย้ง วิกฤตสภาพภูมิอากาศ โควิด 19 ค่าอาหารและเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น ได้ก่อให้เกิดพายุหลายลูกที่ถาโถมเข้ามาพร้อม ๆ กัน และตอนนี้ภัยพิบัติได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้คนหลายล้านคนในหลายสิบประเทศกำลังเผชิญกับความอดอยาก