อย่าคิดว่าแค่ไม่สวยจนชะล่าใจ “เส้นเลือดขอด” โชคร้ายถึงขั้นเสียชีวิต
เส้นเลือดขอด แขนขาไม่สวยไม่ว่า แต่หากไม่รีบรักษาอาจส่งผลให้เกิดแผลหลอดเลือดดำได้
ต้องเข้าใจก่อนว่า ร่างกายของเรามีหลอดเลือดดำใต้ผิวหนัง แบ่งออกเป็น
- หลอดเลือดดำชั้นตื้น (Superficial Vein)
- หลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep Vein)
ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่บีบหลอดเลือดดำเพื่อส่งเลือดดำกลับเข้าสู่หัวใจ เมื่อหลอดเลือดดำที่ขาผิดปกติ ส่งผลให้เลือดไม่สามารถถูกลำเลียงกลับเข้าสู่หัวใจได้ทั้งหมด หรือเกิดการย้อนกลับของเลือดดำจากวาล์ว (Valve) รั่วชำรุด ทำให้เลือดดำค้างในหลอดเลือดแล้วเกิดการขยายตัวกลายเป็น “เส้นเลือดขอด” (Varicose Vein)
“กลิ่นตัว” เรื่องใหญ่ที่เราไม่ได้กลิ่นแต่คนรอบข้างถอยห่าง
“เล็บพยากรณ์โรค” ยกขึ้นมาเช็กกันสักนิด รับมือได้หาแพทย์ทัน
ความรุนแรงของเส้นเลือดขอด
- มีตั้งแต่เห็นเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ (Spider Vein) ปวดขา เท้า และขาบวม เห็นหลอดเลือดโป่งพองมีลักษณะคดเคี้ยวคล้ายกับตัวหนอน สีผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้น ผิวหนังแห้งแข็ง
- โรคเส้นเลือดดำพร่องเรื้อรัง (Chronic Venous Insufficiency) เกิดจากระดับความดันในเส้นเลือดดำสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หากเส้นเลือดขอดมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะทำให้ระดับความรุนแรงสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้เช่นกัน อาจเริ่มจากอาการบวมที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก แต่หากไม่ได้รับการรักษา ก็จะนำพาไปสู่การเกิดแผลหลอดเลือดดำซึ่งต้องใช้เวลารักษาหลายเดือนทีเดียว
- เกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดดำ ซึ่งเกิดในกรณีที่เป็นเส้นเลือดขอดนานๆ และไม่ได้รับการรักษา จนเกิดเป็นลิ่มเลือดหลอดเลือดดำ จนมีอาการปวดบวมตามมา แต่ที่ร้ายแรงกว่านั้น หากลิ่มเลือดเกิดหลุดเข้าสู่หลอดเลือดแล้วเข้าไปถึงปอด กรณีนี้อาจทำให้เสียชีวิตตามมาได้เลย
ปัจจัยเสี่ยงเส้นเลือดขอด
- อายุ
- น้ำหนักเกิน
- อาชีพ ที่ต้องยืนหรือนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน
- เพศ ที่ผู้หญิง มีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดขอดมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่ปริมาณของเลือดสูงขึ้น ทำให้เกิดการตึงของหลอดเลือด รวมถึงระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ผนังกล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัวจนลิ้นเปิดปิดเลือดอาจทำงานบกพร่อง
- ภาวะร่วม อย่างเช่น หลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ เคยมีลิ่มเลือดอุดตัน เป็นต้น
อาการบอกโรค
ส่วนใหญ่เส้นเลือดขอดมักไม่แสดงอาการให้เห็น ยกเว้นจากการสังเกตความผิดปกติ ได้แก่
- มองเห็นเส้นเลือดคดเคี้ยวและนูนออกมา
- เส้นเลือดปรากฏสีม่วงเข้มหรือสีฟ้าบริเวณขา
- เมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ หนักขา
- บวม ร้อนขาส่วนล่าง
- ปวดเมื่อนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน
- เลือดออกจากเส้นเลือดขอด
- ผิวหนังอักเสบหรือมีแผลพุพองบริเวณผิวหนังใกล้ข้อเท้า
ภาวะแทรกซ้อน
- หลอดเลือดที่ขอดเกิดการอักเสบและอุดตัน
- หากเกิดอุบัติเหตุแล้วเส้นเลือดขอดฉีกขาดจะเสียเลือดมาก
- หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจเกิดการแตกของเส้นเลือดขอดที่อยู่ชิดผิวหนัง ทำให้มีแผลโดยตรงบนผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดออกเป็นจำนวนมากจากหลอดเลือดโดยตรง
ตรวจวินิจฉัยโรค
ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ชนิดพิเศษสำหรับหลอดเลือด (Duplex Ultrasound) ซึ่งต้องทำเพื่อประเมินหาสาเหตุแอบแฝง มิฉะนั้นจะกลับมาเป็นอีกหลังการรักษา
อยู่ๆ มีรอยฟกช้ำปริศนาขึ้นตามตัว เตือน “โรคร้าย-ขาดวิตามิน”
รักษาเส้นเลือดขอด
- การรักษาแบบประคับประคอง (Conservative Treatment) ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แนะนำให้ใช้ถุงน่องชนิดพิเศษที่มีระดับความแน่น (Pressure Gradient) แตกต่างกันไล่ระดับจากเท้าที่แน่นที่สุดและลดหลั่นลงเมื่อสูงขึ้นเพื่อให้เลือดไหลกลับจากส่วนปลายขึ้นมาได้ดี
- การฉีดสารเคมีที่เส้นเลือดขอด (Sclerosing Therapy) ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดเล็ก โดยใช้เวลา 15 – 30 นาทีที่แผนกผู้ป่วยนอก ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
- การใช้เลเซอร์ความร้อนหรือคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radio Frequency) โดยใช้หลักการรักษาด้วยการใส่สายขนาดเล็กใส่เข้าไปในหลอดเลือดดำแล้วอาศัยพลังงานจากเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุความถี่สูงที่ทำให้เส้นเลือดขอดฝ่อไป โดยต้องประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนนัดมาทำ งดน้ำและอาหาร 6 – 8 ชั่วโมงก่อนทำ ใช้ระยะเวลาในห้องผ่าตัดเล็กประมาณ 30 – 45 นาที หลังผ่าตัดจะพันขาด้วย Elastic Bandage จากนั้นแนะนำให้ใส่ถุงน่องชนิดพิเศษต่อ แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตร หลังทำการรักษาแพทย์จะนัดติดตามอาการ 1 – 2 สัปดาห์
- การผ่าตัด ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ ต้องประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนนัดมาผ่าตัด งดน้ำและอาหาร 6 – 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง หลังผ่าตัดจะพันขาด้วย Elastic Bandage จากนั้นแนะนำให้ใส่ถุงน่องชนิดพิเศษต่อ และแพทย์จะนัดติดตามอาการ 1 – 2 สัปดาห์
การป้องกันเส้นเลือดขอดทำได้โดย
- ออกกำลังกาย การเดินเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการช่วยให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณขาดีขึ้น
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- เลี่ยงการนั่งหรือยืนนาน ๆ
- บริหารข้อเท้าขณะนั่ง โดยเหยียดปลายเท้าและกระดกปลายเท้าสลับกันตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด
กินดีก็ช่วยได้นะ
- ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ เช่น ยอดแค มะเขือพวง ถั่วเมล็ดแห้ง ทับทิม อาหารจำพวกนี้ช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ ลดการปวดเกร็ง ซึ่งส่งผลให้เกิดเส้นเลือดขอด
- วิตามินซี เช่น แขนงผัก บรอกโคลี พริก ผลไม้ตระกูลส้ม ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
- ผักผลไม้ที่มีสารฟลาโวนอยด์ เช่น ผลไม้ตระกูล เบอรี่ต่าง องุ่น ธัญพืช อาหารจำพวกนี้จะทำงานร่วมกับวิตามินซี ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและลดรอยรั่วของหลอดเลือด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล,โรงพยาบาลกรุงเทพ,โรงพยาบาลพญาไท
“ภาวะหัวใจล้มเหลว” ภัยเงียบ รุนแรงเฉียบพลันอันตรายถึงชีวิต
ขอเถอะ อย่ารับสาย ! “Phone Anxiety” ภาวะกลัวจิตตกไม่กล้าคุยโทรศัพท์